เพื่อนบ่นเรื่องส่งจาก gmail.com มาถึง inbox ช้า

อยากรู้ไหมครับว่า อีเมลที่มาถึงเรา แวะเอ้อระเหยลอยชายบนท้องฟ้าอยู่กี่ชั่วโมง
ตรวจสอบได้นะครับ ไม่ต้องนับเองด้วย

google app delay
google app delay

ไปค้นดู ก็พบเพื่อน ๆ พบปัญหากันเพียบ
ที่องค์กรของผมก็พบปัญหากันเพียบ
วิธีตรวจสอบ
1. เปิดอีเมล คลิ๊ก สามเหลี่ยมมุมบนขวาของอีเมล
2. เลือก  show original ของอีเมลที่ส่งสัยว่า delay
3. คัดลอกส่วนบน ๆ ของ header
4. นำที่คัดลอกไปวางในช่องบริการของเว็บไซต์ข้างล่างนี้
https://toolbox.googleapps.com/apps/messageheader/

5. จะเห็นว่า email ของเรา วิ่งไปยัง smtp ตัวใด และตัวใดทำให้เกิด delay
แต่นี่เป็นระบบอัตโนมัติ ส่งเมลแต่ละครั้งเลือกเส้นทางไม่ได้นะครับ

นี่เป็นบริการวิเคราะห์ header ของ google.com เอง
พบว่าอีเมลตามภาพนี้ ช้าไป 13 ชั่วโมง สรุปว่าทำอะไรไม่ได้ครับ
แล้วแต่ดวงเลย เพราะทดสอบมาแล้วพบกรณี delay ดังนี้
1. ส่ง 3 ฉบับติดต่อกัน  ฉบับสุดท้ายอาจถึงก่อน ส่วนฉบับแรกอาจมาในวันรุ่งขึ้น
2. จะมี attach หรือไม่มีก็ไม่ใช่ประเด็น ช้าหรือเร็ว ไม่เกี่ยวกับ attach
3. ส่งเข้า mail group แต่ตอนไปถึงแต่ละคน ก็ถึงไม่พร้อมกัน
4. บางทีทดสอบ 10 ฉบับ ก็ไปถึง inbox ของเพื่อนในเวลา 3 นาที ทุกฉบับก็มี
สรุปว่าเป็นของฟรีที่คนใช้เยอะ และเราก็คุมไม่ได้ ที่ทำได้คือต้องทำใจครับ
อ้างอิงจาก
http://www.labnol.org/internet/email-delivery-delayed/25922/

google.com อธิบายเรื่องนี้ พร้อมให้ตัวเลขมาด้วยว่า
ปัญหานี้จะเกิดแค่ 29% อีก 71% ไม่พบปัญหา
เพราะพยายามกันเต็มที่แล้ว
เฉลี่ยแล้ว delay 2.6 วินาที
และมี 1.5% ที่ delay เกิน 2 ชั่วโมง
Posted: Tuesday, September 24, 2013
http://gmailblog.blogspot.com/2013/09/more-on-gmails-delivery-delays.html

อุปกรณ์สวมใส่คือความหวังใหม่ (itinlife430)

google glasses
google glasses

อุปกรณ์สวมใส่คือความหวังใหม่ (itinlife430)

อุปกรณ์ที่มีจอภาพแบบพกพามีขนาดเล็กลง และพัฒนาดีขึ้น เป็นคำพูดที่เป็นจริงในปัจจุบัน จอภาพยุคแรกจะเป็นจอสีเดียว แล้วเพิ่มให้มีสีได้นับร้อยสี ปัจจุบันจอภาพที่มีสีเสมือนจริงลดขนาดมาอยู่ในมือเราแล้ว ในอดีตเมื่อถ่ายรูปแล้วต้องไปร้านอัดรูปจึงจะเห็นภาพที่มีสีได้ชัดเจน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการมีอัลบั้มภาพที่บ้านก็ลดลง เพราะสามารถดูรูปภาพได้จากอุปกรณ์พกพาได้อย่างรวดเร็ว แบ่งปันให้เพื่อนในอินเทอร์เน็ตดูได้ และคัดลอกได้เท่าที่ต้องการ พนักงานขายยุคใหม่เลือกถือแท็บเล็ตพีซีไปพบลูกค้าแล้วนำเสนอภาพ หรือคลิ๊ปวีดีโอสินค้า หรือแชร์ข้อมูลไปยังอุปกรณ์ของลูกค้าได้ทันที

มีความหวังว่าอุปกรณ์ยุคต่อไปจะเป็นอุปกรณ์แบบสวมใส่ (Wearable Device) ซึ่งมี 2 แบบที่โดดเด่น คือ แว่นตา และนาฬิกา ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะพัฒนาให้ใช้งานได้จริง สำหรับกลุ่มผู้พัฒนานาฬิกาได้พยายามอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2551 มีข่าวว่านักเรียนทุจริตโอเน็ตโดยใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เป็นนาฬิกาข้อมือ ปัจจุบันอุปกรณ์สวมใส่แบบนาฬิกาสามารถถ่ายรูป และสามารถส่งข้อมูลแบบบลูทูช (Bluetooth) หากจะส่งข้อมูลระหว่างกันก็สามารถทำได้ง่าย ตำรวจสายลับ (Spy) ก็อาจใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บภาพหลักฐานได้เช่นกัน

สำหรับแว่นตาของกูเกิ้ล (Google Glasses) ที่เปิดตัวในปี 2012 พบว่ามีความสามารถมากมาย ทั้งถ่ายภาพ แชร์ภาพ แสดงแผนที่ บอกเส้นทาง ระบุตำแหน่งของผู้สวมใส่ บอกข้อมูลสภาพอากาศ รับส่งอีเมล สั่งงานด้วยเสียง และทำตารางนัดหมาย สำหรับการจำหน่ายแว่นตากูเกิ้ลที่อาจจะมาแทนสมาร์ทโฟน (Smart Phone) คาดว่าจะมีวางจำหน่ายรุ่นที่สองในปี 2014 เพราะจากการทดสอบรุ่นแรกที่วางจำหน่ายในอเมริกาประมาณพันห้าร้อยดอลล่าร์ ก็มีข้อมูลมาปรับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ส่วนคู่แข่งที่อาจพัฒนาแว่นตากีฬาไฮเทคมาแข่งขันก็จะเป็นของซัมซุง (Sports Glasses of Samsung) ที่มีลักษณะเป็นแว่นสองเลนส์ให้ทำงานคู่กับสมาร์ทโฟน อนาคตของอุปกรณ์สวมใส่จะเป็นอย่างไรก็คงได้เห็นแนวโน้มในเร็ววันนี้

http://www.ebay.com/bhp/spy-camera-watch-cell-phone

http://men.kapook.com/view57148.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Turing_test

การแบ่งปัน private clip ให้กับสมาชิก

ระบบ e-learning
ระบบ e-learning

เตรียมคลิ๊ปไว้สอนนักศึกษาในหลาย playlist
ฝากไว้กับ youtube.com และเป็นคลิ๊ปที่ไม่เปิดเผยให้ใครดู
นอกจากนักศึกษา หรือกลุ่มเพื่อนสนิทเท่านั้น
จึงใช้บริการของ youtube.com ร่วมกับ google+

โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. upload clip ทั้งหมดเข้าไป
2. จัดทำ playlist และกำหนด playlist เป็น public
3. อาจารย์สมัครเข้า google+
4. สร้าง circle ขึ้นมา 1 วง
5. กำหนดให้แต่ละคลิ๊ปเป็น private
6. กำหนดให้คนที่ดูได้มีเฉพาะคนใน circle เท่านั้น
7. แจ้งนักศึกษาให้สมัคร gmail.com และ google+
8. ให้นักศึกษาขอเป็นเพื่อนกับ xxx@gmail.com
หรือ https://plus.google.com/104567804820940218434/posts
9. อาจารย์เพิ่มนักศึกษาเข้า circle
10. นักศึกษาสามารถดู clip ในแต่ละ playlist ได้

คลิ๊ปวีดีโอส่วนตัว
คลิ๊ปวีดีโอส่วนตัว

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.601047613242707.144516.506818005999002

ใช้ recaptcha ของ google ก็น่าจะ ok แต่ไม่เป็นเช่นนั้น

captcha ของ bumblebeeware ด้วย cgi
captcha ของ bumblebeeware ด้วย cgi


5 ส.ค.56
ผมมีเครื่องบริการอยู่ตัวหนึ่งเป็น linux บริการ php 4.4.9 ก็ใช้มาหลายปีแล้วนะครับ ส่วนภาษา perl เป็นรุ่น 5.8.8 แล้วตอนนำ recaptcha ของ google มาใช้กับภาษา php ทำโดยเพิ่มแฟ้มของ php จำนวน 1 แฟ้มเข้าเครื่องบริการก็สามารถใช้บริการได้ปกติ โดยทดสอบ recaptcha ที่ทำงานด้วย php ที่
http://www.thaiall.com/captcha.php

แต่ระบบต่าง ๆ ในเครื่องบริการที่เขียนด้วย perl ตั้งแต่ปี 2542 นั้น ยังไม่ได้ติด captcha เพื่อป้องกัน bot จึงนำ recaptcha มาติดตั้ง แต่พบว่ารุ่นของ perl ที่ใช้อยู่ในเครื่องบริการ ไม่รองรับคำสั่งแบบใหม่ที่ต้องใช้ use module สำหรับหัวข้อปัญหาคือ recaptcha ของ google กับ perl อยู่ร่วมกันไม่ได้ ที่ผมพบ คือ เครื่องบริการไม่ได้อัพเกรดรุ่นของ perl เป็นรุ่นใหม่ ทำให้ใช้กับ module ใหม่ของ recaptcha ไม่ได้ หากย้ายเครื่องบริการหรือเปลี่ยนรุ่น perl ก็ไม่ได้ เพราะมี script เก่า ๆ ทำงานอยู่เพียบเลย

สรุปว่าใช้ script ของ bumblebeeware ซึ่งเป็น cgi ที่เขียนด้วย perl ที่ทำงานบน 5.8.8 ได้ ซึ่ง script ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ form.cgi ทำหน้าที่แสดงตัวอักษร 4 ตัวให้ดูแล้วก็พิมพ์ตาม จากนั้นก็จะให้ captcha.cgi ทำหน้าที่แสดงตัวอักษรกราฟฟิกที่ได้จากการสุ่ม (random) แล้วส่งผลให้ check-captcha.cgi ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าที่กรอกเข้ามานั้นตรงกันหรือไม่
โดยเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมที่
http://bumblebeeware.com/captcha/
แล้วดาวน์โหลดแฟ้มที่เกี่ยวข้องที่
http://bumblebeeware.com/downloads/captchaforperl.tar.gz
แล้วผมก็ทดสอบฟอร์มไว้ที่
http://www.thaiall.com/captcha/form.cgi
บริการ recaptcha ของ google
http://www.google.com/recaptcha

ทดสอบ chart ของ google พบว่าแสดงภาษาไทยได้ปกติ

ทดสอบ google chart ผ่าน code playground
พบว่า chart ของ google สามารถแสดงภาษาไทยได้ปกติ
แต่ต้องแก้ไขแฟ้มให้เป็นแบบ UTF-8
google chart
google chart
วิธีแรก โดยการคัดลอก code ของเขามาวางในเครื่องของเราตรง desktop
แล้วเรียกใช้แฟ้มผ่าน folder ปกติ ไม่ได้ผ่าน web server
เพราะ code เป็น javascript ที่เรียกภาพโดยตรงจาก google server
วิธีที่สอง ทดสอบบน editplus แล้ว View in Browser
สิ่งที่ต้องแก้ไขในทั้ง 2 วิธีคือ กำหนด Encoding ของ document
เป็น UTF-8 ก็จะแสดงภาษาไทยได้ ดังภาพ
เปรียบเทียบขนาดของแฟ้ม
ที่ save ต่างรูปแบบ พบว่าไม่ต่างกันนัก
– แฟ้มแบบ UTF-8 ใช้เนื้อที่ 1564 Bytes
– แฟ้มแบบ Plain Text ใช้เนื้อที่ 1493 Bytes

questionnaire form by google docs

รวมภาพการใช้งาน google docs
ในส่วนของ questionnaire form เพื่อสร้างแบบสอบถาม
โดยใช้เพลงดั่งดอกไม้บาน เป็น background song

คลิ๊ปนี้ผมไม่ได้ใช้เสียงพูด เพราะดูเนื้อหาแล้ว น่าจะเข้าใจได้ง่าย
และใช้วงกลมสีแดงสื่อให้รู้ว่าคลิ๊กตรงไหนบ้าง .. ก็น่าจะเห็นภาพแล้ว

หลุมทราย (Sandbox) คืออะไร

หลุมทราย (Sandbox) หรือ Sandbox  Effect เป็นกลไกการกรองเว็บไซต์ที่ Google.com พัฒนาขึ้น  เพื่อลบเว็บไซต์ออกจากผลการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่สมควรติดอันดับ ซึ่งผลการจัดอันดับมาจากการค้นหาด้วยคำสำคัญต่าง ๆ

เหตุที่ติดในหลุมทราย เพราะเป็นเว็บไซต์หรือโฮมเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ล่มประจำ เว็บไซต์เกิดใหม่ เว็บไซต์เปลี่ยนเอ็นจิ้น เปลี่ยนลิงค์ ย้ายโฮส หรืออื่น ๆ สำหรับคุณภาพ หรือค่าระดับของเว็บไซต์ที่ google.com ประเมินไว้ แสดงออกมาเป็นค่า pagerank หรือ pr ซึ่งตรวจสอบได้ที่ http://www.prchecker.info/

หากหลุดจากหลุมทราย ก็จะถูกค้นพบในผลการสืบค้น คลิ๊กคำว่า แคช (cache) ก็จะพบเวลาว่า robot เข้าเว็บไซต์ของเราเมื่อใด แล้วแต่ละหน้าก็เข้าไม่พร้อมกันนะครับ เพราะ robot มีการตั้งเวลาว่าจะเข้าเว็บไซต์ใดบ่อยเพียงใด และบ่อยไม่เท่ากัน อาทิ เว็บไซต์ข่าวก็จะเข้ากันชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าที่ปรับข้อมูลเดือนละครั้ง ก็อาจเข้าเดือนละครั้งเช่นกัน
http://www.makewebeasy.com/article/sandboxeffect.html

ภาพนี้เป็นช่วงหนึ่งที่ตามโฮสตัวหนึ่งติดอยู่ในหลุมทราย
หลังจากนี้ก็จะไต่ pr ตามปกติ
16 มีนาคม 2556

sandbox effect in google.com
sandbox effect in google.com

บางคนว่าเกรดนั้นไม่สำคัญ แต่นายจ้างบางคนบอกว่าใช้เลือกคน

http://www.youtube.com/watch?v=sbDX-dcEqkg

มีผู้คนมากมายบอกว่าเกรดจากการเรียนหนังสือนั้นไม่สำคัญ
สิ่งสำคัญคือความรู้ที่ได้รับระหว่างเป็นนักศึกษา และการปรับตัวในสังคมหลังสำเร็จการศึกษา
แต่เกรดเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ผู้ประกอบการบางคน ให้โอกาสในการทำงาน
โดยใช้พิจารณาเลือกรับเข้าทำงาน
เพราะถ้าบอกว่าได้ 3 กว่า ย่อมได้รับโอกาสให้เข้าไปทำงาน มากกว่าคนที่ได้ 2 นิด ๆ
ดังนั้นหากรู้ตัวสักนิดว่าตอนนี้เรียนแล้วได้เกรดอย่างไรบ้าง .. ก็น่าจะช่วยได้บ้าง

Perl source code
$fm = join “”, “https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:”
,  $gda , “,” ,  $gdbp , “,” ,  $gdb , “,” ,  $gdcp , “,” ,  $gdc , “,”
,  $gddp , “,” ,  $gdd , “,” ,  $gdf
, “&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p&chl=A ”
,  $gda , “|B%2B ” ,  $gdbp , “|B ” ,  $gdb , “|C%2B ” ,  $gdcp , “|C ” ,  $gdc , “|D%2B ” ,  $gddp , “|D ” ,  $gdd , “|F ” ,  $gdf , “&chdl=A ” ,  $gda , ” : ”
, substr($gda/$tgd*100,0,4) ,  “% |B%2B ” ,  $gdbp , ” : “, substr($gdbp/$tgd*100,0,4)
, “% |B ” ,  $gdb, ” : “, substr($gdb/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C%2B ‘ ,  $gdcp , ” : ”
, substr($gdcp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |C ‘ ,  $gdc , ” : “, substr($gdc/$tgd*100,0,4)
, ‘% |D%2B ‘ ,  $gddp , ” : “, substr($gddp/$tgd*100,0,4)  , ‘% |D ‘ ,  $gdd , ” : ”
, substr($gdd/$tgd*100,0,4)  , ‘% |F ‘ ,  $gdf , ” : “, substr($gdf/$tgd*100,0,4)
, ‘%’;
print “<iframe width=’760′ height=’450′ src='”,  $fm , “‘></iframe>”;

output in URL
https://chart.googleapis.com/chart?chs=700×400&chd=t:4,1,2,6,1,2,0,0
&chco=00FF00|00AA00|004400|0000FF|8888FF|FFFF00|FF4444|FF0000&cht=p
&chl=A%204|B%2B%201|B%202|C%2B%206|C%201|D%2B%202|D%200|F%200
&chdl=A%204%20:%2025%%20|B%2B%201%20:%206.25%%20|B%202%20:%2012.5%%20
|C%2B%206%20:%2037.5%%20|C%201%20:%206.25%%20|D%2B%202%20:%2012.5%%20
|D%200%20:%200%%20|F%200%20:%200%

grade classification
grade classification

รวมคลิ๊ปโครงการกรุงเทพฯ สีขาว
http://www.mcot.net/site/streaming?id=50ce975e150ba01f1e000382&type=video#.UNHLna55dwj

Google ไดรฟ ใช้เป็นเครื่องมือทำงานร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาเว็บไซต์ได้

wire frame
wire frame

ด้วย Google ไดรฟ์ คุณจะสามารถสร้าง แชร์ และเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นการระดมความคิดจัดทำเนื้อหาเว็บไซต์ แชร์ไฟล์รูปภาพกับนักออกแบบของคุณ หรือสร้างแบบร่างไวร์เฟรมใหม่ (WireFrame = screen blueprint) ล้วนสำเร็จได้ใน “ไดรฟ์” และคุณยังสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้จากทุกที่ ผ่านอุปกรณ์สื่อสารอันหลากหลาย ไม่ว่าขณะท่องเว็บ อยู่บ้าน ที่ทำงาน หรือทำธุระนอกสถานที่
+ http://adsense.blogspot.com/
+ http://www.fivetechnology.com/blog/2008/10/01/web-design-process-a-focus-on-wireframes-layout/

ปฏิทินของจีเมล

nationu calendar
nationu calendar

ปฏิทินของ @gmail.com หรือ @yourorganization.com
เป็นระบบช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่ม
สมาชิกทราบตารางการทำงานของกันและกัน หรือของหัวหน้า
หากนำไปใช้ในองค์กร ผ่าน domain name ขององค์กร
ก็จะช่วยให้การทำงานของสมาชิกองค์กรสะดวกสบาย
ยังมีบริการที่เรียกว่า google apps อีกหลายประเภท

กรณีของมหาวิทยาลัยบางแห่ง บุคลากรของมหาวิทยาลัย
สามารถค้น และเปิดปฏิทินของเพื่อนในองค์กรได้
ถ้าเจ้าของปฏิทินให้สิทธินั้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/google/