ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์

ประชุมวิชาการระดับชาติ

พบ เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“

https://www.thaiall.com/pdf.js/wtu_20_poster.htm

โปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ

ผลงานวิชาการที่น่าสนใจ 18 เรื่อง

ศรีเพชร สร้อยชื่อ, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ พัชรีภรณ์ หรพร้อม. (2565). การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 240-250). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุริยา พุฒดวง, วิเชพ ใจบุญ, เกศริน อินเพลา, ศศิวิมล แรงสิงห์, บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, และ เถลิงศักดิ์ สุทธเขต. (2565). การศึกษาการรับรู้ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 231-239). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ ภัชรชาติ ทูรวัฒน์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 251-258). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธวัชชัย อ้ายผง, ศศิวิมล แรงสิงห์, เถลิงศักดิ์ สุทธเขต, และ ขวัญ สุภรสุข. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารจัดการป่าชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 259-268). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

คนึงนิจ ติกะมาตย์ และ กวินทร์ ศุภวิทยโยธิน. (2565). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุในวิถีชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 222-230). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พนิดา สินสุวรรณ และ ศรีสกุล ชัยเวียง. (2565). การศึกษาผ่านทางไกลจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 สู่ยุคการสอนออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 331-339). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พิสิษฐ์ ยอดวันดี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 321-330). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุรีย์ สร้อยเพชร และ วราลักษณ์ ศรีกันทา. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 315-320). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

กาญจนา ภาสุรพันธ์. (2565). การขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 269-278). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พัทธนันท์ พุดหล้า, จิติมา กตัญญู, กุลสตรี กองวี, ชุติกาญจน์ ศรีษะ, ศิริลักษณ์ รัตนดวง, วัชรี ใจโพธิ์, และ นิตยา อินต๊ะสาน. (2565). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโทก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 180-190). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศรีเพ็ญ วิทิตานนท์, พัทธนันท์ พุดหล้า, กิตติพงษ์ เปาป่า, กรกาญจน์ สิทธิจู, และ ปรียาภรณ์ วัชรการุณย์ฺ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 201-211). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิติมา กตัญญู, ปรางค์วลัย ก๋าแก่น, ญาณิศา ชุ่มธิ, สุนันทา สิงหการ, ภัทรนัย ไชยพรม, ไกรศร วงศ์ธิดา, และ ศิริวรรณ คำวงค์ษา. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 159-167). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิภาพร เตชะสรพัศ, กวินนา แซ่ท้าว, สุภัสสรา พิทักษ์อนันตกุล, ภูมริน ทองอ่อน, ภัทรนัย ไชยพรม, นรกมล ขันตรี, และ วชิราภรณ์ ตามวงค์. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 191-200). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิราพร สุวรรณธีรางกูล, จิติมา กตัญญู, พัทธนันท์ พุดหล้า, ณัฐยาภรณ์ ตันน้อย, สุจินันท์ วงค์ทิพย์, ธรัญชนก พรมลังกา, และ ภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านวังทอง ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 168-179). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, มณฑล เลิศคณาวนิชกูล, พวงทิพย์ ภู่พงษ์, กฤษณา พงศ์สุวรรณ, ณิชารีย์ พรมราช, ดารารัตน์ ห่อเพ็ชร. (2565). การสำรวจเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และชิ้นส่วนยีน mecA บนพื้นผิวโต๊ะห้องเรียนฝึกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 141-149). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุภาวดี มณีเกษร. (2565). ผลของการน็อคเอาท์ยีนยูบิควิตินคอนจูเกต (UBE2G1 และ UBC13) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 150-158). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุภาวดี มณีเกษร, ชญาภา พรหมเดชวัฒนา, วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, และ ยุพาลภัส สุภาเลิศภูรินทร์. (2565). การเข้าถึงแอนติเจน เทสต์ คิทเพื่อคัดกรองโควิด 19 กับวิถีชาวบ้านในปัจจุบัน ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 137-140). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นภาพร วรรณศรี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 116-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20

ประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี ดร.ประภากร สมิติ นายกสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ และ เปิดการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม นําเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ได้ฟัง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ที่ลูกศิษย์เรียกว่า “อาจารย์ยักษ์” มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น ทฤษฎีการเติบโต 5 ขั้นของรอสตาว (Rostow’s 5 Stages of Growth) : 1) จอดนิ่งติดเครื่อง 2) วิ่งบนรันเวย์ 3) ทะยาน 4) ติดลมบน 5) สะสมความมั่งคั่ง หรือ ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เกษตรทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ (โคก หนอง นา) แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อ 29 มกราคม 2564 พร้อมพระราชทานข้อความว่า “VOR. KOR.” “AJ. Yak’s Class” “Sustainable Agronomy” และทรงพระประมาภิไธย 29th Jan 64 แล้วได้ยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาของ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย – ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ในสังกัด สพป.ชลบุรี เขต1 และ สพม.เขต18 เปิดคลิปวิดีโอ ที่เล่าถึงแนวคิดของโรงเรียนปูทะเลย์ แนะนำ ครูอาบอำไพ รัตนภาณุ (พี่แตง) ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์

กำหนดการประชุมวิชาการ

ก่อนจบปาฐกถาพิเศษ มีผู้ร่วมประชุม คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ สุขสม ได้มีคำถาม เรื่องการเชื่อมโยงทฤษฎีด้านการพัฒนาฯ ซึ่ง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ตอบว่า เป็นเรื่องที่ท่านทำวิจัยมา หากตอบแบบละเอียดก็จะใช้เวลาหลายวันได้เลย ส่วนที่จะเชิญมาบรรยายให้นิสิตของมหาวิทยาลัย ขอจัดแบบ Active learning เพราะแบบ Passive learning ที่บรรยายคนเดียว จะได้ประโยชน์น้อยกว่า จึงต้องการจัดแบบพูดคุยแลกเปลี่ยน จะได้ผลดีกว่า

https://www.thaiall.com/project/conference.htm

ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มอบของที่ระลึก

#เล่าสู่กันฟัง 63-055 ขยาย meeting จาก 40 เป็นนานเท่าใดก็ได้

เพื่อนที่ทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง
#workfromhome
แล้วแชร์ภาพ infographic
แนะนำเครื่องมือ ที่ ม.มหิดล แนะนำมา
มีหลายแอพน่าสนใจ
หนึ่งในนั้นคือ webex
ไปอ่านต่อพบว่า ผู้พัฒนาคนเดิมออกไปทำ zoom
มีลักษญะการทำงานหลายอย่างคล้ายกัน
ที่น่าสนใจคือ ข้อจำกัดของ free account
ที่ webex พึ่งเปลี่ยนจาก 40 นาที
เป็นนานเท่าที่ต้องการ
หากไม่ต้องการคุณสมบัติอื่น webex ก็น่าสนใจ
เพราะใช้ zoom แบบฟรี
ต้องเปิดห้องใหม่ให้ reconnect กันบ่อย ๆ
ลองเทียบ และอ่านประวัติ #EricYuan

ตอนที่เค้าทำงานพัฒนา zoom ก่อน cisco ซื้อไป ทำให้นึกถึง mysql, java, mambo, geocities, sanook, โออิชิ และอีกมากมาย

#เล่าสู่กันฟัง 63-054 ใช้ ms teams สอนผ่านวิดีโอ

พบการถ่ายทอดสด
การอบรมใช้แอพพลิเคชั่นสอนออนไลน์
ของ #mfudigitalu
สอนใน 4 หัวข้อ
1. Google hangouts meet
2. Quiz ด้วย google form
3. MFU Webex
4. Microsoft teams และ Zoom
https://youtu.be/W06hHclGXI4

เพื่อนก็ชวนใช้ ms teams แต่ไม่มีบัญชี
ส่วนของ google meet ไม่มีปัญหา
เพราะองค์กรเลือกผูกบัญชีองค์กร
เข้ากับ google g suite แล้ว
แต่ ms teams ต้องไปยืมบัญชีของคนรู้จัก
เค้าให้ยืม พบว่าระบบ teams
ยอมให้ guest เข้าได้ และคนในองค์กร
ก็สั่ง recording ได้
แต่ guest มีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง



เล่าด้วยภาพไว้ที่
http://www.thaiall.com/msteams

แหล่งความรู้ใหม่ทางวิชาการที่อยู่นอกตำรา (itinlife560)

nccit & ic2it 2016
nccit & ic2it 2016 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154291789127008&set=a.10150572310562008.426393.751017007

ในแวดวงวิชาการมีแหล่งความรู้ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมในแต่ละสายวิชา คือ วารสารวิชาการ และการประชุมวิชาการ ซึ่งความรู้ที่เข้าไปเผยแพร่ใน 2 แหล่งข้างต้นจะต้องได้รับการคัดกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิชานั้น ว่าผลงานที่ส่งไปให้เพื่อนอ่าน มีคุณภาพที่ถูกประเมินและถึงเกณฑ์ที่ยอมรับว่าเผยแพร่ได้ จำนวนผลงานในวารสารวิชาการจะมีเล่มละประมาณ 15 เรื่อง เพราะจำกัดด้วยจำนวนหน้าพิมพ์ และการพิจารณาจะเข้มข้นกว่า ผู้ส่งผลงานอาจต้องส่งผลงานที่ถูกปรับแก้หลายครั้งจนกว่าจะได้รับคำว่าผ่าน แต่การประชุมวิชาการมักมีข้อจำกัดด้านเวลา ดังนั้นผลการพิจารณาจึงมีเพียงผ่านหรือไม่ผ่านในรอบเดียว แต่ข้อดีคือรองรับจำนวนผลงานได้มากกว่าถึง 150 ผลงาน มากหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับนโยบายของการจัดการประชุม เพราะมีตัวแปรเรื่องค่าใช้จ่าย และจำนวนวัน
เมื่อ 7 – 8 กรกฎาคม 2559 ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์กรร่วมจัดงานถึง 18 หน่วยงาน และจัดต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่ปี 2548 – 2559 แล้วในปีที่ 12 กำหนดจัดงานขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ เป็นเจ้าภาพในงาน IC2IT และ ผศ.ดร.สุจิน บุตรดีสุวรรณ เป็นเจ้าภาพในงาน NCCIT หัวข้อที่น่าสนใจมีมากมาย หากสนใจหัวข้อใดก็เลือกเข้ารับฟังการนำเสนอบทความนั้นตามห้องที่กำหนด แต่ไม่อาจรับฟังได้ทุกเรื่อง เพราะมีการแยกห้องนำเสนอเพื่อให้การนำเสนอบทความทั้งหมดอยู่ในระยะเวลา 2 วัน
ในการประชุมนี้เปิดรับบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ 5 หัวข้อหลัก ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นขอบเขตให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง หรือส่งผลงานเผยแพร่ ประกอบด้วย Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing, Information Technology and System Engineering, Computer Education บทความที่ส่งให้เข้ารับการพิจารณาจะผ่านการอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และต้องได้รับคำว่าผ่าน 2 ใน 3 ท่าน จึงจะนำเสนอในการประชุมได้ ปี 2559 มีผลงานภาษาไทยส่งเข้าไป 218 บทความ แต่ผ่าน 127 บทความคิดเป็นร้อยละ 58 หากสนใจเข้าร่วมแล้ว ในประเทศไทยยังมีการประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำอีกหลายงาน เช่น ACTIS, NCOBA, NCCIT, IC2IT, ECTI, NCIT, IEC, NCTECHED, KDS, JCSSE, TECHCON, KUSRC, SKRU, EDTECH เป็นต้น ที่จัดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป

http://www.nccit.net/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
https://www.facebook.com/phayung.meesad/posts/10154289739422008

ผลการค้นงานประชุมวิชาการระดับชาติในภาคเหนือ

เล่าสู่กันฟัง เรื่องหัวหน้าให้ค้นข้อมูล
ว่ามีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ในช่วง พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558
เฉพาะเขตภาคเหนือ สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผมตรวจสอบจาก
+ http://www.conferenceinthai.com/
+ http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/event/conference2558_th.php
+ http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
+ http://www.google.com
ที่จะรองรับทั้ง M.P.A. และ M.ED. มีเบื้องต้นดังนี้

14 มกราคม 2558
การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://social.crru.ac.th/symposium/

13 กุมภาพันธ์ 2558
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ 2015
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.payap.ac.th/symposium2015/

20-21 กุมภาพันธ์ 2558 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” 2015
เครือข่ายความร่วมมือคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง
http://www.management.cmru.ac.th/conferences2015/

23 – 24 มีนาคม 2558
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.rccon2015.org/

23 พฤษภาคม 2557 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://conference.northcm.ac.th/

22-24 กรกฎาคม 2015
การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 11 เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
มีการศึกษา และสังคม และรัฐประศาสนศาสตร์
http://dra.research.nu.ac.th/nurc11/index.aspx
http://dra.research.nu.ac.th/nurc10/bregist.aspx

17-18 กันยายน 2015
The 1st International Conference on Interdisciplinary Development Research (IDR2015)
http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand

8-9 ธันวาคม 2558 ?
การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.conference.mju.ac.th/

จ่ายเงินให้กับรูปลักษณ์ภายนอก หรือภายใน

price of banana packaging
price of banana packaging

13 ธ.ค.57 ปกติผมจะซื้อกล้วยประมาณหวีละ 15 บาท
ถ้าซื้อหวีละ 20 บาท แสดงว่าภายนอกสวยมาก หรือสุดวิสัยที่หาถูกไม่ได้
แล้ววันนี้ ไปพบแม่ค้าขายหวีละ 20 กับ 10 บาท ไม่มีหวีละ 15 บาท
ก็ทำให้นึกถึงคำพูดของผู้ว่าฯ ที่พูดไว้เรื่อง product design ของญี่ปุ่น
ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ปี 2557 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ว่าราคาสมัยนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวสินค้าอย่างเดียว แต่อยู่ที่หีบห่อด้วย
เช่น ญี่ปุ่นตั้งราคา 100 บาท เป็นค่าหีบห่อ 40 บาท ส่วนของไทยเรา 5 บาทเอง
เพราะลูกค้ามักดูที่หีบห่อ แบะหีบห่อก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาต่างกัน
อย่างกล้วยคู่นี้ก็มีรสชาติเหมือนกัน เพราะหวีละ 10 บาทเท่ากัน
ดูแล้วก็น่าจะมาจากต้นเดียวกัน
ส่วนกล้วยหวีละ 20 บาท ที่ผมก็ไม่ได้หยิบมา
เพราะดูขนาด 20 กับ 10 บาทแล้ว ผมว่าพอ ๆ กัน
ต่างกันที่ความสวยงามของเปลือกนอกเท่านั้น
สรุปว่าแม่ค้าก็เลือกตั้งราคา จากรูปร่างภายนอก ไม่ได้พิจารณาจากภายใน
ส่วนลูกค้าก็คงเลือกซื้อกล้วยสวย ๆ หวีละ 20 บาท โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอกเช่นกัน
ส่วนวันนี้อารมณ์ดี ทำให้ผมสนภายในมากกว่า จึงเลือกซื้อหวีละ 10 บาท 2 หวี

แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ

2 dean from 2 university : national and international conference
2 dean from 2 university : national and international conference

นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36


Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม

รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ  http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552

การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย

http://thaiglossary.org/node/36943


กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html

review procedures
review procedures

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ

๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด

๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง

๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)

๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf

บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

ntc2014 : lampang 2020
ntc2014 : lampang 2020

Lampang 2020
บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมระดมสมองเพื่อขับเคลื่อน
เมืองลำปางสู่อนาคตใหม่
ในงานประชุมวิชาการ
อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2556
24 – 26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
NTC2014

Proceeding
http://it.nation.ac.th/studentresearch/files/351003.pdf

กำหนดการสัมมนา LAMPANG 2020 : บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 24-26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
08.00-08.50 น.    ผู้เข้าประกวดรายงานตัว
08.50-09.00 น.    กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
09.00-10.00 น.    ประกวดทีมที่ 1-2
10.00-11.00 น.    ประกวดทีมที่ 3-4
11.00-12.00 น.    ประกวดทีมที่ 5-6
12.30-13.00 น.    ประกวดทีมที่ 7
13.00-14.00 น.    ประกวดทีมที่ 8-9
14.00-15.00 น.    ประกวดทีมที่ 10-11
15.00-16.00 น.    ประกาศผลการแข่งขัน
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัด
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบของที่ระลึกให้กับกรรมการตัดสิน / ถ่ายรูปหมู่

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2557
07.00-08.30 น.    พิธีทำบุญเนื่องจากคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเนชั่น
08.00-08.45 น.    ลงทะเบียน/ชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย
08.45-9.00 น. กล่าวรายงาน โดย ดร.วันชาติ  นภาศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา
พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
09.00-12.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.    กล่าวต้อนรับ โดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริหารบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
09.15-09.45 น.     ปาฐกถาเปิดงาน “มิติใหม่เมืองลำปาง”
โดย ศุภชัย  เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
09.45-10.45 น.    Keynote Speech by Dr.Yotaro Morishima, President, Professor,
Fukui University of Technology “Challenges of Japanese
Universities in the Borderless Era”
10.45-11.15 น.    Thailand Investment in Myanmar by Kin Myoe Nyunt
11.15-11.45 น.     การเตรียมความพร้อมของนักเรียนนักศึกษาไทยสำหรับประชาคมอาเซียน:
กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณีและมหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย ดร.สุจิรา  หาผล
“Readiness of Thai Students in English Competency for ASEAN Community:
A Case Study in Lampang Kanlayanee School and Nation University”
11.45-12.00 น.    พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และ
Fukui University of Technology
12.00-12.15 น.    ชมนิทรรศการผลงานวิชาการ (Poster Session)
12.15-13.15 น    รับประทานอาหารกลางวัน/บรรเลงดนตรีพื้นเมือง ซะล้อ ซอ ซึง/แฟชั่นโชว์
13.15-15.00 น.    เสวนา เรื่อง วางยุทธศาสตร์เมืองลำปางรับ AEC
วิลาวัลย์  ตันรัตนกุล ผู้อำนวยการสำนัก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
พลฤทธิ์  เศรษฐกำเหนิด  ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิชัย  รักตะสิงห์   ผอ. ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิกใต้  กองการตลาดเอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้
อธิภูมิ  กำธรวรรินทร์  ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
15.00-17.00 น.    เสวนา “บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่”  โดย
อนุชา  จิตะพันธ์กุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมการตลาด สาขาเขต 1
บริษัท เซนทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
ชนินทร์  พรหมเพ็ชร  ผู้จัดการส่วนการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)จำกัด
พนาสิน  ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำกัด
อนุวัตร  ภูวเศรษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/ntc2014/

conference
conference

Facebook album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm