สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า