คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ ของรศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

หมออำนาจ หรือ  รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
ได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ไว้ถึง 2 เวที
แล้วได้เรียบเรียงมาเป็นข้อพึงระวังในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ไว้ดังนี้
1. การทำแผนกลยุทธ์ต้องนั่งคุยกันหลายคน  (Real participation)
และหลายครั้ง ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้ได้ประเด็นจากหน่วยต่าง ๆ อย่างครบถ้วน และเข้าใจถูกต้องตรงกัน
2. ในแผนกลยุทธ์ก็ต้องกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ให้ชัดเจน (Numeric indicator)
ควรเป็นตัวเลขจะได้วัดง่าย และกำหนดแต่ละปีจะได้เห็นพัฒนาการ
ว่าปีแรกทำเท่าไร ปีที่สองเท่าไร และเมื่อถึงปีสุดท้ายทำได้เท่าใด
3. การทำแผนปฏิบัติการก็ต้องล้อกันกับแผนกลยุทธ์ (Check & action)
ว่าปีนี้ทำแค่ไหน ปีต่อไปทำแค่ไหน และมีการประเมินผลความสำเร็จในแต่ละปี
ตามแผนปฏิบัติการ และแผนกลยุทธ์
เป็นวงจร Plan Do Check and Action
4. วิสัยทัศน์อยากเห็นอะไร (Follow on vision & mission)
ก็ต้องอยู่ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
ถ้าไม่เขียนไว้ก็จะไม่มีงบประมาณมาดูแลให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์
ประเด็นพันธกิจก็ต้องชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนเวลาตั้งงบก็จะไม่ชัดเจนไปด้วย
5. แผนกลยุทธ์ทางการเงินต้องมีกลยุทธ์สอดรับกับแผนกลยุทธ์ (Budget in plan)
และมีการจัดสรรงบประมาณให้กับแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ตามแผนงบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรไปกันคนละทิศละทาง

ตัวชี้วัดกับผลงานการปฏิบัติงาน

18 มี.ค.54 ในการทำข้อตกลงภาระงาน หรือรายงานการปฏิบัติงาน มีช่อง “ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์” ซึ่งมีช่องย่อย 2 ช่องที่มักถูกนำมาพูดคุย คือ ตัวชี้วัด และผลงาน ผู้ปฏิบัติงานมักสอบถามว่าจะใส่อะไร  ก็มีตัวอย่างจากการประกันคุณภาพการศึกษาว่า ตัวชี้วัดนั้นต้องนับได้ ส่วนผลงานก็คือผลที่ทำได้ ซึ่งเป็นค่าที่นับได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
1. สอนหนังสือ ตัวชี้วัด 3 วิชา ผลงาน 3 วิชา
2. รับนักศึกษา ตัวชี้วัด 20 คน ผลงาน 19 คน
3. โครงการสะเปาบก ตัวชี้วัด 3 ชั่วโมง ผลงาน 5 ชั่วโมง
4. อบรมอบต.บ้านดง ตัวชี้วัด 3000 บาท ผลงาน 2500 บาท
5. จัดทำเอกสารประกอบการสอน ตัวชี้วัด 2 วิชา ผลงาน 1 วิชา
6. ส่งเอกสารให้ผู้ปกครอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ผลงาน ร้อยละ 90
7. รับโทรศัพท์ ตัวชี้วัด วันละ 8 ชม. ผลงาน วันละ 8 ชม.
8. ผลประเมินคุณภาพระดับสาขา ตัวชี้วัด 3.51 ผลงาน 3.52
9. ผลประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ตัวชี้วัด 4.21 ผลงาน 4.30
10. การบริการวิชาการแก่ชุมชน ตัวชี้วัด 2 ครั้ง ผลงาน 3 ครั้ง

หนึ่งกิจกรรมตอบเกณฑ์ในตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา

วิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียน

31 ม.ค.54 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเครือข่ายการวิจัยในชั้นเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรมนี้ อ.เบญ ได้รับอนุมัติให้นำทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมเวทีในวันที่ 25 มีนาคม 2554 ซึ่งกิจกรรมนี้สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดที่ 2.8 ระบบกลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มี เกณฑ์ข้อที่ 5 คือ มีการสร้างเครือข่ายวิจัยด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอก ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ/หรือ ผลงานวิจัยในชั้นเรียนโดยการจัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งที่มีผลงานวิจัยและยังไม่มีผลงานวิจัย ได้ทำความรู้จัก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน .. เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา