อรรถาภิธาน (Thesaurus)

อรรถาภิธาน (Thesaurus) คือ คลังของคำศัพท์ หรือพจนานุกรมคำพ้อง (synonyms) ซึ่งเป็นพจนานุกรมที่เก็บคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น พิมพ์ test คลิ๊กคำนี้ใน MS Word แล้วเข้าเมนู Review, Thesaurus จะพบกับคำแนะนำมากมาย ได้แก่ เช่น Examination, Exam, Quiz, Trail, Assessment, Check, Experiment, Investigation, Analysis เป็นต้น

https://www.thaiall.com/glossary/

ซึ่งห้องเรียนนักเขียนมักต้องใช้งานฐานข้อมูลคำพ้อง เพื่อเลือกใช้คำให้กระชับ ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ และสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การออกแบบคำในหมู่ผู้ส่งสาร นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักสื่อสาร นักพูด นักคิด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้คำว่าแบบ c l i c k b a i t มักถูกนำมาใช้ เช่น แถ ยัน อึ้ง ช็อก สลด แซบ เผย หลุด ร้อนตัว เตะถ่วง โผล่ สารภาพ ล้ม รวย แตก ทรุด งง เลื่อน เฮง

ชวนอ่าน

นันทวัฒน์ เนตรเจริญ. (2560). กลวิธีทางภาษาในพาดหัวข่าวเพื่อชวนให้อ่านของข่าวออนไลน์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(2), 237-263.

ซึ่ง นันทวัฒน์ เนตรเจริญ สนใจการพาดหัวข่าวของข่าวออนไลน์
จากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์จำนวน 6 เว็บไซต์ ซึ่งน่าเข้าไปเรียนรู้ ได้แก่

liekr.com

news.jarm.com

jaizaa.com

tnews.co.th

tsood.com

tvpoolonline.com

โดยผลการวิจัยพบว่า การพาดหัวข่าว จำแนกได้ 3 กลวิธีหลัก

กลวิธีการสร้างความสงสัย (question)

กลวิธีการสร้างคุณค่า (value)

กลวิธีการสร้างความมีส่วนร่วม (participation)

นันทวัฒน์ เนตรเจริญ

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/download/185178/130253/

อภิธานศัพท์ (Glossary)

glossary
glossary

25 ส.ค.54 การทำ Glossary เป็นสิ่งที่คิดจะทำมานานแล้ว แต่หาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานไม่ได้ และไม่มีเหตุจูงใจมากพอ จนได้พบกับ moodle 1.9 ซึ่งมีจุดเด่นคือ 1) เป็น glossary ภายใต้ระบบ e-learning ที่เป็นมาตรฐาน 2) สามารถ export ออกไปเป็น xml ที่จะนำไปใช้ต่อได้ง่าย 3) เป็นระบบฐานข้อมูลรองรับการสืบค้น แบ่งหน้า และแบ่งกลุ่มได้ 4) การสร้าง glossary สามารถพิมพ์ในระบบอื่น แล้ว import เข้าระบบของ moodle เพื่อเผยแพร่ต่อได้ .. ในเบื้องต้นแบ่งไว้ 2 เล่ม คือ technical term และ software glossary

อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ การคำอธิบายความหมายของคำ เรียงตามตัวอักษร ซึ่งเดิมจะพบ Glossary อยู่ส่วนท้ายของหนังสือ เพื่อช่วยให้ความหมายที่ผู้แต่งเห็นควรนำมาอธิบายเพิ่มเติม ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน

แหล่งรวบรวมอภิธานศัพท์