ผลประเมินการอบรมและวิพากษ์ข้อมูลพื้นฐาน

7 มิ.ย.53 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา มีเวทีที่จัดโดยงานประกันคุณภาพ อ.อัศนีย์ ณ น่าน และเป็นเสมือนการอบรมนักวิจัยในการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมไปพร้อมกัน พบว่า ผลประเมิน 5 คำถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X=3.96, S.D=0.65)
     โดยแบบสอบถามในครั้งนี้มุ่งสร้างการรับรู้แก่ผู้ร่วมวิพากษ์ โดยใช้คำถามนำที่มุ่งไปสู่การให้ความสำคัญกับหลักฐาน การรับรู้เรื่องข้อมูลพื้นฐาน การมีส่วนร่วมจากบุคลากร การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประกันคุณภาพ และการมติสำหรับการจัดอบรมเพิ่มเติม ซึ่งสรุปความคิดเห็น/ความพึงพอใจได้ว่า
     1) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล ช่วยรวบรวมหลักฐานจากแต่ละบุคคลสู่คณะ และมหาวิทยาลัย นำมาตรวจสอบการอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=0.55)
     2) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล สามารถเป็นแหล่งรวบรวมเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน (CDS) จากหน่วยงาน และคณะวิชาให้ตรงกับข้อมูลในตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก (X=3.86,S.D=0.53)
     3) บุคลากรเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “หลักฐานส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินงานของบุคลากรหรือคณะกรรมการ หากผู้รับผิดชอบส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล แล้วคณะวิชาหรือมหาวิทยาลัยนำไปใช้อ้างอิงตามตัวบ่งชี้ ก็จะแสดงการมีส่วนร่วมจากบุคลากร” อยู่ในระดับมาก (X=4.14,S.D=0.53)
     4) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้วท่านสนับสนุนหรือเห็นด้วยกับการให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประเมินตนเอง อยู่ในระดับมาก (X=3.79,S.D=0.43)
     5) ถ้ามีการจัดอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง เพื่อนำข้อมูลเข้าตามเกณฑ์ ตัวบ่งชี้ หรือข้อมูลพื้นฐาน บุคลากรเห็นว่าควรมีการจัดอบรมขึ้นอีกครั้ง อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=1.04)
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/sar_530601_cds.xls

วิพากษ์ระบบอินทราเน็ต(1)

19 พ.ย.52 คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ได้พัฒนาระบบอินทราเน็ต พยายามเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเปิดให้มีการวิพากษ์ภายในสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย คุณอรรถชัย เตชะสาย และ คุณอนุชิต ยอดใจยา โดยเริ่มจาก 1)ระบบฐานข้อมูลบุคลากรเป็นระบบฐาน ที่เปิดให้บุคลากรเข้าไปจัดการข้อมูลของตน 2)ระบบสารสนเทศบุคลากร ที่อ่านตรงมาจากระบบฐานข้อมูลบุคลากร ให้บุคคลทั่วไป หรือนักศึกษา ได้เข้าค้นข้อมูลตั้งแต่รายชื่อผู้บริหาร คณะวิชา ไปถึงข้อมูลบุคคล ที่สามารถเชื่อมตรงกับเว็บไซต์คณะวิชา 3)รายชื่อเว็บไซต์อีเลินนิ่ง รายชื่อบทความ รายชื่องานวิจัย รายชื่อเว็บบล็อก หรือรายชื่อระบบแฟ้มเอกสาร ที่แสดงในภาพรวมขององค์กร ผ่านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงใช้ร่วมกัน โดยกำหนดให้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00น. – 14.30น. นี่เป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของการระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัย

วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลครั้งแรก

20 ต.ค.52 ในรอบ 21 ปี วันนี้เป็นวันแรกที่นำระบบฐานข้อมูล 21 ระบบ มาเปิดเผยในห้องประชุมของมหาวิทยาลัยที่มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกว่า 45 ท่าน คุณอนุชิต ยอดใจยา ช่วยบันทึกเสียงลง MP3 เพื่อให้ผมเปิดฟังที่บ้านและจัดทำรายงานได้ ขั้นตอนเปลี่ยนจาก 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะแยกกลุ่ม 3)คณะให้ข้อเสนอแนะ 4)หน่วยงานสรุป เป็น 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งจบไปทีละระบบ ทำให้เวลา 3 ชั่วโมง สามารถเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทั้ง 21 ระบบในเวลาที่กำหนด
     คะแนนประเมินความพึงพอใจจากการประชุมน่าจะต่ำมาก ไม่น่าเกิน 4 จากคะแนน 5 ระดับ ถ้าวัดเฉพาะความพึงพอใจต่อโครงการเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ โครงการนี้คงสอบตกเป็นแน่ เพราะ 1)หน่วยงานก็ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นงานหนักอึ้ง 2)คณะก็มารับทราบว่ามีระบบมากมายที่ตนต้องใช้งาน 3)ทีมพัฒนาซึ่งมีโปรแกรมเมอร์ของสำนักไอที 1 คน โปรแกรมเมอร์ของสำนักทะเบียน 1 คน และโปรแกรมเมอร์อาสาสมัคร 3 คน ก็มีงานต้องพัฒนาและเชื่อมระบบทั้งหมดเป็นเครือข่ายเดียวกัน มีประเด็นมากมายยังไม่ clear เช่น 1)การจัดการความรู้มี series อย่างไร คณะได้รับโจทย์ว่าต้องกำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ 2)ต้องกลับไปเขียนนโยบายด้านต่าง ๆ .. ถ้ามีใครประเมินว่าพอใจการประชุมครั้งนี้ก็คงบอกว่าแปลกหละครับ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกินคาดเลยแม้แต่น้อย .. ในโลกแห่งความเป็นจริง
     หรือคิดแบบไม่เข้าข้างตนเอง คือผมพูดไม่รู้เรื่อง ดูแลให้ทุกคนพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ทำให้ทุกคนไม่พอใจในโครงการนี้ .. ก็เป็นไปได้ .. แต่ถ้าจะทำให้คนในมหาวิทยาลัยเข้าใจกัน เข้าใจระบบของกันและกัน ที่สำคัญเข้าใจงานของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ตามแผนที่ อ.อติชาต วางไว้ก่อนเดินทางไกล ผมก็ยินดีกับผลการประเมินความพึงพอใจข้างต้น