คำถามถึงผู้สูงอายุ เป็นห่วยโซ่ จากอดีตสู่อนาคต

คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต
คำถามถึงผู้สูงอายุ จากอดีตสู่อนาคต

เกือบปลายปี 2559 ได้พูดคุยกับทีมคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง (คค.สจ.ลำปาง) แล้วร่วมเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการพัฒนายกร่างประเด็น การจัดการแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็ก และเยาวชน แล้วเมื่อ 24 ก.ย.59 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ นักวิชาการอิสระ และ คุณกรพินธุ์ วงศ์เจริญ พมจ. ลำปาง (เจี๊ยบ) ก่อนหน้านั้น 28 พ.ย.58 ได้พูดคุยกับกลุ่มพฤฒพลังลำปาง ที่ขับเคลื่อนโดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และ ดร.สุจิรา หาผล

วันนี้ (25 ก.ย.59) ไปเดินที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 13 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ลำปาง ผู้ใหญ่เรียกให้ลูกบ้านที่มีของเก่า นำของเก่ามาขาย เห็นระบบและกลไก จึงนึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุ หรือพฤฒพลังลำปาง เพราะอีก 1 รอบ ผมก็ต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่อาจต้องเป็นภาระให้คนหนุ่มสาวมาดูแลก็เป็นได้ มีคำถามว่า “ถ้า ผู้สูงอายุ รวมตัวกันได้ จะทำอะไร เพื่อ ให้มีความสุข ตราบจนวาระสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ อ.ปาล์ม สาขาสาธารณสุข ก็เล่าให้ฟังว่าจะลงพื้นที่ลำปางโมเดล
และเห็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้สูงอายุ ของทุกตำบล เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ
มีกิจกรรมเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง .. น่าสนใจมากครับ

ที่มาของคำถามนั้น
เนื่องจากนึกถึงนารวมที่คนนิคมพัฒนา ร่วมแรงร่วมใจกันลงแขก
ผมกับเพื่อนทีมวิจัย และนักศึกษาสาขาสาธารณสุขก็ยังเคยไปร่วมกันเกี่ยวข้าวมาแล้ว
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=761676820513118

การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมนี่ดีนะครับ
มีพลังมหาศาล เสกอะไรก็ได้ดั่งใจหลาย แต่คนเราจะยอมรวมกลุ่มกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Mission แล้วก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน
การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายเลยสักครั้ง

หรือ การเปลี่ยนแปลงประเทศของเหมาเจ๋อตุงก็เหมือนกัน
จะยึดที่นาของคนรวยให้คนจนก็มีคนมากมายไม่เห็นด้วย
ตอนที่ 3/5

ได้เห็นคลิ๊ปนายกศิริพร ปัญญาเสน  ทำโรงเรียนชาวนาพิชัย จ.ลำปาง

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ไปเปิดป้ายโรงเรียนชาวนา
เป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เตรียมสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่


วิกฤตคนเกิดน้อย
เห็นกระทบที่เป็นข่าวก็โรงเรียนปิดหรือยุบรวมโรงเรียน แต่การกระทบนี้ใหญ่หลวงนัก
ดูจากพีระมิดจำนวนประชากร ที่จะกระทบขึ้นไปในห่วงโซ่ของสังคม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.423083752271.195205.350024507271/10154554540217272/?type=3&theater

24 ก.ย.59 ประชุมครั้งที่ 3 ร่างประเด็นฯ
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894&type=3
28 พ.ย.58 พฤฒพลังลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894&type=3

ประเทศจีนมีความเสมอภาค
ยุคของเหมาเจ๋อตุง เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน แต่หลายเมืองก็ไม่พอใจ
ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

ผีเสื้อกระพือปีก สะเทือนถึงดวงดาว

ภาพยนตร์เรื่อง Looper
พยายามจะสื่อว่า ถ้าคุณพบว่ามีข้อผิดพลาดใน loop
แล้วรู้ว่าสามารถหยุดข้อผิดพลาดที่เกิดในอนาคต
ด้วยการหยุดปัจจุบัน
คุณจะทำไหม .. ในเรื่องนี้บอกว่า เขาทำ
เป็นความสัมพันธ์ของคำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

วันนี้ผมบ่นเรื่อง .. Butterfly Effect
สอดรับกับ “ผีเสื้อกระพือปีก สะเทือนถึงดวงดาว
2 ก.พ.2557 เพื่อน ๆ ทำอะไร หรือไม่ทำอะไร
ย่อมสะท้อนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
บางทีการกระทำไม่ได้สะท้อนในทันที และไม่ได้สะท้อนต่อตัวเรา
แต่สะท้อนถึงผู้คนที่ต้องรับผลกระทบจากความคิดหนึ่งของเรา
เช่น ซื้อหวย ก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่าสนับสนุนคนทำผิดกฎหมาย
หรือ ซื้อก๋วยเตี๋ยวทุกวัน ทำให้ร้านข้าวแกงข้าง ๆ เจ้งไปเพราะเราไม่ซื้อ
หรือ คนในหมู่บ้าน ไม่ใส่บาตร พระก็ต้องย้ายไปจำพรรษาที่อื่น
หรือ ชื่นชมรายการ ฟันธงราศี ก็สนับสนุนให้คนไม่ยึดมั่นในความจริง
เป็นต้น

แนะนำคำว่า butterfly effect หรือ chaos
แนะนำคำว่า butterfly effect หรือ chaos

ที่มาของ ทฤษฎี Chaos
ผีเสื้อกระพือปีกย่อมเกิดพายุใหญ่ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

by Professor Edward Lorenz (1917-2008)
Does the flap of a butterfly’s wings in Brazil
Set Off a Tornado in Texas?

http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=1104.0

Specifically Lorenz studied a primitive model of how an air current would rise and fall while being heated by the sun.
ลอเรนซ์เจาะจงศึกษาแบบจำลองเก่าแก่ที่ว่าด้วยกระแสลมที่ลอยตัวขึ้นหรือลดต่ำลงเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์

Lorenz’s computer code contained the mathematical equations which governed the flow the air currents. Since computer code is truly deterministic, Lorentz expected that by inputing the same initial values, he would get exactly the same result when he ran the program.
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของลอเรนซ์ลอเรนซ์ประกอบด้วยสมการคณิตศาสตร์หลายสมการ ที่ครอบคลุมการไหลเวียนของกระแสลม และเนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ตายตัว(Deterministic) ลอเรนซ์ จึงคาดว่าเมื่อใส่ตัวเลขเบื้องต้นที่เหมือนๆกันเข้าไป เมื่อรันโปรแกรมแล้ว เขาก็ควรได้รับผลลัพท์ที่ออกมาเหมือนกันอย่างไม่ผิดเพี้ยน

Lorenz was surprised to find, however, that when he input what he believed were the same initial values, he got a drastically different result each time.
แต่ ลอเรนซ์ต้องแปลกใจเมื่อเขาพบว่า ตัวเลขที่เขาคิดว่าเหมือนกันเมื่อตอนใส่อินพุทนั้น กลับให้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในการรันแต่ละครั้ง

By examining more closely, he realized that he was not actually inputing the same initial values each time, but ones which were slightly different from each other.
จากการตรวจสอบอย่างละเอียดต่อมา เขาพบว่าตัวเลขที่เขาใส่ลงไปนั้น เขาไม่ได้ใส่ตัวเลขเดียวกันลงไปทุกครั้ง ตัวเลขที่เขาใส่แต่ละครั้ง จะมีค่าแตกต่างกันเล็กน้อย

He did not notice the initial values for each run were different because the difference was incredibly small, so small as to be considered microscopic and insignificant by usual standards.
เขาไม่ได้สังเกตเห็นความแตกต่างของตัวเลขที่เขาใส่ลงไป เพราะความแตกต่างที่มีนั้น มันน้อยจนแทบไม่น่าเชื่อ มันเล็กขนาดที่ถือกันว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวธุลีหรือจุลภาค(Microscopic) และถือว่าไม่มีค่าในมาตรฐานปกติ

The mathematics inside Lorenz’s model of atmospheric currents was widely studied in the 1970’s. Gradually it came to be known that even the smallest imaginable discrepancy between two sets of initial conditions would always result in a huge discrepancy at later or earlier times, the hallmark of a chaotic system, of course.
ในทศวรรษ 1970 มีการศึกษาตัวเลขในแบบจำลองกระแสลมของลอเรนซ์อย่างกว้างขวาง และก็ต่อๆมาก็เป็นที่ที่รู้กันว่า แม้ความแตกต่างจะมีค่าเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม จะสามารถทำให้เซ็ทของเงื่อนไขก่อนหน้าสองเซ็ทมีผลที่แตกต่างกันอย่างมหาศาลไม่ว่าจะในภายหน้าหรือในกาลย้อนหลัง นี่ก็คือสัญญลักษณ์ของระบบที่ไร้ระเบียบ(Chaotic System) นั่นเอง

Scientists now believe that like Lorenz’s simple computer model of air currents, the weather as a whole is a chaotic system. This means that in order to make long-term weather forecasts with any degree of accuracy at all, it would be necessary to take an infinite number of measurements.
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า สภาพอากาศโดยรวมนั้น เป็นระบบไรัระเบียบแบบเดียวกับแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของลอเรนซ์ ซึ่งหมายความว่า ถ้าจะพยากรณ์อากาศระยะยาวให้มีความแม่นยำ จำต้องมีตัวเลขจากการวัดต่างๆที่มีค่าถูกต้องสมบูรณ์

Even if it were possible to fill the entire atmosphere of the earth with an enormous array of measuring instruments—in this case thermometers, wind gauges, and barometers—uncertainty in the initial conditions would arise from the minute variations in measured values between each set of instruments in the array.
ดังนั้น แม้ว่าจะมีเครื่องวัดค่าต่างๆเต็มท้องฟ้า เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ ที่วัดลม ฯ ก็ตาม ความคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดจากการวัดต่างๆ ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในค่าตั้งต้นขึ้น

Because the atmosphere is chaotic, these uncertainties, no matter how small, would eventually overwhelm any calculations and defeat the accuracy of the forecast.
และเพราะบรรยากาศของเรานี้ยไร้ระเบียบ ความไม่แน่นอนเหล่านั้นไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไรก็ตาม ที่สุดแล้วก็จะท่วมท้นการคำนวนต่างๆ และจะทำลายความแม่นยำของการพยากรณ์

หลุมทราย (Sandbox) คืออะไร

หลุมทราย (Sandbox) หรือ Sandbox  Effect เป็นกลไกการกรองเว็บไซต์ที่ Google.com พัฒนาขึ้น  เพื่อลบเว็บไซต์ออกจากผลการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่สมควรติดอันดับ ซึ่งผลการจัดอันดับมาจากการค้นหาด้วยคำสำคัญต่าง ๆ

เหตุที่ติดในหลุมทราย เพราะเป็นเว็บไซต์หรือโฮมเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ล่มประจำ เว็บไซต์เกิดใหม่ เว็บไซต์เปลี่ยนเอ็นจิ้น เปลี่ยนลิงค์ ย้ายโฮส หรืออื่น ๆ สำหรับคุณภาพ หรือค่าระดับของเว็บไซต์ที่ google.com ประเมินไว้ แสดงออกมาเป็นค่า pagerank หรือ pr ซึ่งตรวจสอบได้ที่ http://www.prchecker.info/

หากหลุดจากหลุมทราย ก็จะถูกค้นพบในผลการสืบค้น คลิ๊กคำว่า แคช (cache) ก็จะพบเวลาว่า robot เข้าเว็บไซต์ของเราเมื่อใด แล้วแต่ละหน้าก็เข้าไม่พร้อมกันนะครับ เพราะ robot มีการตั้งเวลาว่าจะเข้าเว็บไซต์ใดบ่อยเพียงใด และบ่อยไม่เท่ากัน อาทิ เว็บไซต์ข่าวก็จะเข้ากันชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าที่ปรับข้อมูลเดือนละครั้ง ก็อาจเข้าเดือนละครั้งเช่นกัน
http://www.makewebeasy.com/article/sandboxeffect.html

ภาพนี้เป็นช่วงหนึ่งที่ตามโฮสตัวหนึ่งติดอยู่ในหลุมทราย
หลังจากนี้ก็จะไต่ pr ตามปกติ
16 มีนาคม 2556

sandbox effect in google.com
sandbox effect in google.com