การเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัย (itinlife 575)

king 9 : royal files
king 9 : royal files

หลังทราบข่าวร้ายสำหรับคนไทยทั้งชาติของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 แล้วนั้น สื่อส่วนกลางได้จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อน้อมถวายความอาลัยให้คนไทยได้จัดหามาเก็บรักษาไว้เป็นความทรงจำ บางสื่อได้จัดทำเป็นสื่อดิจิตอล แล้วเปิดให้ประชาชนได้ดาวน์โหลดเก็บไว้ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่าย ธนบัตร คลิ๊ปวีดีโอ การเก็บแฟ้มสำหรับประชาชนระดับบุคคลสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ ดาวน์โหลดแฟ้มผ่านสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อกับ dropbox แล้วส่งเข้าเก็บในโฟลเดอร์ส่วนตัว เพื่อนำกลับมาดูใหม่ในภายหลังจากอุปกรณ์ใดก็ได้
การเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัยทำได้หลายวิธี แต่การเก็บไว้ในคลาวด์สตอเรจ (Cloud Storage) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระดับบุคคล เพราะเก็บได้ฟรี เข้าถึงสื่อได้จากทุกที่ แบ่งปันให้ดาวน์โหลดได้ และจัดการได้ง่ายจากสมาร์ทโฟน เมื่อเข้าดูสถิติการใช้งานคลาวด์สตอเรจที่ได้รับความนิยมพบว่าสื่อที่ใช้งานกันมาก คือ google drive, dropbox, one drive, box, 4shared การเป็นสื่อเก็บข้อมูลย่อมมีข้อจำกัด แต่ละสื่อก็จะแตกต่างกันไป อาทิ ขนาดแฟ้มที่อัพโหลด ขนาดการดาวน์โหลด ความเร็วในการดาวน์โหลด หรือความจุที่ได้รับต่อบัญชีผู้ใช้ แม้นโยบายจะเปิดให้ใช้ฟรีในระดับบุคคล แต่ก็มีบริการเสริมที่ขยายข้อจำกัด รองรับการใช้ระดับองค์กร (Organization) หรือในการทำงาน (Work) หากผู้ใช้ยินดีซื้อบริการก็จะทำให้บริษัทผู้ให้บริการมีรายได้มาพัฒนาบริการ และดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

สื่อส่วนกลาง หรือประชาชนจำนวนไม่น้อยจะเก็บสื่อดิจิตอล แล้วเผยแพร่ผ่าน google drive ที่ให้บริการสำหรับผู้ใช้อีเมลกูเกิ้ล แล้วประชาชนที่รักในหลวงก็จะดาวน์โหลดแฟ้มเหล่านั้นเก็บไว้ในอุปกรณ์ หรือส่งเข้าไปเก็บในคลาวด์สตอเรจของแต่ละคน ซึ่งขนาดแฟ้มของ PDF หรือ MP3 หรือ JPG จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ต่างกับคลิ๊ปวีดีโอ (MP4) ที่มีขนาดแฟ้มต่อคลิ๊ปใหญ่มาก การจัดเก็บคลิ๊ปวีดีโอ จึงนิยมสร้าง Playlist ใน youtube.com แล้วเก็บเฉพาะรายการคลิ๊ป แทนการคัดลอกคลิ๊ปไปเก็บไว้ชมแบบ Offline เนื่องจากสมาร์ทโฟนกำลังกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน และการติดตั้งแอพพลิเคชั่นประเภทคลาวด์สตอเรจก็ทำได้ง่าย ความนิยมในการดูคลิ๊ปผ่าน Youtube.com ก็ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนสื่ออื่น ดังนั้นการเก็บสื่อน้อมถวายความอาลัยก็เป็นสิ่งที่สามารถทำกันได้ทุกคน

เก็บข้อมูลเยอะ ๆ เลือกแบบไหนดี ลองหาข้อมูลมาเป็นทางเลือกให้พิจารณา

Imation-LTO-5
Imation-LTO-5

27 เม.ย.59 ผู้ใหญ่ถามว่า จะเก็บข้อมูลปริมาณมาก จะเลือกใช้สื่อแบบใดดี

มาก คือ อันทิตย์ละประมาณ 1 Terabyte

ตอนนั้นผมบอกท่านไปว่าน่าจะเป็น เทป backup
เพราะราคาต่ำกว่าสื่อประเภทอื่น
พอมาสืบค้นข้อมูลก็พบว่า เทป ถูกกว่าสื่ออื่นจริง
ยิ่งถ้าเก็บแบบบีบอัดด้วยแล้วยิ่งต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ก็ค้นข้อมูลเก็บไว้
เผื่อว่าผู้ใหญ่จะโทรมาคุยด้วยอีก จะได้หยิบเอกสารให้ท่านไป
เพราะก่อนหน้านี้เคยพูดคุยกับเพื่อนนักลงทุน
แล้วท่านให้เข้า cloud ของหลายที่
ได้เห็นราคาของ cloud แล้ว เหนื่อยแทนนักลงทุนเลย
เพราะเก็บมากก็จ่ายมาก แปรผันตามปริมาณที่ต้องใช้

ทางเลือกที่ 1 Solid State Drive : SSD
Apacer AS330
SATA III 6Gb/s
ขนาด 120 GB
Read Up to 495 MB/s Write Up to 385 MB/s
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1720/120GB = 14.33 บาทต่อGB
ราคา 1720 บาท
https://www.advice.co.th/product/solid-state-drive-ssd-/apacer/120-gb-ssd-apacer-as330-ap120gas330-1-
ทางเลือกที่ 2 เทป backup ของ imation รุ่น LTO-6
เป็น Backup Cartridge Ultrium
เก็บธรรมดา ได้ 2.5TB บีบอัดได้ 6.25 TB
ราคาเก็บปกติต่อ 1 GB คือ 2.5TB * 1024= 2560 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 2560 = 1.64 บาทต่อ GB
ราคาเก็บบีบอัด ต่อ 1 GB คือ 6.25TB * 1024= 6400 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 6400 = 0.65 บาทต่อ GB
ราคา 4,200 บาท
ความเร็วในการอ่าน 400MB/sec (บีบอัด)
http://www.scts.co.th/catalog/product_info.php?products_id=3711

ทางเลือกที่ 3 แผ่น DVD 4.7
เป็นแผ่น DVD-R 16x
ความจุ 4.7 GB * 50 แผ่น = 235 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 160/235GB = 0.68 บาทต่อGB
ราคา 160 บาท
http://www.buyprinco.com/

ทางเลือกที่ 4 Flash drive
ขนาด 32 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 320/32GB = 10 บาทต่อ GB
ราคา 320 บาท
https://www.advice.co.th/product/flash-drive/mobile-flash-drive-dual-usb-drive/32gb-kingston-dtduo3-

ทางเลือกที่ 5 Internal Harddisk
Toshiba รุ่น DT01ACA100
Buffer size 32 MByte
ขนาด 1TB = 1024GB ขนาด 3.5 นิ้ว
interface SATA 6.0 GB/S
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1570/1024GB = 1.53 บาทต่อGB
ราคา 1570 บาท
https://www.advice.co.th/product/harddisk-for-pc/hard-disk-pc-sata-iii/1-tb-sata-iii-toshiba-32mb-

ทางเลือกที่ 6 External Harddisk
HDD SEAGATE BACKUP PLUS
USB 3.0 ขนาด 3.5นิ้ว
ขนาด 4TB = 4096GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 5590/4096GB = 1.36 บาทต่อGB
ราคา 5590 บาท
https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/13384/40/index.html

ทางเลือกที่ 7 Dropbox for business
ขนาด 1TB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 3000/1024GB = 2.92 บาทต่อGB
ราคา $99 = 3000

ทางเลือกที่ 8 FreeNAS Mini และ My Cloud EX4
ขนาด 8 TB = 1024 * 8 = 8192 GB
$2,249 for 24TB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 21000/8192GB = 2.56 บาทต่อGB
$700 for 8TB
ราคา $700 = 21000 บาท

ทางเลือกที่ 9 Big Query กับ google cloud
ใช้เยอะก็จ่ายเยอะ
เก็บ 1 TB = 1024GB
1 TB for a full month, you pay $20
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 600/1024GB = 0.5 บาทต่อ GB ต่อเดือน
ราคา $20 = 600 บาทต่อเดือน
https://cloud.google.com/bigquery/pricing#storage

ทางเลือกที่ 10 Big Data Cloud Service – Starter Pack
Oracle Cloud
6 nodes with 32 OCPUs per node
256 GB RAM and 48 TB storage per node
ความจุ 6 node * 48TB = 288TB * 1024 = 294912 GB
ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 864000/294912GB = 2.93 บาทต่อGBต่อเดือน
ราคา $28800 ต่อเดือน = 864,000 บาทต่อเดือน

ซื้อเพิ่ม $4800 ต่อ node ต่อเดือน แต่ต้องซื้อครั้งละ 6 nodes
https://cloud.oracle.com/bigdata


Data Backup Devices for Small Business
1. USB Sticks
2. USB Hard Drives
3. Solid-state Drives
4. Network Storage Servers : FreeNAS Mini และ My Cloud EX4
http://www.smallbusinesscomputing.com/slideshows/data-backup-devices-for-small-businesses.html

10 Top Cloud Storage Services for SMBs
1. Dropbox
2. SugarSync for Business
3. Box
4. Google Drive
5. Microsoft OneDrive
6. SpiderOak
7. MozyPro
8. Carbonite Business
9. CrashPlan
10. Acronis Backup to Cloud
http://www.smallbusinesscomputing.com/slideshows/10-top-cloud-storage-services-for-smbs.html

Memory
kilobyte (KB)
megabyte (MB)
gigabyte (GB)
terabyte (TB)
petabyte (PB)
exabyte (EB)
zettabyte (ZB)
yottabyte (YB)
https://en.wikipedia.org/wiki/Petabyte

เสน่ห์ของแผนที่ความคิด (itinlife 354)

mindmap lover
mindmap lover (itinlife 354)

4 ก.ค.55 มายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด หรือ ผังมโนภาพ (Mind Map) คือ แผนภาพที่แสดงความคิดที่เชื่อมโยงกับเหมือนกับการเชื่อมโยงของเซลประสาทในสมอง โดยใช้คำ ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกันแล้วแผ่เป็นรัศมีออกไปจากศูนย์กลาง การวาดแผนที่ความคิดถูกใช้เป็นเครื่องมือนำเสนอประเด็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการนำเสนอความคิด ที่ช่วยให้การสรุปประเด็นมีความชัดเจนผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่ความคิด (Mind Map) ซึ่งมีการนำไปใช้สอนให้นักเรียนระดับประถมศึกษาฝึกใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดมาหลายปีแล้ว

การระดมความคิด (Brainstorming) ในการประชุมหลายระดับมักมีการใช้มายด์แม็ปเป็นเครื่องมือ เพราะเขียนง่าย มีความน่าสนใจ และเข้าใจไม่ยาก สิ่งที่ต้องใช้เป็นเครื่องมือก็มีเพียงกระดาษปรู๊ฟ และสีชอล์กพาสเทล อาจใช้สำหรับระดมความคิดเห็น สรุปความแนวคิด หรือนำเสนอประเด็นก็ได้ ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ที่เข้ามาช่วยให้การวาดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น อาทิ Freemind, Mindjet, Xmind, Mindmeister, iMindmap สามารถใช้งานได้คล้ายเขียนบนกระดาษ แต่แก้ไขได้ง่าย ไม่หายไปตามกาลเวลา เพราะทำสำเนา และเผยแพร่ต่อได้

ขั้นตอนการใช้ซอฟท์แวร์ช่วยเขียนแผนที่ความคิด เริ่มจากเขียนแผนที่ความคิดด้วยโปรแกรม Mindjet apps บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ต (TabletPC) แล้วส่งแฟ้มแบบ .mm ไปเก็บใน Dropbox.com ซึ่งเป็น Cloud Storage แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ดาวน์โหลดแฟ้มมาเปิดด้วยโปรแกรม Freemind แล้ว Export ไปเป็นเว็บเพจแบบ XHTML (Clickable map image version) เมื่อส่งกลุ่มแฟ้มที่ได้ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กร จะแสดงผลทั้งภาพแผนที่ความคิดต้นฉบับ และข้อมูลรายการความคิดแบบเรียงข้อ ที่สามารถข้อมูลรายการไปประมวลผลต่อ หรือปรับไปแสดงผลในสื่ออื่นได้

http://www.thaiall.com/php5/php55.html

http://www.thaiall.com/freemind