ไม่อ่านคู่มือที่ กสทช. แจกนั้น อาจพลาด ทำให้คนอื่นเสียหายได้

cyber security ข้อควรระวังข้อ 5 กับข้อ 6 - กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่รู้จริง - แชร์ข่าวลือ เรื่องเสีย ๆ หาย ๆ
cyber security ข้อควรระวังข้อ 5 กับข้อ 6 – กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่รู้จริง – แชร์ข่าวลือ เรื่องเสีย ๆ หาย ๆ

http://www.thairath.co.th/content/881612

ถ้าคนที่ถ่ายรูป ได้อ่านหนังสือคู่มือสำหรับประชาชน
ที่ กสทช. ทำแจกเป็นหมื่นเล่ม
แล้วอ่านข้อควรระวังข้อ 5 กับข้อ 6
– กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่รู้จริง
– แชร์ข่าวลือ เรื่องเสีย ๆ หาย ๆ
หนุ่มสุพรรณที่แวะส่งเพื่อนฝรั่ง ก็คงไม่ได้เป็นข่าวแล้ว
สรุปว่าฝากแชร์คู่มือฯ หรือนำไปพูดคุยกับใครต่อใครกันด้วย

หนังสือคู่มือแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ภาคประชาชน คือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน” โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ธันวาคม 2558 จำนวนพิมพ์ 7,500 เล่ม มีแหล่ง

ดาวน์โหลดหนังสือที่
https://www.bodin.ac.th/home/2015/01/2941
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html

http://www.thaiall.com/e-book/
http://www.thaiall.com/comapp/

อ่านเรื่อง สรุปข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต หน้า 194 ข้อ 5 โพสต์สิ่งใดให้ทำด้วยความระมัดระวัง ไม่โพสต์ข้อความ หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือกล่าวหาผู้อื่นโดยไม่รู้จริง หรือไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ด้วยระวังคำพูดคำจา ไม่ข้องแวะกับคนที่พูดจาหยาบคายหรือหาเรื่องชวนทะเลาะ และข้อ 6 แชร์อย่างมีสติ ไม่กุข่าว เมาส์เรื่องที่ไม่ได้รู้จริง สร้างเรื่องเท็จ เผยแพร่หรือส่งต่อคลิปหลุด ข่าวลือ เรื่องเสีย ๆ หาย ๆ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และส่งผลเสียต่อประเทศชาติ

ข่าวถูกโอนเงิน 9 แสน เป็นของผู้ขายเครื่องประดับยนต์ทางเฟซบุ๊ค

ข่าวถูกโอนเงิน 9 แสน เป็นของผู้ขายเครื่องประดับยนต์ทางเฟซบุ๊ค
ข่าวถูกโอนเงิน 9 แสน เป็นของผู้ขายเครื่องประดับยนต์ทางเฟซบุ๊ค

ขั้นตอนที่ต้องระวังในการทำธุรกรรมบนไซเบอร์
1. ตกลงขายสินค้าให้ลูกค้ารายหนึ่งเรียบร้อยแล้ว
2. ให้เลขบัญชี เพื่อลูกค้าจะได้โอนจ่ายค่าสินค้า
3. ลูกค้าอ้างว่ากลัวโดนหลอก ขอดูบัตรประชาชนของผู้ขาย
จึงส่งให้ โดยปิดเลข 13 หลักไว้แล้ว เพื่อความปลอดภัย
4. ลูกค้าอ้างว่าไม่สะดวก อยากให้ผู้ขายใช้ Bank-Cyber ของธนาคารแห่งหนึ่ง
ก็ไปสมัคร เพราะต่อไปน่าจะสะดวกขึ้น ในการทำธุรกรรมออนไลน์
5. แล้วลูกค้าก็เงียบหายไป
6. ต่อมาโทรศัพท์ที่ใช้กับค่ายหนึ่ง โดนตัดสัญญาณ
ไปถามเค้าบอกว่ามีคนมาขอซิมใหม่แต่เบอร์เดิมที่ศูนย์ในห้างที่เมกะบางนา
7. ศูนย์บอกว่า คนร้ายอ้างว่าทำเป๋าเงินและโทรศัพท์หาย
พร้อมแสดงสำเนาบัตรประชาชน ที่ถูกดัดแปลงเอาหน้าผู้ร้ายใส่เข้าไป
8. ไปตรวจเงินในบัญชี พบว่าเงินหายไปเยอะ
9. โทรถาม call center ของธนาคารแห่งหนึ่ง
ก็ได้ทราบว่ามีคนโทรของเปลี่ยนรหัส Bank-Cyber
10. ตรวจสอบพบว่ามีการกดเงินไป 20 ครั้งจากหลายห้าง
11. ทวงถามกับธนาคาร และศูนย์บริการของค่ายมือถือ
ก็ไม่คืบหน้าจึงไปแจ้งความ
12. พบเลขบัญชีปลายทางที่เงินถูกโอนไป ก็ต้องไปติดตามว่าบัญชีจริงหรือไม่
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1470741983

https://www.youtube.com/watch?v=vBy3PYQTeTk

ในหนังเรื่อง CSI Cyber สะท้อนอาชญากรรมออนไลน์ได้อย่างชัดเจน

เตือยภัยอาชญากรรมไอทีใกล้ตัว (itinlife476)

คลิ๊ปเสียงตกทอง กับข่าวที่เกิดขึ้น
คลิ๊ปเสียงตกทอง กับข่าวที่เกิดขึ้น

ภัยด้านคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หากจะจำแนกประเภทความเสี่ยงว่าเรื่องใดรุนแรง หรือใกล้ตัวก็จะจัดอันดับแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งอาชญากรรมด้านไอทีที่พบเป็นข่าวมักมี 6 ประเภท คือ ลักลอบขโมย (Thief) ละเมิดสิทธิ (Pirate) แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร (Illegal media) ก่อกวน หรือทำลายระบบสาธารณูปโภค (Disturb) หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม (Fraudulent) หรือโอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน (Bank transfer)

การลักลอบขโมยอาจถูกมองเป็นเรื่องเล็กได้ แต่หากผู้กระทำสามารถขโมยข้อมูลของผู้คนนับแสน หรือขโมยข้อมูลจากธนาคารก็อาจไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป พบข่าวได้บ่อยครั้งว่ามีการลักลอบกดถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มโดยใช้บัตรปลอมที่ขโมยข้อมูลจากเจ้าของบัตรมาได้ หรือนำข้อมูลไปใช้ถอนเงินที่ธนาคาร การนำภาพดารามาตัดต่อทั้งภาพถ่ายหรือคลิ๊ปแล้วเผยแพร่ จนทำให้ผู้เสียหายต้องออกมาแก้ข่าวว่าไม่เป็นความจริง ถ้าเราไม่ใช่ผู้เสียหายก็คงไม่กระทบมากนัก แต่ผู้ที่ถูกกระทำย่อมเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นเรื่องที่กระทบการดำรงชีวิต การงาน และครอบครัวจนไม่อาจทนได้ การทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า สัญญาณจราจร และโทรศัพท์ เห็นผลกระทบได้ชัดจากภาพยนตร์เรื่อง Die hard 4 ที่ผู้ร้ายสามารถแฮ็ก เข้าไปควบคุมระบบสาธาณูปโภคของเมือง เพื่อสนับสนุนเป้าหมายก่อการร้ายของตนเอง

การหลอกลวงต้มตุ้นผ่านอีเมล เว็บไซต์ เครือข่ายสังคม หรือโทรศัพท์ ก็มักจะเป็นการชวนไปลงทุนที่ไม่เกิดขึ้นจริง เป็นการกระทำที่ต้องใช้หลักฐานทางคอมพิวเตอร์เพื่อเอาผิดกับผู้หลอกลวง ถ้าผู้ถูกหลอกลวงไม่เสียทรัพย์สินไปแล้ว ก็มักจะไม่ไปแจ้งความ อีกปัญหาที่พบได้บ่อย และคนไทยน่าจะเคยได้รับโทรศัพท์แบบนี้ คือ การหลอกให้โอนเงิน จนธนาคารต้องมีมาตรการขึ้นมาช่วยเตือน เพราะหากโอนเงินไปเข้าบัญชีผู้หลอกลวงแล้ว ก็มักจะแก้ไขไม่ได้ เช่น การมีข้อความเตือนการโอนเงินระหว่างทำรายการในตู้เอทีเอ็ม การส่งข้อความแจ้งการทำรายการไปทางเอสเอ็มเอส (SMS) เพราะการติดตามจับกุมทำได้ยาก แล้วเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ก็ติดตามไปยังต้นสายได้ยาก จับได้แต่ละครั้งก็พบว่าทำกันเป็นกระบวนการ ได้ผู้ต้องหาครั้งละนับสิบคน

https://www.youtube.com/watch?v=6gzgVK5eu0E (คลิ๊ปเสียงตกทอง 1)

https://www.youtube.com/watch?v=ojaP-dP3u0o (คลิ๊ปเสียงตกทอง 2)

https://www.youtube.com/watch?v=HAgpUlVnb1w (คลิ๊ปเสียงตกทอง 3)

https://www.youtube.com/watch?v=mZJA8iEuVCU (คลิ๊ปเสียงตกทอง 4)

https://www.youtube.com/watch?v=xw1t6qp57jU (จับ call center)

https://www.youtube.com/watch?v=EtSoITLELoc (คุยผ่านเฟสบุ๊ค มีหลายกรณี)

https://www.youtube.com/watch?v=xrOb4VbaqNs (อ้างเป็นฝรั่งหลอกให้โอนเงินไปให้)

https://www.youtube.com/watch?v=p6xpRyMw2vI (Daily IT)

หนทางการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์

nelearning200913 ก.ย.52 งานสัมมนาวิชาการ National e-Learning Day 2009 : A Roadmap to Success in Becoming (World Class) Cyber Universities “หนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์” วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 จัดโดย สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC) โดยมี Prof.Dr.Zoraini Wati Abas, Director, Institute of Quality, Research and Innovation (IQRI), Open University Malaysia, Kuala Lumpur, Malaysia. เป็น Key Note บรรยายผ่านโปรแกรม Skype ชั่วโมงครึ่ง
     กิจกรรมสำคัญ คือ การเสวนาวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศถึง 5 ท่าน ได้แก่ 1)ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกล อินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2)ผศ.สุพรรณี สมบุณธรรม ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3)รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย RSU Cyber University มหาวิทยาลัยรังสิต 4)ผศ.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 5)ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมี 6)รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา 
     จากงานประชุมวิชาการหนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์” ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล จากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำเสนอประสบการณ์การเปิดหลักสูตรออนไลน์ที่เห็นพ้องต้องกันกับ ผศ.สุพรรณี สมบุญธรรม ผอ.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (thaicyberu.go.th) ว่า การเปิดหลักสูตรออนไลน์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพ และแนวโน้มของหลักสูตรที่มีค่าลงทะเบียนต่ำมักมีอัตราการพ้นสภาพของนักศึกษาสูง แล้วหลักสูตรประเภท “เรียนง่าย จ่ายครบ จบแน่” มักไม่ยั่งยืน
     การบรรยายผ่านโปรแกรม Skype โดย Prof.Dr.Zoraini Wati Abas จากมหาวิทยาลัยเปิดมาเลเซีย (OUM = Open University Malaysia) ท่านนำเสนอเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า การเรียนรู้ผสม (Blended Learning) ซึ่งรวมการเรียนแบบพบปะหรือเข้ากลุ่ม (Face-to-Face) การเรียนผ่านสื่อออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนแบบจัดการด้วยตนเอง (Self-Manage Learning) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เสริมการเรียนมีทั้งการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เรียน การจัดทำบทเรียนที่เปิดเรียนได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้สื่อผสม และสถานีวิทยุออนไลน์ โครงการของท่านเริ่มต้นเดือนมกราคม 2552 พบว่าอัตราการพ้นสภาพสูงถึง 25% ต่อภาคเรียน จากการคาดการณ์พบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาของหลักสูตรน่าจะประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยมีหลายหลักสูตรที่เปิดสอนหลังจาก กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2548 อนุญาตให้สถาบันการศึกษาในไทยสามารถเปิดสอนแบบอีเลิร์นนิ่งได้ ซึ่งวิทยากรทุกท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าคุณภาพเทียบเท่าหรืออาจสูงกว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติ
     มีการคาดการณ์ว่าในอนาคต มูลค่าของการเรียนการสอนออนไลน์จะเทียบเท่ากับภาคปกติ และจะมีมูลค่านำธุรกิจประเภทอื่นทั้งอีคอมเมิร์ส และอีเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีสิ่งสนับสนุนไปในทางเช่นนั้นทั้งจากการมีเครื่องมือสนับสนุนในอินเทอร์เน็ตมากมายอาทิ เครือข่ายสังคม ชีวิตที่สอง (เช่น SecondLife.com) ระบบรับส่งข้อความ และการยอมรับผู้สำเร็จการศึกษาผ่านระบบอีเลินนิ่งที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
แหล่งอ้างอิง
+ http://itsc.cmu.ac.th
+ http://www.itsc.cmu.ac.th/itsc2008/nelearningday/index.php
+ http://www.charm.au.edu/SCPaper/SCPaper.htm