การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

เกมสนุกและสร้างสรรค์ #puzzle #1

โค้ดเกมหากุญแจ ที่เขียนด้วย javascript ใน homepage นี้ มีวัตถุประสงค์ในการสุ่ม กุญแจ (key) และสร้างคำแนะนำ (hint) ทั้ง 5 ข้อ ให้กับผู้เล่นเกมได้ทายตัวเลข 3 ตัวที่ไม่ซ้ำกัน กรอกลงในช่อง 3 ช่องแบบไม่ซ้ำ แล้วกดปุ่ม check ถ้าทายถูกก็จะพบคำว่า “You Crack it.” แต่ถ้าทายผิดก็จะพบคำว่า “Try once again.”

ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีขั้นตอนที่ 1 คือ การกระตุ้นความสนใจ ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยการคำนวณชวนคิดอย่างมีจินตนาการ เพื่อตามหาตัวเลข 3 ตัว หรือตามหากุญแจที่หายไป จากลายแทงที่เตรียมให้ทั้งหมด 5 ลายแทงดังตัวอย่าง เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจ ก่อนเข้าสู่บทเรียนได้เป็นอย่างดี สำหรับ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL = Creative-Based Learning)

What is the key?


ซึ่ง CBL ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Interested) ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหารายบุคคลและกลุ่มตามความสนใจ (Problem) ขั้นตอนที่ 3 ค้นคว้าและทดลอง (Search and Test) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลงาน (Result) ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผล (Conclusion) พบว่า เวทิสา ตุ้ยเขียว สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และ อัญชลี สิริกุลขจร (2563) ศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งผลการวิจัยมีแนวทาง 5 ขั้นตอน อ้างอิงจาก Luachaiphanit, W. (2015). Creativity-Based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University,1(2), 23-37. [in Thai]

https://www.thaiall.com/php/whatisthekey.htm

แรงบันดาลใจ กับแรงจูงใจ

แรงบันดาลใจ (Inspiration) กับแรงจูงใจ (Motivation)
คำว่า แรงบันดาลใจ  กับแรงจูงใจ ต่างกัน ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการกระทำ
แรงบันดาลใจ จะเป็นแรงขับจากภายใน
แรงจูงใจ จะเป็นแรงขับจากภายนอก

ยกตัวอย่าง
1. คนที่ขยันหนังสือที่สำเร็จ ส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจ
ไม่ได้มีแรงจูงใจจากเงินที่พ่อแม่ให้ค่าขนมมา
2. คนที่ขยันอ่านหนังสือสอบซ่อม มีแรงจูงใจ
เพราะอ่านหนังสือไปสอบซ่อม ก็จะได้รางวัลคือสอบผ่าน
3. ซุปเปอร์แมน และสไปเดอร์แมน ทำความดีช่วยเหลือผู้คน
เพราะมีแรงบันดาลใจ ใฝ่ดี อยากทำความดี อยากเห็นผู้คนมีความสุข
4. หนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก
นางเอกตั้งใจเรียน เพราะมีแรงจูงใจคือผู้ชายสุดหล่อเป็นรางวัล
5. หนังเรื่อง “inception
กลุ่มพระเอกจะเข้าไปสร้างแรงบันดาลใจ
ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างจากภายในใจของบุคคลเป้าหมาย
http://pattamarot.blogspot.com/2010/11/inspiration.html