ใช้ crosstabs และ chi-square แสดงความสัมพันธ์ของสองตัวแปร

crosstab กับ chi-square

สืบเนื่องจาก ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว แนะนำนักศึกษา MBA ให้ใช้ crosstab กับ chi-square นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เป็นค่าสถิติที่เข้าใจง่าย และนำไปอธิบายตารางได้ทันที ว่า การรับรู้ และการนำไปปฏิบัตินั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การใช้ค่า Chi-square และการทำ Crosstabs นั้น สามารถหาได้ว่า 2 ตัวแปรนี้มีผลต่อกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน ค่า sig ก็จะมากกว่า 0.05 อย่างกรณีนี้ ข้อมูลของ v1 กับ v2 สัมพันธ์กัน ทำให้ค่า Sig. Pearson Chi-square ได้ 0.002

สำหรับงานวิจัยที่ต้องการ เปรียบเทียบการรับรู้ และ การนำไปใช้ ก็สามารถใช้ Chi-square และทำการแจกแจงแบบตารางไขว้ (Crosstabs) ซึ่งนำเสนอผลการศึกษาได้ชัดเจน ดังภาพประกอบ แต่การใช้ตาราง Crosstabs ก็ต้องอ่านตารางด้วยความเข้าใจ และอธิบายเชิงพรรณาให้ชัดเจน ว่าทำไมจึงมีความสัมพันธ์แบบนั้นเกิดขึ้น

ตัวอย่างการใช้ Chi-Square – เมื่อได้อ่านงานวิจัย ของ Thongphanh Chanthalak และ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริจากโลหิตด้วยความสมัครในไม่หวังสิ่งตอบแทนของประชาชน ชุมชนเมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 34-41. พบว่า มีการใช้ค่าสถิติ Chi-Square test มาทดสอบ ตัวแปรต้นต่าง ๆ กับความถี่ในการบริจาคโลหิตของประชาชน คราวละตัวแปร แล้วได้ค่า p-value มาเขียนรายงานการวิจัย เช่น ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์กับการบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value < 0.001) โดยพบว่าเพศชายบริจาคโลหิตมากกว่าเพศหญิงประมาณ 1.7 เท่า

http://www.thaiall.com/spss/chisquare/