การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้

พบว่า พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้

ดีเจมะตูม จัดงานปาร์ตี้วันเกิด ณ บริเวณโรงแรมบันยันทรี เขตสาทร

ดีเจมะตูม จัดงานปาร์ตี้วันเกิด เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2564 ที่ถือว่าเป็นกรณีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายในการจัดงานปาร์ตี้วันเกิด ที่มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
– https://mgronline.com/crime/detail/9640000009485
– https://www.hfocus.org/content/2021/01/20960
– https://www.prachachat.net/general/news-604573

https://www.thairath.co.th/news/crime/2035735

ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จึงทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักอนามัยมัยกรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยเห็นว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ(พรบ.)โรคติดต่อ พ.ศ.2558 รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ดังนี้
1.ความผิดฐานขัดขวาง ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 55 แห่ง พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
2.ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ตามมาตรา 37 กฎหมายอาญา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3.สถานที่ใช้จัดงานเลี้ยงอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงแพร่โรค ไม่มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
4.บุคคลที่ร่วมงานเลี้ยงก็อาจเข้าข่าย ฝ่าฝืนการห้ามทำกิจกรรม มั่วสุมในสถานที่แออัด ในข้อกำหนดมาตรา 9 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำและปรับ

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1
https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/001_1gcd.PDF