คำแนะนำเรื่องการบริการวิชาการ ของรศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์

รศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์
รศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์

จากการฟัง ดร.เอกชัย แล้วนำมาเรียบเรียง
พบว่าความหมายของนิยาม 3 คำที่ใกล้เคียงกัน
ของคำว่า “เผยแพร่ ถ่ายทอด และให้ความรู้”
ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะตอบคำทั้งสามนี้ได้อย่างถูกต้อง
นำมาเรียบเรียงได้ ดังนี้
1. เผยแพร่ (broadcast)
คือ การทำให้คนทั้งภายใน และภายนอกได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร
สามารถเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ก็ได้
2. ถ่ายทอด (Communicate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างชัดเจน
อาจดำเนินการโดยการจัดประชุมสัมมนา และมีการลงทะเบียนชัดเจน
3. การให้ความรู้ (Educate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ
อาจดำเนินการโดยการจัดอบรม หรือเปิดเป็นหลักสูตรที่มีการประเมินผล
ว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปได้มากน้อยเพียงใด

อีก 2 คำที่ท่านให้ความหมายไว้คือ
1. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการวิจัย
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับวิจัยแล้ว
ก็น่าจะมีผลงานเหล่านั้นปรากฎในรูปบทความวิชาการ (Paper)
ที่เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับทราบ
เช่น ไปบริการวิชาการและนำประเด็นมาทำวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายที่เคยบริการ
จนได้ผลงานที่นำไปเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ หรือวารสารได้
2. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับการเรียนการสอนแล้ว
ก็น่าจะได้เอกสารประกอบการสอนที่สามารถนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย (Handbook)
หรือได้ประโยชน์ทั้งชุมชน และนักศึกษาไปพร้อมกัน

จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา

handbook
handbook

จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา ในคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
advisor handbook of yonok university
ของมหาวิทยาลัยโยนก มีดังนี้

1. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพและสิทธิประโยชน์ของนักศึกษา
โดยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่นักศึกษาอย่างไม่เป็นธรรม
2. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องรักษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา
ในความดูแลให้เป็นความลับ
3. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องพยายามช่วยเหลือนักศึกษาจนสุดความสามารถ
หากมีปัญหาใดที่เกินความสามารถที่จะช่วยเหลือได้ก็ควรดำเนินการส่งนักศึกษา
ไปรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
4. อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือมหาวิทยาลัย
ให้นักศึกษาฟังในทางที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลหรือมหาวิทยาลัย
5. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้มีความประพฤติที่เหมาะสมตามจรรยาแห่งวิชาชีพ
และมีศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
6. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ในการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษา
ในความดูแลทุกคนด้วยความเสมอภาค
7. อาจารย์ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

เอกสารประกอบการอบรม
เอกสารประกอบการอบรม

มหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ และอ.วราภรณ์ เรือนยศ
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557
โดยมี ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ เป็นวิทยากรให้ความรู้
ก่อนบรรยายมีการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
และหลังบรรยายมีการทดสอบหลังเรียน (Post-test)
โดยมี อ.เกศริน อินเพลา ได้คะแนนสูงสุดร่วมกับ อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ
เนื้อหาเน้นให้เข้าใจเงื่อนไขข้อกำหนดของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
และแบ่งปันกระบวนการที่ท่านได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้

การขอตำแหน่งทางวิชาการนอกจากอายุการสอนแล้ว
ยังต้องมีเอกสารประกอบการสอน ตำรา งานวิจัย บทความวิชาการ
ซึ่งรายละเอียดในแต่ละตำแหน่ง ก็จะแตกต่างกันไป
ทั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งศึกษาได้จากเอกสารที่สำนักวิชาการ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

ดาวน์โหลดคู่มือการศึกษาได้แล้ว

คู่มือการศึกษา
คู่มือการศึกษา

16 ก.ค.53 คุณอรรถชัย เตชะสาย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณเรณู อินทะวงค์ งานมาตรฐานหลักสูตร และการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยโยนก ทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการเพื่อจัดทำคู่มือการศึกษาให้ นักศึกษา Creative ได้ใช้เป็นคัมภีร์ในการวางแผนการเรียนของตนเองตลอด 4 ปี เป็นเสมือนแผนที่นำทางให้นักศึกษาได้ใช้วางแผนการเรียนร่วมกับหัวหน้าสาขา และถ้ามี เหตุให้ผลการเรียนสะดุด จนแผนการเรียนต้องเปลี่ยน อาจารย์ที่ปรึกษาก็จะช่วยเหลือใน การวางแผนการเรียนให้นักศึกษาแต่ละคนอย่างเหมาะสม .. คู่มือนี้จึงเสมือนเข็มทิศ ของนักศึกษา Creative ยามต้องออกทะเลไปหาปลาตัวโตเพื่อประทังชีวิต สรุปว่าดาวน์โหลดได้แล้วในรูป PDF + http://www.yonok.ac.th/intranet