28 ก.ค.53 มีโอกาสประชุมกับทีมงานไอทีอีกครั้ง เรื่องเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ และคณะกรรมการพัฒนาระบบอีเลินนิ่งต่อเนื่องกัน โดยประชุมเตรียมการครั้งแรกวันที่ 25 ก.ค.53 วันนี้ตามเอกสารประกอบการประชุม มีเพื่อนร่วมงานค่อยดำเนินการทั้ง คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ คุณอรรถชัย เตชะสาย คุณอนุชิต ยอดใจยา ซึ่งเอกสารที่จะนำเข้าประชุม เพื่อทบทวน วางแผน ติดตาม พิจารณาโครงการนั้น ประกอบด้วย 1) วาระ 2) เกณฑ์คุณภาพใหม่ 3) นโยบายระบบฐานข้อมูล 4) ผลประเมินประสิทธิภาพ 5) ผลประเมินความพึงพอใจ 6) ระบบอินทราเน็ต2552 7) แผนภาพระบบอีดอคคิวเมนท์ 8) แผนระบบสารสนเทศ 9) หน้าเว็บ /info 10) โครงการอบรม photoshop 4 กลุ่ม 11) โครงการคัดเลือก ส่วนเอกสารที่แจกไปก่อนหน้านี้คือ ร่างรายงานสรุปผลพัฒนานักศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ .. เล่าสู่กันฟังครับ
Tag: อีเลินนิ่ง
ส่งรายงานเล่มใหญ่ให้คณะวิชา แล้วส่งบันทึกแจ้งคณะกรรมการ
18 พ.ค.53 เขียนบันทึกเรื่อง แจ้งการจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ โอกาสต่อไปจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง เพราะการส่งรายงานเล่มใหญ่ให้กรรมการกว่า 20 คนเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล จึงส่งบันทึกแจ้งแทนว่าไปอ่านที่คณะวิชาแทนได้ หรือดาวน์โหลดด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียด 3 ย่อหน้าดังนี้
1) ตามที่ท่านร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก และเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมวางแผน เขียนโครงการ และดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลินนิ่ง ซึ่งสำเร็จลุล่วงในการพัฒนาบุคลกรไปแล้วจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ซึ่งผลของการดำเนินงานทำให้ได้ผู้ที่ใช้อีเลินนิ่งเป็นเครื่องมือในปีการศึกษา 2552 มาเป็นแบบอย่างของบุคลากรจำนวน 4 ท่าน แล้วได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ได้รับการคัดเลือกมาเป็นวิทยากรในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง ที่จัดขึ้นวันที่ 29 – 30 เมษายน 2553 และได้ข้อเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
2) การดำเนินการทั้ง 2 โครงการได้จัดทำรายงานสรุปผลที่มีข้อมูลการจัดสรรมูลค่าและงบประมาณ จำแนกตามคณะวิชา เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการทำงานที่เชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยี การใช้เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเป็นทางเลือกในการวิจัยในชั้นเรียน และเป็นเอกสารหลักฐานการประกันคุณภาพในเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการของคณะวิชา และในเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารรายงานสรุปผลได้ถูกจัดส่งให้กับคณบดีทุกคณะวิชา รองอธิการบดี และอธิการบดี สำหรับใช้อ้างอิงต่อไป
3) สำหรับแฟ้มรายงานสรุปผล นอกจากท่านจะศึกษาได้จากรูปเล่มที่จัดส่งให้แต่ละคณะวิชาแล้ว ท่านยังสามารถดาวน์โหลดได้จากระบบอินทราเน็ต หรือระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ http://www.yonok.ac.th/mis ภายใต้ลิงค์ที่ชื่อว่า “รายงานสรุปผลโครงการ”
ร่างผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างอบรมอีเลินนิ่ง
8 พ.ค.53 จากการอบรมอีเลินนิ่งเมื่อ 29-30 เม.ย.53 เพื่อนได้ชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (อาจารย์บางท่านขอสงวนนาม) แล้วผมก็บันทึกข้อเสนอแนะไว้ จากนี้ก็จะส่งให้เพื่อนได้ทบทวนก่อนจัดทำรูปเล่มดังนี้ 1) อ.ภามิตร เสนอให้มีการติดตามการใช้งานอีเลินนิ่ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการใช้งานโปรแกรมภายหลังการอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่ง อ.ฉัตรแก้ว ให้ความเห็นสนับสนุนให้มีกิจกรรมติดตามผลการอบรมเช่นกัน 2) อ.อดิทอง เสนอให้มีระบบบริการครบวงจรมีพี่เลี้ยงแบบสายฟ้าแล็บที่ใกล้ชิดกับผู้สอนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้นหลักสูตร การจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในแต่ละคณะวิชา การกำกับดูแลมาตรฐาน การออกแบบเนื้อหาสอดรับกับธรรมชาติของหลักสูตรและมหาวิทยาลัย การทดสอบใช้งาน การติดตามช่วยเหลือนักศึกษาในการใช้งานสอดรับกับแต่ละเนื้อหาหรือกิจกรรม และการจัดทำสื่อมัลติมีเดียสนับสนุนให้การพัฒนาอีเลินนิ่งเป็นไปอย่างสมบูรณ์ 3) อ.คงสืบ เสนอให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องมีความจริงใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสมเหตุสมผล เห็นประโยชน์ของคนทำงานมากกว่าสิ่งอื่นใด เพื่อให้การทำงาน การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนมีระบบและกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนา จัดหาฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และพีเพิลแวร์ที่เพียงพอ 4) อ.เกศลา เสนอให้มหาวิทยาลัยวางแผนเรื่องภาระของบุคลากร เพราะปัจจุบันไม่มีเวลาในการพัฒนาระบบอีเลินนิ่ง หากมีเวลาในการพัฒนาอีเลินนิ่งเพิ่มก็จะดีมาก 5) อ.คนึงภู เสนอว่าการอบรมควรมีคู่มือ เพราะคู่มือในดีวีดีมีเพียงไม่กี่สถาบัน และมีคู่มือของอ.ทนงฝั้น และคู่มือของอ.บุพันธุ์ ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการบรรยายมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หากมีคู่มือที่ละเอียดและมีขั้นตอนตามที่อบรมก็จะดีมาก ซึ่ง อ.สกุลหล้า ให้เหตุผลสนับสนุนข้อเสนอนี้ 6) อ.สุทธิ์สกุล เสนอให้มีการอบรมนักศึกษาในการใช้งานอีเลินนิ่ง เพื่อให้การพัฒนาอีเลินนิ่งสามารถถูกใช้โดยนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการบูรณาการกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าอาจารย์แต่ละคนจะไปอบรมในชั้นเรียนของตนเอง 7) อ.วีรัตน์ เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดคอมพิวเตอร์ให้กับอาจารย์ จัดคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานระดับสาขา จัดคอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษา ปรับความพร้อมและทัศนคติของอาจารย์ และนักศึกษา เพราะสิ่งเหล่านี้ยังไม่พร้อม ซึ่ง อ.ศรินขำ มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับข้อเสนอนี้
เตรียมอบรมอีเลินนิ่งด้วยมูเดิ้ล
15 ต.ค.52 เตรียมสอนมูเดิ้ล (moodle) ทำให้พบข้อผิดพลาดในเว็บสอนมูเดิ้ลเดิมหลายจุด และขาดรายละเอียดสำคัญที่จะใช้บรรยายในวันที่ 19 ต.ค.52 ร่วมกับ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น ส่วนหนึ่งที่ปรับปรุงคือเพิ่มภาพถ่ายของวิทยากรคู่ที่จะร่วมนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง วัตถุประสงค์ของการอบรมอีเลินนิ่งครั้งนี้ คือ 1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) และสามารถประยุกต์ใช้ ในระบบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างและนำเสนอบทเรียนสำหรับ E-learning ด้วยตนเองและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในระบบบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 3) เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
กิจกรรมการอบรมอีเลินนิ่ง 1 วัน ประกอบด้วย 1)บรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง 2)สมัครเข้าเป็นสมาชิกของระบบ 3)ฝึกใช้งานระบบในบทบาทนักเรียน 4)ฝึกนำเอกสารเข้าสู่ระบบในฐานะครู ทำกิจกรรม และการประเมินการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 5)สร้างเครือข่ายครูผู้พัฒนาอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก 6)เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัย
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://class.yonok.ac.th