ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557″]ตำแหน่งดาวน์โหลดเอกสาร [ร่าง] คู่มือประกันคุณภาพ สกอ. และสมศ. 2557

ปีการศึกษา 2557 มีการจัดทำร่างเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557
ผู้ใหญ่ให้แขวนเอกสารฉบับร่างคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งภายใน และภายนอกรวม 2 เล่ม ในเว็บไซต์
เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงได้โดยสะดวก

จึงนำคู่มือทั้ง 2 เล่มในแบบ pdf
แขวนไว้ที่ http://www.nation.ac.th/handbooks
เพื่อสามารถ download มาใช้อ้างอิงในการทำงานต่อไป

ตำแหน่งดาวน์โหลดปรากฎตามภาพ หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงค์
https://www.facebook.com/download/815582165118469/iqa_57.pdf
และ
https://www.facebook.com/download/469687779800252/onesqa_57.pdf
หากทาง สกอ. และสมศ. ปรับเอกสารรุ่นใหม่ ก็จะนำเข้าเว็บเพจและทับแฟ้มเดิมนี้ต่อไป

ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพฯ ระดับอุดมศึกษา ปี 2557
http://www.thaiall.com/iqa

ร่างผลการเทียบเกณฑ์ จากร่างเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2557 กับเกณฑ์ 2554-2556

ร่าง iqa 2557
ร่าง iqa 2557

ทบทวนร่างเกณฑ์ประเมินที่เปิดใช้ในปีการศึกษา 2557
เนื้อหาจากฉบับร่าง ห้ามใช้อ้างอิง แต่น่าจะเหมาะกับการเตรียมความพร้อม
โดยนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2554-2556
และมีคุณศัลณ์ษิกา ไชยกุล  นักศึกษาฝึกงานมาช่วยเติมเต็มรายละเอียดต่าง ๆ

กลุ่มตัวบ่งชี้หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
* เกณฑ์ที่ 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร – ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร – 1) มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 2) คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 คน  (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร – 1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือ 2) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน   (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน – 1) อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีวุฒิปริญญาโทหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน 2) มีประสบการณ์ด้านการสอน 3) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ – 1) เป็นอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา – (เฉพาะแผน ก เท่านั้น) ต้องเป็นรายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ (proceeding) หรือวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน และการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 10. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ – อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปี (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 11. มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด – ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้สำเร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6) หมายเหตุ สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 8 (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 12. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ – ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ต้องดำเนินการทุกตัว (ตรี – โท – เอก)

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.2]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.3]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง  ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (เอก)
เกณฑ์การประเมิน :
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน

ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี)
เกณฑ์การประเมิน :
คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรกับเกณฑ์มาตรฐาน และนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์ดังนี้
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 6 กำหนดเป็นคะแนน 5
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าร้อยละ 12 กำหนดเป็นคะแนน 0
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระหว่างร้อยละ 6 และ ร้อยละ 12
ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตรดังนี้เพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ

ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (ตรี)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 2 การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 3 การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน [สกอ 4.1]
เกณฑ์ที่ 4 การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน [สกอ 6.1]
เกณฑ์ที่ 5 การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51 และมีการดำเนินงานตามระบบ โดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) [สกอ.2.6]

ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การควบคุมระบบการรับนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 2 การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 3 การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 4 การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  [สกอ 2.5]
เกณฑ์ที่ 5 การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 7 การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต [สกอ 2.7]
เกณฑ์ที่ 8 การควบคุมกำกัการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ [สกอ 2.1]

ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.6 ]
เกณฑ์ที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เกณฑ์ที่ 2 การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้
เกณฑ์ที่ 3 การใช้ประโยชน์จากการประเมิน
เกณฑ์ที่ 4 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์

ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 2 กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 3 การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ของนักศึกษา [สกอ 2.7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)

ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 2]
เกณฑ์การประเมิน :  นำผลจากการประเมินบัณฑิตที่มีคะแนนเต็ม 5 จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อย 20

ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (โท) [สมศ 3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 25 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (เอก) [สมศ 4]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ตรี) [สมศ 1]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

กลุ่มตัวบ่งชี้คณะวิชา

ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.2]
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะเน้นกระบวนการ PDCA
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 ที่ทั้งโครงการที่มีรายได้และโครงการที่ให้บริการแบบไม่หวังผลเชิงธุรกิจ
เกณฑ์ที่ 3 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 4 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 5 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนฯ ทุกโครงการมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา หรือชุมชน หรือสังคม

ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ (มหาวิทยาลัยใช้คะแนนของคณะมาเฉลี่ย)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ [สกอ 7.2]

กลุ่มตัวบ่งชี้มหาวิทยาลัย

ตัวบ่งชี้ 3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 3.2 การบริการนักศึกษา [สกอ 3.1] เหมือนคณะ แต่เพิ่มข้อ 5 – 6
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ 3.3 กิจกรรมนักศึกษา [สกอ 3.2] เหมือนคณะ
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิกจรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [สกอ 4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ  [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม  [สกอ 5.2 สมศ 9] ที่มหาวิทยาลัยเน้นชุมชนเป้าหมาย
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า [สกอ 5.2.2]
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน หรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1 [สมศ 9.1.1]
เกณฑ์ที่ 3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฎชัดเจน [สมศ 9.1.3]
เกณฑ์ที่ 4 ชุนชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง [สมศ 9.1.4]
เกณฑ์ที่ 5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองคค์การเป้าหมาย [สกอ 5.2.2]

ตัวบ่งชี้ 3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม [สกอ 6]
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เกณฑ์ที่ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เกณฑ์ที่ 7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ตัวบ่งชี้ 3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง [สกอ 9]

ตัวบ่งชี้ 3.10 ผลการบริหารงานของคณะ (คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะทุกคณะ)
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะของทุกคณะ

http://www.scribd.com/doc/221987061/

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา


เกณฑ์ประกันคุณภาพ กค.2553 ของ สกอ
http://blog.nation.ac.th/?p=1629

ปิดร่างรายงานการวิจัย sar51 แล้ว

หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551
หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551

16 ธ.ค.52 วันนี้ผมปิดร่างรายงานการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2551 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง” จากการส่งร่างให้ทีมวิจัยทั้ง 8 คนตรวจสอบก็ดำเนินการไปแล้ว ต่อจากนี้จะประสานส่งรายงานตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะมีกลไกดังนี้ 1) ส่งให้คณบดีพิจารณา 2) คณะกรรมการวิจัยในคณะ 3) สถาบันวิจัย 4) คณะกรรมการของสถาบันวิจัย 5) เวทีวิจัยของมหาวิทยาลัย 6) ท่านอธิการ ถ้าผ่านกลไกนี้ก็จะปิดงบถ่ายเอกสารของโครงการ แล้ววางแผนรวมทีมวิจัยโครงการต่อยอดกับข้อมูลปี 2552 เพื่อขยายให้ถึงระดับบุคคล ซึ่งมีความเป็นไปได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ ท่านอธิการสนับสนุน และบุคลากรมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการอบรมในเดือนที่ผ่านมา โดยบทคัดย่อมีดังนี้
      งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลให้หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลการประเมินตนเอง และเพื่อให้ผู้ประเมินตรวจสอบหลักฐานเพื่อการประกันคุณภาพด้วยความพอใจ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม รวม 13 คน คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา 7 คน ตัวแทนคณะวิชาและสาขาวิชา 6 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือเครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลไมโครซอฟท์แอคเซส ใช้แบบประเมินความพึอพอใจหลังการอบรมใช้งานโปรแกรม และหลังการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับสถาบันเสร็จสิ้น โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ งานที่พัฒนาขึ้นสามารถเลือกข้อมูลปีการศึกษา 2550 หรือ 2551 แบ่งเป็นระบบย่อยที่สำคัญ 6 ระบบ ประกอบด้วย 1) ระบบเข้าใช้งานของผู้ใช้  2) ระบบนำแฟ้มข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน  3) ระบบบันทึกรายละเอียดตามตัวบ่งชี้ 4) ระบบจัดการข้อมูลพื้นฐาน 5) ระบบปรับปรุง  และ 6) ระบบรายงานผลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของหน่วยงานโดยรวมอยู่ระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24, S.D = 1.11) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นยังไม่ตอบสนองความพึงพอใจต่อผู้ใช้ทั้ง 2 กลุ่มในระดับมาก
     The objective of this operational research was to develop the self assessment system to serve the satisfaction of users and assessors. This system used the case study of YONOK University.  The data sampling is divided into 2 groups consisting of 7 assessors and 6 faculties. The system development tools were Internet Information Server, PHP Interpreter, AJAX and Microsoft Access Database. 5-scale rating questionnaire was collected to evaluate system performance after finishing training and evaluation of the system. This system could be surve to database of 2550 and 2551.  There are 6 sub-systems: user’s login, documents upload, indicator update management, and common data set management, data updating and reporting system. The evaluation result of user’s satisfaction was high (a mean of 3.71 and standard deviation of 1.16). The evaluation result of assessor’s satisfaction was also moderate (a mean of 3.24 and standard deviation of 1.11). It is concluded that the system performance was not satisfy to both group in high level.
+ http://www.thaiall.com/research/sar51/fullpaper_sar51_521216.zip  500 KB
ถ้าท่านใดอ่านแล้วมีข้อเสนอแนะ แจ้งได้ครับ เพราะยังไม่ปิดงบถ่ายเอกสาร เป็นเพียงร่างรายงาน