การเขียน shell script บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod

การเขียน shell script
การเขียน shell script

เคยมีนักศึกษาสายไอที ถามมา
เพราะสายอื่นเค้าคงไม่ถามแบบนี้หลอก
คำถาม “มีสมาร์ทโฟน เอามาทำอะไรได้บ้าง
แล้วก็คิดได้ว่า โทรศัพท์ที่เค้ามีเป็น android os
สามารถติดตั้ง app เพิ่ม จาก Google play store ได้
งั้นตอบว่า “ใช้เขียน shell script ได้ ลองดูนะ
ไม่ต้องกังวลเรื่อง root ด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องทำ
แนะนำว่าต้องโหลดแอพ ดังต่อไปนี้
1. Terminal Emulator
2. Droidedit Free
3. ES File Explorer File Manager
4. Palapa Web Server
อันที่จริง ใช้แอพในข้อ 1 เป็นหลัก
ที่เหลือแนะนำว่า Developer ควรมีไว้ในเครื่อง

ขั้นตอนการเขียน shell script
บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod
1. โหลดแอพ Terminal Emulator
เพื่อเข้าไปจัดการกับ Script ผ่าน Shell บน Android
2. โหลดแอพ Droidedit Free
เพื่อเป็นอีดิเตอร์สำหรับเขียน Script บน Android
เพราะโหลดมาแก้ไข และ Save as ได้
3. สำรวจห้องที่จะเก็บ shell script
โดยใช้เครื่องมือ คือ Terminal Emulator
หรือ ES File Explorer File Manager ก็ได้
เข้าไปดูห้อง /mnt/sdcard
พบว่ามีห้องเก็บข้อมูลมากมาย
อาทิ ห้อง /mnt/sdcard/pws
ที่สร้างจากแอพ Palapa Web Server
4. เขียน Shell script บนแอพ Droidedit Free
แล้ว Save as ชื่อ test1 วางไว้ในห้อง /mnt/sdcard

#!/system/bin/sh
read x
echo $x

5. ใช้ Terminal Emulator สั่ง execute shell script
โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง chmod
เพราะใช้ไม่ได้และไม่จำเป็นต้องใช้
หากต้องการใช้ shell script ให้มีคำว่า sh นำหน้า
เช่น $sh test1

6. ตัวอย่าง รับค่าจากแป้นพิมพ์มาทดสอบ

#!/system/bin/sh
read x
echo $x
if [ “$x” == “1” ]
then
echo “one”
elif [ “$x” == “2” ]
then
echo “two”
else
echo “-”
fi

อธิบาย script ว่า
ถ้า execute แล้วเค้าหยุดถาม
หากกรอกเลข 1 จะพิมพคำว่า one ออกมา
หากกรอกเลข 2 จะพิมพคำว่า two ออกมา
หากกรอกอย่างอื่น จะพิมพคำว่า – ออกมา

แจกลิงค์สไลด์หนังสือด้านคอมพิวเตอร์ 13 บท แบบ PPS

รวมสไลด์ประกอบหนังสือ โดย วิโรจน์ ชัยมูล และสุพรรษา ยวงทอง
บริษัท โปรวิชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2558.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ISBN: 978-616-204-532-5

computer and it book
computer and it book

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
http://goo.gl/KptNHX
2. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
http://goo.gl/WWl2bf
3. ซอฟต์แวร์
http://goo.gl/fA9qz2
4. ฮาร์ดแวร์
http://goo.gl/eBGs3m
5. ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน
http://goo.gl/3LoYfR
6. ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
http://goo.gl/y5bXBT
7. การวิเคราะห์และการพัฒนาระบบ
http://goo.gl/g7JNTL
8. การเขียนผังงาน
http://goo.gl/IYxSb8
9. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://goo.gl/FgaQN6
10. อินเทอร์เน็ต
http://goo.gl/IgBokw
11. ข้อมูลและสารสนเทศ
http://goo.gl/IQ9e5V
12. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
http://goo.gl/guQDfm
13. จริยธรรมและความปลอดภัย
http://goo.gl/lGwat3

Official site
http://www.provision.co.th/index.php?page=shop.product_details&product_id=555&flypage=flypage.tpl&pop=0&option=com_virtuemart&Itemid=31

ภาพปกที่ผมมี 1 เล่ม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.10152593764617272.1073741865.350024507271/10153653486702272/

Google.com บริการหลายอย่าง บริการหนึ่งคือ URL Shortener
คือ การย่อ URL (Uniform Resource Locator) ให้สั้นลง
จะได้ใช้วางในสื่อสังคมได้ประหยัดพื้นที่
+ https://goo.gl
http://www.thaiall.com/google

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Disaster)

ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย
ขั้นตอนการปฏิบัติการตามวัฏจักรของสาธารณภัย

วัฏจักรของสาธารณภัย
1. เกิดสาธารณภัย
2. การตอบโต้และบรรเทาทุกข์
3. การฟื้นฟูบูรณะและก่อสร้างใหม่
4. การป้องกันและลดผลกระทบ
5. การเตรียมความพร้อมรับภัย

เล่าสู่กันฟัง
ว่าพบนิยามของ คำว่า ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology Disaster)
ในบทที่ 24 หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบ Hardware, Software, Network, Peopleware
แฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดความเสียหาย
และเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดผลกระทบ
และความเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิตของประชาชน

+ http://61.19.100.58/cpn/anewweb/Policy/Draft%20Cpn_DPM_Plan53-57.pdf

+ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/281685345315624/

คลังข้อมูลอุดมศึกษา สู่สารสนเทศอุดมศึกษา

information
information

30 พ.ค.56 เล่าสู่กันฟังว่า บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคลังข้อมูลอุดมศึกษา มีหน่วยงานที่พัฒนาระบบคือ กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามีข้อมูลที่ สกอ. นำไปเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป หลายระบบ ดังนี้

1. ระบบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
– ประโยชน์ต่อที่นักเรียน คือ สืบค้นหลักสูตรที่รับรองรับทราบแล้ว และค่าเล่าเรียน
และยังเปิดดูเนื้อหาในเล่มหลักสูตร และใช้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหลักสูตรใดสอนอะไร
– หน่วยงาน กยศ. และกรอ. ใช้เป็นฐานข้อมูลการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเพดานกู้ยืม
หากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรู้รับทราบจากคณะกรรมการ ทางกองทุนกู้ยืมก็ถือว่ายังไม่ผ่าน จะต้องรอก่อน
และ สกอ.ถือว่าฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว
– ข้างในมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินกู้ยืม และหลักสูตรมากกว่า 10 รายงาน
http://www.gotouni.mua.go.th

2. ระบบนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
ที่หน้าแรก แม้ไม่ login ก็สามารถเห็นสถิติการส่งข้อมูลของแต่ละสถาบันแล้ว
สถาบันใดส่งข้อมูลครบ 100% ก็จะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงตามลำดับ
เข้าไปดูได้ครับว่าสถาบันใดได้เหรียญรางวัลในความสมบูรณ์
สถาบันใดไม่ได้เหรียญ และสถาบันใดไม่ได้ส่งข้อมูล
http://www.data3.mua.go.th/dataS/

3. สารสนเทศอุดมศึกษา
เมื่อสถาบันการศึกษาส่งข้อมูลเข้าระบบในข้อ 2 ครบถ้วนแล้ว
ก็จะนำไปจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานสู่สาธารณะต่อไป
อาทิ จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษาใหม่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ทำให้นักศึกษา หรือสถาบัน หรือองค์กร นำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
http://www.info.mua.go.th/information/

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Information Technology)

จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Information Technology)
จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

25 มี.ค.55 หนังสือ จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย พนิดา พานิชกุล มีเนื้อหาแบ่งเป็น 9 บท มีประเด็น เรื่องจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ล้นหลามในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการ ตัดสินใจทางจริยธรรม จริยธรรมในวิชาชีพด้านไอที อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินทางปัญญา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คุณภาพของซอฟต์แวร์ และคุณภาพชีวิต ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื้อหาเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้อ่านรู้จักแง่มุมอื่นที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นแง่มุมที่ผู้อ่านไม่เคยให้ความสนใจมาก่อน ทั้งที่อยู่รอบตัวเรามากมาย และอาจช่วยให้ผู้อ่านรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตมากขึ้น

บทที่ 1 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 2 จริยธรรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและผู้ใช้ไอที
บทที่ 3 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
บทที่ 4 ความเป็นส่วนตัว
บทที่ 5 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา
บทที่ 7 คุณภาพของซอฟต์แวร์
บทที่ 8 คุณภาพชีวิต
http://www.ktpbook.com/product/ProductDetail.asp?Id=9786167396057
http://www.thaiall.com/me/book.php

จากความหมายของสารสนเทศที่ว่า
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ทรัพยากรหนึ่งที่จำเป็นต่อการบริหารในองค์การ จึงต้องมีการจัดสรร จัดการอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกขององค์การ

ทำให้นึกถึงเรื่อง ปัญหาการขาดทักษะด้านไอทีของคนไทย ที่เป็นปัญหานำโด่งคู่ไปกับทักษะภาษาอังกฤษ
http://www.thaiall.com/blog/burin/4063/
การมองคำว่า จริยธรรม .. รู้สึกว่าริบ ๆ ยังไงชอบกล เพราะทักษะยังต้องพัฒนาอีกมาก

Thais face challenges getting Asean jobs

http://www.nationmultimedia.com/national/Thais-face-challenges-getting-Asean-jobs-30177727.html

ผลกระทบจากการกด like ส่งเดช

Like & Dislike
Like & Dislike

การกด Like ใน Fan Page จำนวนมาก อาจจะทำให้คนคนหนึ่ง หรือพนักงานคนหนึ่งเสียเวลาในการอ่านความเป็นไป และรายละเอียดหน้า News Feed มากขึ้น ในเชิงเศรษฐศาสตร์ถือว่าพฤติกรรมส่วนนี้ทำให้เสียเวลาในการทำงานที่มีจำกัด และเป็นเวลาที่น่าจะสร้างผลประโยชน์แก่ตัวเองและองค์กรไป แต่เจ้าของกิจการอาจจะต้องมีมาตรการควบคุมพฤติกรรมการเล่น facebook ให้เป็นช่วงเวลา แต่ถ้าไม่เปิดโอกาสให้เล่นเลยก็คงไม่ใช่ข้อดีเช่นกัน เพราะไอเดียสร้างสรรค์ แนวคิด และกลยุทธ์ใหม่ๆ บางครั้งหาใน facebook ง่ายกว่าค้นหาผ่าน Google และเดินหาหนังสือตามร้านหนังสือมานั่งอ่าน ดังนั้นส่วนหนึ่งก็คือความรับผิดชอบของตัวผู้ใช้งาน หรือพนักงานที่จะปรับพฤติกรรมการเล่น facebook และเลือกกด Like ให้พอดี ที่อาจจะมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจุดเล็กๆ ไม่สำคัญแต่ใครจะรู้ว่า ปฏิกิริยาที่พูดมาข้างต้นของพฤติกรรมที่เกิดหลังการกด Like นั้นเป็นความจริง
ผลกระทบอีกเรื่องของการกด Like เป็นจำนวนมาก ทั้งจำเป็น และไม่จำเป็นนั่นคือปัญหาของ ข้อมูลที่ท่วม News Feed ของพวกเรา หรือที่เรียกว่า “Information Overload” การรับข่าวสารมากจนเกินไป จนพลาด และไม่สามารถแยกแยะข่าวสารที่จำเป็นที่สุดของเราออกมาจากกลุ่มข่าวสารได้ พึงคิดไว้ว่าประสิทธิของข่าวสารของคุณที่มีประโยชน์กับคุณจริงๆ นั้นจะปรากฏได้ชัดเจนที่สุด และได้จังหวะที่สุดก็ต่อเมื่อคุณเลือกที่จะรับข่าวสารแต่น้อย และพอประมาณ

จัดอันดับ Like ของ Fan page 2011
อันดับที่ 10 ได้แก่ O:IC มี Fan page กว่า 217,925 คน
อันดับที่ 9 ได้แก่ สมาคมมุขเสี่ยวๆ มี Fan page กว่า 219,537 คน
อันดับที่ 8 ได้แก่ Groove Riders มี Fan page กว่า 225,713 คน
อันดับที่ 7 ได้แก่ Boyd Kosiyabong มี Fan page กว่า 229,772 คน
อันดับที่ 6 ได้แก่ ARAYA A. HARGATE มี Fan page กว่า 252,601 คน
อันดับที่ 5 ได้แก่ dtac internet มี Fan page กว่า 256,603 คน
อันดับที่ 4 ได้แก่ TATTOO COLOUR มี Fan page กว่า 259,212 คน
อันดับที่ 3 ได้แก่ Singular มี Fan page กว่า 277,285 คน
อันดับที่ 2 ได้แก่ ชิงร้อยชิงล้าน มี Fan page กว่า 296,467 คน
อันดับที่ 1 ได้แก่ GTH มี Fan page กว่า 306,462 คน

Fan page ของ มหาวิทยาลัยในไทย
http://www.facebook.com/DPU2511
http://www.facebook.com/nationunews
http://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity
http://www.facebook.com/Uthammasat
http://www.facebook.com/mahidol
http://www.facebook.com/kkuthailand
http://www.facebook.com/SPUFriend
http://www.facebook.com/assumptionuniversity
http://www.facebook.com/LampangRajabhatUniversity
http://www.facebook.com/rangsituniversity
http://www.facebook.com/SAUnews
http://www.facebook.com/KasetsartUniversity
http://www.facebook.com/SilpakornU
http://www.facebook.com/bangkokuniversity
http://www.facebook.com/MaejoUniversity
http://www.facebook.com/sutnews
http://www.facebook.com/pages/mhawithyalay-nreswr/148222731854419
http://www.facebook.com/pages/PR-Ramkhamhaeng-University/206233619400008

http://www.thaistudentlink.com/beta/university/payup

http://www.daydev.com/social-media-for-business/546.html

http://fanpagelist.com/

http://www.ignitesocialmedia.com/facebook-marketing/top-50-branded-facebook-pages/

http://www.marketingoops.com/reports/metrix/top-20-facebook-fan-page-thai/

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้