ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม หรือปาร์ตี้บลา ๆๆๆ

3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.
3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.

1. กาลครั้งหนึ่ง ราว 7 ปีล่วงมาแล้ว
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมที่เลี้ยงกาแฟ
ตอนนั้นผมยังไม่เรียกว่า KM (การจัดการความรู้)
เห็นทำกันทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร
หัวหน้าจะชวนลูกน้อง มาดื่มกาแฟกับปลาท่องโก๋ช่วงเช้า ๆ
มากันก่อน 8.00น. เลยหละครับ
ทุกครั้ง เพราะนัดหมายคือก่อนเข้าทำงาน มีขนม นมเนยเลี้ยง
ทำให้นึกถึงสภากาแฟของจังหวัด ที่จัดกันเป็นประเพณีก็ว่าได้
ที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยน
หัวหน้าท่านบอกว่า informal meeting
2. ก่อนหน้านี้
หน่วยเหนือ ก็จะส่ง ผบ. มาชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยน
แบ่งเป็นกลุ่ม white collar และ blue collar
จัดให้มีการเปิดอกเปิดใจ ถึงขนาดน้องบางท่านระบายความในใจทั้งน้ำตา
แบ่งปันทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ แบ่งปันสุขก็มีบ้าง การได้ระบายก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้
เป็นเทคนิคที่ทำกันในหลายองค์กร (เคยเรียนมาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำกัน)
แล้วเราก็มีมาตรการหลายอย่างออกมาทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
สืบเนื่องจากการหนุนใจของ ผบ. และเปิดทางของทุกฝ่าย
https://www.pinterest.com/pin/430304939367070195/
3. กรณีศึกษา (อ่านยากหน่อยครับ)
การทำ KM เป็นเรื่องปกติ และควรต้องปกติ เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ องค์ประกอบหนึ่งของคณะและสถาบัน
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ
อาจมีชื่อ เช่น ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม ก็แล้วแต่จะเรียก
แล้วผู้ที่เชี่ยวชาญชีวิต หรือ ชช. เพราะเดี๋ยวนี้ สว. ดูจะไม่น่ารักอีกแล้ว
ท่าน ๆ ก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์มากมาย
1) งานแบบนี้ สาว ๆ ชช. มักใช้เป็นเวทีเปิดใจ (local share)
แล้วออกมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้
หวังว่าเด็ก ๆ ในเวทีจะได้เรียนรู้ และเตือนสติ
ว่า “ทำให้ ไม่ได้ทำเอา” อย่ายึดติด “ทำเอา ไม่ได้ทำให้”
บางท่านก็เรียกร้องระบบ
บางท่านก็ไม่ชอบระบบที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนเร็ว
บางกรณีก็เปลี่ยนเร็วดุจพลิกฝ่ามือ นั่นก็เร็วไป
2) ชช. บางท่าน อาจมาจากองค์กรระดับชาติ (inter. share)
อาจให้ข้อคิดดี ๆ เช่นหลัก  4 M
ว่าประกอบด้วยผู้ชาย ทรัพยากร จัดการและตัง
เห็นการเชื่อมโยง M&M ได้ชัดเจน
3) หลังจาก ชช. แบ่งปันแล้ว (response)
ดด. (เด็ก ๆ) ก็แลกเปลี่ยนด้วยว่า ระบบ ระเบียบต้องรักษา
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับนั้น ยืดหยุ่นได้เสมอ อย่างห่วงเรื่องกฏ
ถ้าจริงใจ ขึ้นกับเหตุผล ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
4) ทุกเวที มีทั้งบวก และลบคละเคล้า (positive & negative)
เวลาทำงาน บางท่านก็ทำด้วยความภาคภูมิใจ
ชวนกันภูมิใจในงานที่ทำ หนุนใจ ฟังแล้วก็ชื่นใจ
งานมากมายอาศัยทั้งกำลังภายใน และกำลังภายนอก
อาศัยเครือข่าย อาศัยจิตสาธารณะ และบูรณาการ
แล้วเราก็ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน
5) กฎกติกามีเสมอในทุกเวที (rule)
ผู้ใหญ่ใจดีท่านมักจะสร้างความมั่นใจได้ชัดเจน
ฉายภาพให้เห็นความก้าวหน้า ความมั่นคง แสงที่ปลายอุโมง
ระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ชัดเจน
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่มากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
6) มีคำถามที่ท้าทายคนทำงานอยู่เสมอ ๆ (challenge question)
ถ้ามีโอกาสได้งานใหม่ที่น่าสนใจ และถูกชักชวนไป จะไปไหม
ก็เชื่อได้ว่า จะมีอะไรอะไรคอยฉุดรั้งไว้ไม่ให้เลือกงานใหม่ที่น่าสนใจได้
เช่น เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ลักษณะงานที่เห็นความก้าวหน้า
ทำงานใกล้บ้าน รายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เจ้านายที่รัก
หรือสวย สนุก อบอุ่น สำเร็จ ก้าวหน้า อะไรทำนองนี้

วันการจัดการความรู้ (KM Day)

วิชาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารความรู้ [HRMT 425] ได้จัดกิจกรรม KM Day นำเสนอความรู้ และสัมมนาทางวิชาการในช่วงบ่าย โดยช่วงเช้าจัดเป็นนิทรรศการ และมี ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อ 10.00น. วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ประเด็นนำเสนอ 5 กลุ่ม .. ประกอบด้วย
1. มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
2. การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. การดูแลผู้สูงอายุ
4. โรคเบาหวาน
5. การพัฒนาชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

การนำเสนอของแต่ละกลุ่มในช่วงบ่ายมีการให้คะแนนกลุ่ม ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้

เกณฑ์การประเมินผลการพูดนำเสนอผลงานกลุ่ม (Criteria)
1. ความตรงประเด็นของหัวข้อและเนื้อหา (Relevant)
2. การเตรียมตัว (Preparation)
3. มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Collaboration)
4. ความชัดเจนในการพูดนำเสนอ (Clarity)
5. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ (Equipment)
6. ความดัง-ค่อยของเสียง (Sound)
7. ท่วงท่า และการสบตาผู้ฟัง (Audience Relationship)
8. ความสามารถในการถ่ายทอดของทีม (Describe)
9. ความสามารถในการตอบคำถามของทีม (Answer questions)
10. ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Efficiency)

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

กรอบแนวคิดสำหรับนักเรียนศตวรรษที่ 21

p21 framework
p21 framework

2 มิ.ย.54 แผนภาพแสดงการเชื่อมโยงของทักษะในศตรวรรษที่ 21 ที่มีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ ทรัพยากร และเครื่องมือสื่อสาร หรือเรียกว่า กรอบแนวคิดสำหรับพัฒนาทักษะและความรู้ของนักเรียน พบภาพนี้จากเว็บไซต์ หุ้นส่วนสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21

(The Partnership for 21st Century Skills is a national  organization that advocates[สนับสนุน] for 21st century readiness for every student. As the United States continues to compete in a global  economy that demands innovation, P21 and its members provide tools and resources to help the U.S. education system keep up by fusing[หลอมรวม] the three Rs and four Cs (critical thinking and problem solving, communication, collaboration, and creativity and innovation). While leading districts and schools are already doing this, P21 advocates for local, state and federal policies that support this approach for every school.)

http://www.p21.org/route21/index.php

ทุนมนุษย์

human resource hub
human resource hub

23 มี.ค.54 ได้รับเอกสารประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ http://www.thaihrhub.com ที่ นร.1012/203 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2554 เรื่อง ส่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และให้ข้อมูลว่าจะเปลี่ยนโดเมนเป็น thaihrhub.ocsc.go.th ข้อมูลในเว็บไซต์เกี่ยวกับการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ หัวข้อหรือบริการประกอบด้วย วิกิทุนมนุษย์ สัมนา บล็อก ฟอรั่ม สื่อความรู้ เทคนิคเครื่องมือใหม่ ข่าวสารโครงการ คลังข้อมูล ระบบสมาชิก เป็นต้น เท่าที่ดู Source code เป็นเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ระบบ CMS เพราะ code สะอาด ถูกพัฒนาตั้งแต่ 2008
.. ประชาสัมพันธ์ และเล่าสู่กันฟัง

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้
การจัดการความรู้

18 พ.ย.53 มหาวิทยาลัยโยนกมีโฮมเพจ “การจัดการความรู้” เผยแพร่ที่ http://www.yonok.ac.th/km ซึ่งมีแผนการจัดการความรู้ ประเด็นการจัดการความรู้ 2 เรื่อง คือ 1) ประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัย 2) ประเด็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งมีโครงการจำนวน 3 โครงการตามแผนคือ โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา โครงการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร ซึ่งอาจารย์หลายท่านรับนโยบายมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเรียนการสอนผ่าน video conference การจัดเวทีให้นักศึกษานำเสนอผลงานแบบสร้างสรรค์ แล้วรับการวิพากษ์ในห้องประชุมใหญ่