21 ก.ค.54 มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หัวข้อเปรียบเทียบ TQF กับ CU-CAS โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ (เดินทางกับคุณเรณู ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ไปประชุมครึ่งวัน) ซึ่งเป็นระบบที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้น ใช้เป็นกรอบมาตรฐานของจุฬาฯ ต่อมา สกอ.เปิดช่องให้ทุกมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาระบบของตนเองที่ต่างไปจาก มคอ.1-7 ได้ แต่ถ้ามีการตรวจสอบ ต้องให้ข้อมูลได้ครบถ้วน ซึ่งระบบ cu-cas มีความสมบูรณ์มาก โดยแบบฟอร์ม และระบบถูกพัฒนาควบคู่กันไป มีตัวอย่างฟอร์มดังนี้
– Course Specification (CU-CS)
– Course Specification (CU-CS)
– Program Curriculum Mapping (CU-PCM)
– Department Curriculum Mapping (CU-DCM)
– E-portfolio (CU-EP)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Student Course Evaluation (CU-SCE)
– Department Report (CU-DR)
– Program Report (CU-PR)
– Subject Report (CU-SR)
– Faculty Report (CU-FR)
หลังกลับจากการประชุมได้เขียนรายงานนำเสนอหัวหน้า 6 ประเด็นใน บันทึก 17/54 และขออนุมัตินำไปจัดเวที KM เรื่องหลักสูตร สอดรับกับตัวบ่งชี้ 7.2
ต่อมา 23 มี.ค.55 มีโอกาสได้ฟัง ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา อาจารย์จากจุฬาฯ นำเสนอเรื่องนี้ที่เชียงใหม่ ในงาน “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย” ก็ยิ่งเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าอัตลักษณ์ และมาตรฐานการเรียนรู้นั้น มีที่มา ที่ไป อย่างไร
http://www.scribd.com/doc/87611391
คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ กับคนไทยพึงประสงค์
http://www.thaiall.com/blog/burin/3842/