5 คำถามชวนคิด เรื่องผู้ว่าฯ ลาออกจากการออกหนังสือราชการที่มีข้อความที่ผิด

มีประเด็นที่สังคม ให้การชื่นชมในความรับผิดชอบ
ของผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ที่ส่งหนังสือลาออก ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย
เห็นแล้วก็อยากชวนเช็ค ชวนคิด ชวนแชร์ ชวนแลกเปลี่ยน

สปิริตของผู้ว่าราชการ http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/
สปิริตของผู้ว่าราชการ
http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/

พบว่า มีนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน
ให้ความเห็นชื่นชมการตัดสินใจของผู้ว่าฯ
บอกว่าเป็นตัวอย่างที่ดี และมีท่านหนึ่ง โพสต์ว่า

.. ผิดพลาด ขอลาออก ทันที
รับผิดชอบ คือ เกียรติยศ
นี่แหละ .. จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน
ถ้าบ้านเมืองมีคนอย่างนี้เยอะๆ
ลูกหลานก็จะดีเอง ..

ควรเป็นปกติที่พบเห็นข้อมูลข่าวสาร ก็ต้องมีการ “เช็คก่อนแชร์
จึงตั้งใจจะเตรียมคำถาม ไว้ชวนเพื่อน เช็คตนเองกันหน่อย

1. ฐานความผิดในการพิมพ์เอกสารผิดจากกรณีนี้
ท่านคิดว่าลาออกจากราชการ สมควรกับความผิด หรือไม่

2. มีงานที่ผู้ว่าฯ ต้องรับผิดชอบมากมาย
การเลือกรับผิดชอบที่พิมพ์เอกสารเตรียมรับนายกฯ ผิด แล้วลาออก
ย่อมทำให้สิ้นสุดความรับผิดชอบต่องานผู้ว่าฯ ในปัจจุบันและอนาคต
ท่านคิดว่าการแสดงความรับผิดชอบนี้ เลือกได้ดีที่สุด หรือไม่

3. ถ้ามีลูก มีหลาน มีศิษย์ มีเยาวชน ท่านจะอบรมสั่งสอน
ว่าหากพิมพ์เอกสารผิด และไม่ส่งผลกระทบใด ที่ร้ายแรง
แต่เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติ
ท่านคิดว่าจะสอนใคร ให้ลาออกจากงานประจำจากการพิมพ์ผิด หรือไม่

4. ถ้าเป็นตัวอย่างที่ดี แล้วท่านไปพิมพ์เอกสารผิด และต้องการรับผิดชอบ
จึงลาออกจากงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ตอนอายุ 24 ปี
ท่านคิดว่าจะหางานใหม่ หรือไม่ หลังจากออกจากงานเดิมแล้ว

5. การเลือกที่จะลาออกของผู้ว่าฯ อาจมีเหตุผลมากมาย
ที่นำมาประกอบการพิจารณา
นอกจากคำว่า รับผิดชอบต่อการพิมพ์เอกสารผิด และรักษาชื่อเสียงเกียรติยศแล้ว
ท่านคิดว่าควรมีเหตุผลอะไรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาอีก หรือไม่

จากคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเพียงการชวนคิด
เพราะความจริงแล้ว อาจมีข้อมูลอื่นที่ทำให้ผู้ว่าฯ ตัดสินใจ

ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร คนที่ตอบเท่านั้น
คือ ผู้เรียนรู้ ว่าอะไรควร หรือไม่ควร
เพราะสุดท้ายแล้ว เรื่องนี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่าง
ของ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

หลัก 50/50 glory and money

ตาม Maslow’s hierarchy of needs แล้ว

Money อยู่ต่ำสุด Glory อยู่สูงมาก 
แยกกันชัดเจน

พบว่า มีการหารือ ในเวทีด้านการศึกษา
ว่า คนเราได้รับเกียรติแล้ว เค้าก็ไม่น่ารับเงิน
ที่ต่างประเทศ เค้ารับเกียรติ ก็รู้สึกเพียงพอแล้ว

ในอีกมุมหนึ่ง
บางคน ยอมแลกเกียรติ กับ เงินทอง
บางคน เอาเงินทอง ไปแลกกับ เกียรติ
บางคน อยากได้เกียรติ แล้วเงินทองจะตามมา
บางคน อยากได้เงินทอง แล้วเกียรติจะตามมา

เวลาถกเถียงกันระหว่าง เกียรติ กับ เงินทอง
ถ้าคนมีเงินทองเยอะอยู่แล้ว จะเลือกเกียรติ
ถ้าคนมีเงินทองน้อย ก็จะเลือกเงินทอง เป็นธรรมดา
เรื่องนี้เอาไปเล่าในหัวข้อ คุณธรรมจริยธรรม
http://www.thaiall.com/ethics
แต่สรุปว่า เป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ น่าจะตรงกว่า

ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ

http://www.moe.go.th