โหนกระแส จากบทความที่พูดถึง ตูน ตนบุญ กับท่าน ว.

เคยอ่านบทความ
เรื่องที่ ท่าน ว. วชิรเมธี พูดชื่นชมพี่ตูน ในความเสียสละ
แล้วเทียบสิ่งที่ทำได้คล้ายกับ ตนบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย
แล้ว คุณณัฐพงศ์ ดวงแก้ว นำประเด็นมาวิพากษ์ในเรื่องข้อมูล
ว่าข้อมูลของท่าน ว. วชิรเมธี คลาดเคลื่อน
แล้วให้อธิบายข้อมูลที่ถูกต้อง จากแหล่งที่ท่านคิดว่าเชื่อถือได้
หากสนใจข้อมูลเรื่องวิถีของพี่ตูน กับวิถีของครูบาศรีวิชัย
ต่างกันเช่นใดแล้ว ไปอ่านกันได้ใน GM Live

ตูน ตนบุญแห่งล้านนา
ตูน ตนบุญแห่งล้านนา

อีกคำที่น่าสนใจ คือ “โหนกระแส” เป็นชื่อบทความเลย
ผมเองทำประจำเลย
มีงานฤดูหนาว ผมหยิบกระแสหนาว ๆ มาพูด
ไม่ได้รอหน้าร้อนแล้วพูด พูดตอนหนาว ๆ นั่นหละ
หรือ
ช่วงร้อนแล้ง ห้ามเผา ก็จะโหนว่าเจอเผา เจอร้อน
ไม่ไปพูดเรื่องร้อน ตอนฝนตก
หรือ
เลขจำนวนวัด 58 106 108 ในบทความ
ผมก็โหนกระแสตอบเม้นท์ อ.เกียรติ
ว่าเลขน่าสน แต่ออก 98
น่าถ้าออก 58 คงดราม่าได้อีก
หรือ
ตอนที่ตูน วิ่งผ่านเกาะคา 19 ธ.ค.60
ผมก็โพสต์เพราะชื่นชม เข้าไปให้ข้อมูลครับ
ของผมเรียก ตามกระแสหลัก ใน Lampang City
เพราะโพสต์กันสนั่นหวั่นไหวเหมือนกัน

savetoon
savetoon

มาทบทวนนิยาม โหนกระแส อีกที
โหน = โหน + กระแส
ผมว่านะ จะใช้โหนกระแส ต้องแรงหน่อย
ถ้ากระแสหลักไม่แข็งพอ
กระแสหลักอาจถูกโหนจนเอียงไปได้
หากไม่สะเทือน ก็น่าจะใช้คำว่า เกาะกระแส แทน
เพราะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดเลย
ส่วน รีวิวหนัง ก็เป็นได้ทั้ง เกาะกระแส และ สร้างกระแส
#เจ้าประจำ #ตามกระแส #เกาะกระแส #โหนกระแส #สร้างกระแส

คำนี้ เป็นชื่อรายการทีวีเลย คือ รายการโหนกระแส
https://www.facebook.com/HKS2017/

คำว่า โหนกระแส นั้น
จะใช้โหนกระแส ต้องมีผลกระทบที่แรงพอ
จนกระแสหลักเอียงเล็กน้อย หรือเห็นได้ชัดพอ
หากไม่สะเทือนกระแสหลัก
ก็น่าจะใช้คำว่า เกาะกระแส ก็พอ
เพราะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด
อีกคำที่น่าจะใช้ได้ คือ ตามกระแส
หากกระแสเค้าไปของเค้า เราแค่ตามไปใกล้ไกลก็แล้วแต่
กระแสหลักอาจไม่รู้ว่าถูกตามก็ได้

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 128 รายการ

ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย

8 เม.ย. 2559 ค้นคำว่า มหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบข้อมูล 128 รายการ ต่ำกว่าที่ค้นเมื่อปี 2557 จำนวน 6 รายการ และพบว่าล่าสุดมี มหาวิทยาลัยเนชั่น จดทะเบียนได้เลขสมาชิกคือ 4304
โดยค้นจาก http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ
ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ

ความหมายของที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง และมีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ และความสามารถให้บริการที่ปรึกษา และเสนอแนะ ความรู้ทางวิชาการในสาขาต่างๆ อาทิ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนโดยพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาสำรวจและออกแบบในรายละเอียดทางด้านวิศวกรมและสถาปัตยกรรม และการวางแผนและควบคุมการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานหลายๆ ด้าน โดยจำเป็นต้องใช้วิศวกรที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางเทคนิค วิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการบริหาร เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/12

ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนที่ปรึกษา
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/21

registration flow
registration flow

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นจด/ต่อ/เพิ่มเติม/ปรับสถานะทะเบียนที่ปรึกษาไทย
สำหรับที่ปรึกษานิติบุคคล
1.หนังสือแสดงความประสงค์ขอจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษานิติบุคคลถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 1 ฉบับ ดาวน์โหลด ที่นี่
2. เอกสารประกอบกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน, ทุนจด    ทะเบียน 1 ล้านบาทขึ้นไป)
– สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
– สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
– สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพ สำเนาใบสมาชิกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษา หรือสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
– อื่นๆ
3. เอกสารประกอบกรณีองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม หรือสถาบันการศึกษา (ในกรณีที่เป็นมูลนิธิ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นมูลนิธิประเภทใด เช่น มูลนิธิเพื่อการกุศล มูลนิธิเชิงพาณิชย์ หรือ อื่นๆ)
– พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กร/ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
– สำเนารายชื่อกรรมการ/คณะผู้ดำเนินการขององค์กร
– งบการเงิน
– รายงานประจำปี (Annual Report)
– สำเนาประจำตัวผู้เสียภาษีขององค์กร
– อื่นๆ
4. เอกสารประกอบโครงการ
– สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดของลักษณะงานที่ทำ บุคลากรที่ดำเนินโครงการ จำนวนคน-เดือน (man-month) และอัตราค่าจ้าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ และมูลค่าตามสัญญาจ้าง
– ถ้าโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ทางศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาจะไม่พิจารณาโครงการนั้น
หมายเหตุ กรณีจดทะเบียนเพิ่มเติม หรือต่อทะเบียนการเป็นที่ปรึกษา ที่ปรึกษายื่นเอกสารโครงการเฉพาะที่เพิ่มเติมเท่านั้น
5. เอกสารบุคลากร
– รูปถ่าย 1 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ประวัติการทำงานโดยละเอียด (อย่างน้อยต้องระบุปี พ.ศ.)
– หลักฐานการศึกษา (ใบปริญญาบัตร หรือ Transcript)
6. การรับรองความถูกต้องของเอกสาร
– เอกสารทุกชนิด ทุกหน้า ต้องประทับตราบริษัท และรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ จะไม่รับจดทะเบียน และจะดำเนินการลบรายชื่อที่ปรึกษาออกจากฐานข้อมูลที่ปรึกษา หากตรวจพบว่าที่ปรึกษาเสนอข้อมูลจดทะเบียนมาไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง
7. เอกสารต้องเจาะใส่แฟ้ม 2 ห่วง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/22

บริการค้นที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบว่ามีประเภทนิติบุคคล : มหาวิทยาลัย พบทั้งหมด 134 รายการ
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ที่ปรึกษามี 4 สถานะ
1. สถานะ Active แสดงสถานะ สมาชิก
2. สถานะหมดอายุและไม่ได้ทำการต่อทะเบียนที่ปรึกษา หรือ Not Acitve
3. ต่ออายุที่ปรึกษา หรือ เพิ่มเติมโครงการ/ปรับสถานะ และยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
4. สถานะถูกเพิกถอน