ต.ย. พฤติกรรมมนุษย์ตาม ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญชาตญาณ คือ หลีกหนีปัญหา

ข่าวเมื่อ 1 ธ.ค.2560 เล่าถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ก็มีพฤติกรรมของมนุษย์หลายฝ่ายในเหตุการณ์นี้ ที่สะท้อนถึงการใช้สัญชาตญาณ แยกแยะได้ดังนี้

1) call center
2) bank employee
3) owner of a bank account
4) viewer

ฝ่ายแรกก็ต้องการหลอกให้ฝ่ายเหยื่อโอนเงินให้ตนโดยมิชอบ
ส่วนฝ่ายที่สามก็รับจ้างเปิดบัญชี โดยทั้งหมดมีผู้ชมเข้าไปกดไลท์กดแชร์
จนเป็นบทความข่าวที่รับรู้กันทั่วไปในหมู่คนไทย
คือเรื่อง “คุมหนุ่มลำปางเจ้าของบัญชีแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกสาวแบงค์สอบ! สารภาพรับจ้างเปิดบัญชี
หรือ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์เจอตอ หลอกตุ๋น พนง.ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยทุกคนเชื่อว่ากระแสข่าวนี้ จะทำให้คนไทยคิดได้ คือ

1) รับจ้างเปิดบัญชีน้อยลง
2) ถูกหลอกให้โอนเงินน้อยลง
3) ทำอาชีพปลอมเป็นนายร้อยนายพันน้อยลง

การมีแก็งนี้อยู่ ก็สะท้อนว่าชาวแก็งทำสำเร็จ และมีผู้ถูกหลอกจริงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมักตัดสินใจตามสัญชาตญาณของการหลีกหนีปัญหาที่พาตนเองเข้าไปสู่ปัญหา หรือ “ยิ่งหนีปัญหายิ่งเจอปัญหา
ก็จะกระทำตามขั้นตอนที่ได้รับคำแนะนำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แล้วก็ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในที่สุด

https://www.youtube.com/watch?v=k4_V-MXcAH4

c

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271