วิศวกรไอที ตบเท้า ตกงาน เหตุทักษะไม่เพียงพอกับที่ตลาดปัจจุบันต้องการ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

จบวิศวกรไอทีอินเดีย “ตกงาน
ในปี 2017 ตกงาน 56,000 คน เพราะทักษะไม่ถึงเกณฑ์
เป็นตอนหนึ่งจากบทความใน brandinside.asia

ที่อินเดีย เป็นสวรรค์ของวิศวกรไอทีก็ว่าได้
เพราะตลาดไอทีมีมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์
(48 แสนล้านบาท หรือ 5 ล้านล้านบาท)
ในทางตรงข้ามกลับคาดว่าคนที่ทำงานด้านไอที
ที่มีทักษะต่ำถึงปี 2022 จะตกงานกว่า 700,000 คน

ผลวิเคราะห์ปัญหาพบว่ามีสิ่งที่เข้าคุกคาม
สวรรค์ของเหล่าวิศวกรไอที มาจากสาเหตุ ดังนี้
1. จ้าง outsource
2. ทักษะไม่พอกับที่ตลาดปัจจุบันต้องการ
3. นโยบาย America First ของ โดนับ ทรัมป์

ส่วนประเทศไทย กระแสปัญหาการจ้างงานคนไอที
ก็มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
แม้จะมีนโยบาย Thailand 4.0 ก็ตาม
คำสำคัญที่ถูกนำมาพูดถึงเสมอ คือ ทักษะ เช่นเดียวกับที่อินเดีย

อ่านเพิ่มเติม
https://brandinside.asia
https://qz.com/1152683/
https://qz.com/1166224/
http://www.livemint.com

แจกลิงค์สไลด์หนังสือด้านคอมพิวเตอร์ 13 บท แบบ PPS

รวมสไลด์ประกอบหนังสือ โดย วิโรจน์ ชัยมูล และสุพรรษา ยวงทอง
บริษัท โปรวิชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2558.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ISBN: 978-616-204-532-5

computer and it book
computer and it book

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
http://goo.gl/KptNHX
2. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
http://goo.gl/WWl2bf
3. ซอฟต์แวร์
http://goo.gl/fA9qz2
4. ฮาร์ดแวร์
http://goo.gl/eBGs3m
5. ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน
http://goo.gl/3LoYfR
6. ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
http://goo.gl/y5bXBT
7. การวิเคราะห์และการพัฒนาระบบ
http://goo.gl/g7JNTL
8. การเขียนผังงาน
http://goo.gl/IYxSb8
9. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://goo.gl/FgaQN6
10. อินเทอร์เน็ต
http://goo.gl/IgBokw
11. ข้อมูลและสารสนเทศ
http://goo.gl/IQ9e5V
12. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
http://goo.gl/guQDfm
13. จริยธรรมและความปลอดภัย
http://goo.gl/lGwat3

Official site
http://www.provision.co.th/index.php?page=shop.product_details&product_id=555&flypage=flypage.tpl&pop=0&option=com_virtuemart&Itemid=31

ภาพปกที่ผมมี 1 เล่ม
https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.10152593764617272.1073741865.350024507271/10153653486702272/

Google.com บริการหลายอย่าง บริการหนึ่งคือ URL Shortener
คือ การย่อ URL (Uniform Resource Locator) ให้สั้นลง
จะได้ใช้วางในสื่อสังคมได้ประหยัดพื้นที่
+ https://goo.gl
http://www.thaiall.com/google

เจ้าหน้าที่ไอทีใช้ MS Office ไม่เป็น

อ่านเรื่องราวที่้น้องผึ้งน้อยเขียนแล้วทำให้นึกถึงหลาย ๆ เรื่อง
เรื่องที่ 1 ตำรวจต้องจับงูเป็น ไล่ต่อแตนเป็น ปลูกผัก ต้องป้ำหัวใจ ฝายปอดได้
เรื่องที่ 2 ผู้บริหารต้องเป็นทั้ง leader และ manager และ labor และ actor และ hr และ pr ไปพร้อม ๆ กัน
เรื่องที่ 3 หมอต้องถอนฟันเป็น ทำคลอดได้ ฝังเข็มคล่อง ผ่าไส้ติ้งได้ อะไรทำนองนั้น
ก็เพียงแต่เก็บมาแชร์ครับ จากบอร์ดของพันทิพย์

it support  and ms office
it support and ms office


หัวข้อ “ปัญหาเจ้าหน้าที่แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กับความรู้การใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ
http://pantip.com/topic/30807700

สมัยผึ้งน้อยเริ่มทำงานใหม่ ๆ แล้วเรียกใช้เจ้าหน้าที่แผนกดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาการใช้งานไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ปรากฏว่า ถามอะไรไม่รู้สักอย่าง พอเรียกใช้งานก็บ่ายเบี่ยงไม่ว่าง พอสังเกตบ่อย ๆ พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้งานไมโครซอฟต์ออฟฟิศแบบขั้นเจาะลึก จนบางครั้ง ผึ้งน้อยต้องบ่นแรง ๆ ว่า เจ้าหน้าที่แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นที่พึ่งยามยากไม่ได้จริง ๆ และคาดคะเนว่าเป็นกับทุกองค์กร (ทั้งรัฐบาลและเอกชน)
สุดท้ายผึ้งน้อยต้องลงทุนไปเรียน หาอ่านตามเว็บ ลองเล่น สอบประกาศนีย Microsoft Office Specialist แล้วช่วยเหลือเพื่อนร่วมแผนก จนเจ้าหน้าที่ไอทีต้องมาถามกับผึ้งน้อยเรื่อยไป
ใครเคยมีประสบการณ์การเรียกใช้เจ้าหน้าที่ไอทีแล้วเป็นแบบผึ้งน้อย เชิญแบ่งปันค่ะ
ป.ล. ต้องขออภัยนะคะ ถ้ามีข้อความที่รุนแรงไป

ความหวังกับความจริงของคนเรียนไอที

ความหวังกับความจริงของคนเรียนไอที
IT student with hope and real world
IT student with hope and real world
เคยเห็นภาพชวนคิดแบบนี้ .. มาก่อน
แต่ครั้งนี้ต่างออกไป เพราะตัวเลขหลังจาก
9GAG in thai” upload ภาพได้เพียง 2 ชั่วโมง
ก็มีคนกดไลค์ไปถึง 16,669
ต้องมีที่มาที่ไปทำให้ผู้คนกดไลค์ ว่าอะไรคือแรงบันดาลใจ
ติดตามข้อมูลที่ยังวิ่งต่อไปได้ที่

ท้าทาย ศักยภาพของคนไทยที่จะได้งาน หลังเปิดประเทศ ในกลุ่มอาเซียน

lacking skill for workers
lacking skill for workers

ข้อมูลปี 2007 พบว่า ภาษาก็แย่ ไอทีก็หลงตัวเอง บวกลบก็ไม่เก่ง แล้วจะเอาอะไรไปสู้เขา เป็นความท้าทายศักยภาพของคนไทยที่จะได้งาน หลังเปิดประเทศ ในกลุ่มอาเซียน จึงเป็นประเด็นเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นของคนทำงาน (worker skill) ถ้าจะพัฒนาทักษะที่บกพร่องของคนไทย มีอะไรที่ต้องพัฒนาบ้าง จากข้อมูลกราฟ พบว่าใน 12 ประเด็น และมี 7 ประเด็นที่ผลสำรวจปี 2007 แย่กว่าปี 2004 (หมายถึง คนไทยพัฒนาถอยหลัง แย่ลง ถอยหลังนั่นเอง)
1. ภาษาอังกฤษ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การคำนวณตัวเลข
4. การสื่อสาร
5. การบริหารเวลา
6. การปรับตัว
7. การทำงานเป็นทีม

ส่วน 5 ประเด็นนี้พัฒนาขึ้นกว่าในอดีตนิดหน่อย
1. ความคิดสร้างสรรค์
2. ความเป็นผู้นำ
3. การแก้ปัญหา
4. การเข้าสังคม
5. ทักษะทางเทคนิค/ความเชี่ยวชาญ

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555
ซึ่ง อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย อ่านแล้วนำมาแบ่งปันใน group ของมหาวิทยาลัย

http://www.nationmultimedia.com/national/Thais-face-challenges-getting-Asean-jobs-30177727.html

มีประเด็นน่าสนใจดังนี้

Assoc Prof Patcharawalai Wongboonsin บอกว่าไม่ง่ายกับคนทำงานจากประเทศไทยที่จะเข้าไปแข่งขันหลังเปิดเสรีแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ปี 2015 โดยเฉพาะ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ที่ถูกใช้ในการสื่อสาร.. แม้จับมาฝึกอบรม แต่คนไทยส่วนใหญ่เป็นประเภท polite and not aggressive .. การเข้าไปแย่งงานในต่างประเทศ (ปัจจุบันมีประมาณ 250 ล้าน เมื่อเปิดประเทศน่าจะมีประมาณ 300 ล้าน) ก็คงไม่ง่าย แต่ถ้าจากประเทศอื่นเข้ามาแย่งงานคนไทย .. นี่สิปัญหาใหม่

Boonlert Theeratrakul บอกว่า คนทำงานไทยขาดทักษะสำคัญ 3 เรื่องคือ 1) ภาษาอังกฤษ 2) ทักษะด้านไอที และ 3) ทักษะเชิงตัวเลข

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc

ธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Governance) หมายถึง การกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร โดยผู้บริหารทุกภาคส่วนมีบทบาทหน้าที่ในการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมกำหนดกระบวนการของกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้อง

IT Governance Framework คือ กรอบกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการที่ดีทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง และเป็นองค์ประกอบของกระบวนการบริหารในการปฎิบัติตามแผนกลยุทธ์ เพื่อสร้างศักยภาพ และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร ควบคู่กันไปกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยง

IT Governance framework มีหลายมาตรฐาน อาทิ COBIT, ITIL, CMM/CMMI, COSO, ISO/IEC 38500, ISO/IEC 20000, ISO/IEC 27001, VAL IT

+ http://www.isaca.org/Knowledge-Center/COBIT/Pages/Overview.aspx
+ http://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=141&catid=28:cio-corner&Itemid=47

ได้รับพระพิฆเนศ และแบบสอบถามจากคุณกัลยา จึงเลือกประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้

ความหมายของ MIS

ความสำคัญของแหล่งข้อมูล และความสัมพันธ์ของระบบ

ไอที (IT = Information Technology) หมายถึง การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อแปลง จัดเก็บ ป้องกัน ประมวลผล ส่งถ่าย และรักษาความมั่นคงของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ทรัพยากรหนึ่งที่จำเป็นต่อการบริหารในองค์การ จึงต้องมีการจัดสรร จัดการอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกขององค์การ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือกระบวนการทำงาน
เอ็มไอเอส (MIS = Management Information System) หมายถึง คำที่มักใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อ้างอิงถึง เทคโนโลยี กระบวนการ ระบบ และผู้คน ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประมวลผลสารสนเทศ
ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction Processing Systems) หมายถึง ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ ที่ดำเนินการภายในองค์การโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนให้แต่ละวันปฏิบัติการไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
ระบบการจัดการรายงาน (MRS = Management Reporting System) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ออกแบบให้เกิดการรวบรวม ประมวลผล จัดเป็นระบบ และจัดทำรายงานตามตาราง ถูกใช้วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมการจัดการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีเพื่อช่วยแก้ปัญหา หรือนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System) หมายถึง ระบบเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยให้การทำงานร่วมกัน และติดต่อสื่อสารในสำนักงาน และภายนอกมีประสิทธิภาพสูงสุด
A management information system (MIS) is a subset of the overall internal controls of a business covering the application of people, documents, technologies, and procedures by management accountants to solve business problems such as costing a product, service or a business-wide strategy.
+ http://www.thaiall.com/mis/mis01.htm 
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Management_information_system