เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที (itinlife570)

Ministry of Digital Economy and Society
Ministry of Digital Economy and Society

ในฐานะประชาชนของประเทศที่เห็นการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ประเทศเรากำลังเปลี่ยนไปใช้คำว่าประเทศไทย 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปสู่บริบทใหม่ที่เคยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้นวัตกรรม ซึ่งต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 5 เมษายน 2559 มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แล้ว 15 กันยายน 2559 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) ให้ตั้ง กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม แทน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังกระทรวงเดิมจัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2545 เป็นเวลาเกือบ 14 ปี

ใน พ.ร.บ.ข้างต้นมีการยกเลิกกฎเดิมบางเรื่อง การโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน บุคลากร และที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงเดิมไปไว้กับกระทรวงใหม่ และพบว่ามีชื่อส่วนราชการใหม่ใน มาตรา 21/2 คือ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมามีการเผยแพร่ภาพสัญลักษณ์ใหม่ของกระทรวงที่กรมศิลปากรออกแบบ โดยมีความหมายในแต่ละองค์ประกอบดังนี้ ใช้พระพุธอยู่ตรงกึ่งกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนภูมิปัญญา มีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่าง ๆ พระหัตถ์ขวาเปล่งรัศมีเป็นวงแทนคลื่นดิจิทัล ซึ่งต่อมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคาดหวังว่าจะได้เห็นสัญลักษณ์ที่มีความทันสมัยกว่านี้ แล้วได้ชื่อกระทรวงเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Digital Economy and Society

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีมาแล้ว 13 คน คนสุดท้ายของกระทรวงคือ ดร.อุตตม สาวนายน ลาออกเมื่อ 12 กันยายน 2559 ต่อมา พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีก็เข้ามารักษาการแทน ก่อนการเปลี่ยนชื่อกระทรวงพบว่ามีการดำเนินการพัฒนาด้านดิจิทัลตามแผนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาบุคลากรในศูนย์ดิจิทัลเพื่อชุมชนที่ต่อยอดมาจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรในศูนย์ที่จะกลายเป็นผู้พร้อมขับเคลื่อนชุมชนต่อไป การขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 จะผลิกโฉมประเทศได้รวดเร็วเพียงใดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามและร่วมกันขับเคลื่อนในบทบาทของคนไทยคนหนึ่งไปพร้อมกัน

http://www.thaiall.com/digitalcommunity/

https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

http://www.posttoday.com/biz/gov/454713

https://www.ega.or.th/th/content/890/10417/

 

ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย
foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย

ตู้อาหารหยอดเหรียญ มาสนองความต้องการของมนุษย์เหมือนตู้อื่นอีกมากมาย
อยากทานอะไรก็ไปเลือกตามรายการที่ตู้
ใส่เงินเข้าไป กดปุ่ม แล้วอาหารก็ออกมาให้เราทานจนอิ่ม
สนองความต้องการที่เป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์
หลักก็คล้ายกับตู้เอทีเอ็ม ตู้จำหน่ายตั๋วรถ ตู้น้ำอัดลม ตู้น้ำดื่ม ตู้จ่ายค่าสาธารณูปโภค
มีตู้หยอดเหรียญจำหน่ายอื่น ๆ ที่ http://www.lionvending.com/

พบคลิ๊ปประชาสัมพันธ์มิติใหม่ของอาหารกล่องแช่แข็ง CP ผ่านตู้หยอดเหรียญ Foodie:D
เริ่มจำหน่ายในอาคารสำนักงาน และในมหาวิทยาลัย เพราะมีความต้องการสูง
http://hilight.kapook.com/view/141555

ในยุคดิจิทัล ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นชอบเมื่อ 5 เม.ย.59
http://www.thaiall.com/digitalcommunity

ที่เป็นปัจจัยสำคัญนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา ประเทศไทย 1.0 เน้นภาคการเกษตร
ประเทศไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา
ประเทศไทย 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนัก
แล้ว ประเทศไทย 4.0 เราจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ
ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
https://www.facebook.com/DigitalNativeLive/posts/578087365695391

สำหรับผมแล้ว
คิดว่าเราจะได้เห็นการพัฒนามากมายที่มี 2 หัวหอกทะลวงฟัน
เปิดทางให้เศรษฐกิจใหม่ 4.0 เข้าไปแทนที่เศรษฐกิจแบบดั่งเดิมทั้งหมด
คือ Startup และ IoT (Internet of Things)
http://www.thaiall.com/mis/startup.htm
http://www.thaiall.com/iot/

ภาพบูทด้านข้างและด้านหลังของ booth creative

บูทของโยนกในงานฤดูหนาวและกาชาด ปี 2553
บูทของโยนกในงานฤดูหนาวและกาชาด ปี 2553

1 ม.ค.52 มีโอกาสเป็นตัวแทนนักศึกษาของคณะวิทย์ฯ ไปช่วยงานกาชาด รับผิดชอบส่วนบ่อมัจฉา ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ร่วมกิจกรรมตกมัจฉา ฉีกบัตร และชี้แจง ก่อนที่ผมจะเข้าช่วยกาชาด 17.00น-24.00น. ได้เก็บภาพด้านข้าง และด้านหลังของ booth yonok 2553 ในงานฤดูหนาวและงานกาชาด เพราะปีหน้าถ้าทำอีกจะได้มีต้นแบบ แนวคิดของบูทเป็น Creative สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็น Creative Economy และพบคำนี้ในคำขวัญวันเด็ก 2553 คือ “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”