9 พ.ย.53 คุณภัทรา มาน้อย ชักชวนให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัย จนได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “แนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน” ใช้พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ในการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย มทร. มรภ. มยน. มจร. และกศน. ซึ่งมีเป้าหมาย 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายการศึกษาลำปาง 2) เพื่อสร้างแนวการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษากับชุมชน โดยเน้นการใช้กระบวนการทางการศึกษาแก้ไขปัญหาชุมชน เบื้องต้นมีการบ้านให้เครือข่ายช่วยเพิ่มเติมข้อมูล 1.ประเด็นคือ แนวทาง/ความคาดหวังของสถาบันการศึกษา(หรือชุมชนในพื้นที่)ต่อรูปแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางจะยกร่างข้อเสนอโครงการ และส่งให้เครือข่ายพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่วงพิจารณากลไกภาคเหนือต่อไป ทั้งนี้รูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันคลังสมองของชาติและสกว.ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น โครงการนี้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ตัวแทนละ 3-5 คน รวมทั้งนักวิจัยในพื้นที่เป็นทีมวิจัย มีหัวหน้าโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อ คือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล จาก มรภ.ลำปาง เป็นหัวหน้าโครงการ
Tag: กศน
ประชุมตั้งมหาวิทยาลัยลำปางที่กศน
20 ก.ย.53 ในเวทีหารือการทำงานร่วมกันของสถาบันการศึกษาจังหวัดลำปาง และทิศทางการเคลื่อนงานมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นแกะดำในกลุ่มครูกบฎ เพราะพระครูปลัดอนันต์ ญาณสวโร ปล่อยมุขว่าถ้าพวกเราทำสำเร็จก็จะเรียกว่าผู้ก่อการดี แต่ถ้าล้มเหลวก็แสดงว่าเป็นกบฎ แล้วผมก็ย้ำไปว่าที่มาประชุมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจหรือไม่ ในวาระที่นำชื่อมหาวิทยาลัยมารวมกัน เพื่อหารือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยลำปางคือ “บูรณาการระบบการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ” แล้ว ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ก็แสดงทัศนะที่เห็นต่างไปจากรายงานสรุป (ในสรุปมี 2 รูปแบบคือ มองยุทธศาสตร์จังหวัด และแยกกันทำ หรือรวมเป็นพื้นที่) ว่าการมีขึ้นของมหาวิทยาลัยลำปาง น่าจะเป็นการคิดใหม่แบบล่างขึ้นบน มิใช่บนลงล่างแบบเดิม ซึ่งเสนอว่าต้องเริ่มจากการเข้าเรียนรู้ ศึกษาปัญหาของชุมชน ว่าชุมชนต้องการอะไรอย่างแท้จริง ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือนำในการแก้ปัญหา แล้วนำบทเรียนมาปรับการเรียนการสอน ให้ได้นักศึกษาที่ตรงกับความต้องการของชุมชน .. แล้วผมก็ได้พบนักคิด 2 ท่านจาก มทร.คือ ผศ.ดร.สาวิทตร มีจุ้ย และ ผศ.สันติ ช่างเจรจา ซึ่งช่วงท้าย ๆ มีการหารือกันอื้ออึง เกี่ยวกับประเด็นมหาวิทยาลัยลำปาง ของชาวลำปาง เพื่อชาวลำปาง โดยชาวลำปาง และเกิดผลในลำปาง อย่างเอาจริงเอาจังเกิดขึ้น
แล้วงานที่ผมรับปากไปในเวที ในบทบาทของอาจารย์โยนก คือการขยับงานปี 2554 โดยเสนอประเด็นที่สนใจคือ “การสร้างครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในสถาบัน และการขยายผล” และมี อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ คอยให้กำลังใจอยู่ไม่ห่าง .. โดยมี คุณภัทรา มาน้อย เป็นพี่เลี้ยงผู้ใจดี เพราะถ้าใจร้ายผมคงหนีตะเหริดเปิดเปิงไปแล้ว จากภาระงานปกติที่รุมเร้าอยู่ทุกวัน
นำเสนองานวิจัยในเวทีของ กศน.
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโยนก นำเสนอโครงการวิจัย “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” ในงานการประชุมสัมนางานวิจัย “โครงการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปีงบประมาณ 2552” ณ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ยิ่ง กีรติบูรณะ และ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ เป็นผู้วิพากษ์การนำเสนอโครงการวิจัย ระหว่าง 29-30 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา
ภาพ ผอ.อวิรุทธิ์ ภักดีสุวรรณ (มุมล่างซ้าย) จากจังหวัดมหาสารคาม ท่านเป็นผู้นำเสนอโครงการ “รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม” ท่านกรุณาสลับกับผมถ่ายภาพในฐานะผู้นำเสนอ และผมได้รับความอนุเคราะห์แฟ้มรายงานโครงการจากท่าน มาเผยแพร่ในมหาวิทยาลัย เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในการวางแผน และดำเนินการจัดทำโครงการหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขในลำปาง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้คัดลอกให้กับผู้เกี่ยวข้องไป 4 ท่านแล้ว คือ อ.ชิน อ.วันชาติ อ.ศรีศุกร์ และอ.ออย เท่าที่ได้ฟังการนำเสนอก็พบว่า กศน.มีจุดแข็งในการทำหัวข้อนี้ชัดเจนจากการเข้าไปคลุกคลี และได้รับการยอมรับจากชุมชนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
อบรม web template และ google apps ที่กศน.แม่ทะ
12 – 13 มิ.ย 52 ผมไปเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบซีเอ็มเอส web template 2.0 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย อ.ศรีเชาวน์ วิหคโต มีคุณอนุชิต ยอดใจยาไปเป็นผู้ช่วย เราได้รับเชิญจาก ผอ.จรรยา จิรชีวะ ให้อบรมบุคลากร กศน.แม่ทะ ณ ศูนย์การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาแหล่งเรียนรู้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ก่อนไปได้ปรับแต่งโปรแกรม thaiabc6.3 เพื่อเปิดบริการ Local Web Server ซึ่งมี web template 2.01 ในโปรแกรมนั้น ทำให้ฝึกจัดการ web template 2.01 ที่ผมปรับปรุงระบบความปลอดภัย สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ง่าย วันแรกปูพื้นฐานการเขียนเว็บ ซึ่งผู้เรียนหลายท่านไม่ถนัด แต่วันที่ 2 เรียนการเข้าจัดการเท่านั้น (ไม่สอน html) ทุกคนเข้าใจการปรับแต่งเว็บแบบ CMS ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของ ผอ. วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อให้ครูในแหล่งเรียนรู้แต่ละตำบลมีส่วนร่วมในการเข้าจัดการเว็บเพจของ กศน.แม่ทะ โดยแบ่งกลุ่มตามหัวข้อ และตามพื้นที่ แทนที่จะปล่อยให้ใครสักคนเป็นคนป้อนข้อมูล ก็จะหันมาแบ่งงานและรับผิดชอบร่วมกัน
ในสัปดาห์ต่อมา วันที่ 20 มิ.ย.52 ไปเป็นวิทยากรอีกครั้งมี อ.เกศริน อินเพลา เป็นผู้ช่วยในการอบรมการใช้ google apps ซึ่งรุ่นของระบบที่ กศน.ลำปาง และกศน.กรุงเทพฯ เคยขอใช้จาก google เพื่อเปิดบริการแก่บุคลากรในกศน. ต่างกับ google apps ที่ผมขอใช้บริการล่าสุด เพื่อเตรียมสอน โดยเฉพาะเรื่อง start page กับ page creater นั้นไม่พบใน google apps รุ่นใหม่ แต่พบเรื่อง site แทน และ site ก็ไม่มีใน google apps รุ่นเก่า แต่ระยะเวลาการอบรม 1 วันก็เหมาะกับ 4 หัวข้อคือ email, talk, calendar และ document วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อใช้งานระบบการสื่อสารและระบบสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ตามแนว enterprise 2.0 ผ่านบริการของ google apps ที่กศน. ลำปาง และกศน.ทั่วประเทศเข้ารับการอบรม ครั้งนี้จึงเป็นการขยายความสามารถในระดับครู เพื่อทำให้การสื่อสารระหว่างครู กับผอ. สามารถเกิดขึ้นได้
ผู้เข้าร่วมอบรมน่ารักทุกคน โดยเฉพาะเรียน google talk แล้ว หลายคนก็ใช้หูฟังกับไมค์คุยกันเพลินเลยครับ ผู้เรียนประกอบด้วย 1)นางสาวนันท์นภัสร์ ศรีวิเชียร 2)นางกมลนันท์ ธรรมนพ 3)นายทาน จันทะปัน 4)นางลำดวน วงศ์สาย 5)นางเทียมจิตร เพชรล้ำ 6)นางธิติยา แก้วเมืองมา 7)นางสายไหม กรรเชียง 8)นางสาวอรวรรณ มานันไชย 9)นางสาวจุฬารัตน์ วงศ์ษา 10)นางสาวนงคราญ ใจตา 11)นางสาวกาญจนา กิ่งแก้ว 12)นางกรชนก มังคะวงศ์ 13)นางสาวบงกช เกิดในวงศ์ 14)นางสาวไพรินทร์ สุวรรณจักร 15)นางอัฉราภรณ์ คำพิชัย 16)นางสาวมนัสวี จิรชีวะ 17)นางสาวธัญจิรา บุญรักษา 18)นางสาววิไลลักษณ์ บุญปันเชื้อ 19)นางสาวทัศนีย์ เพชรตา 20)นายธนวัฒน์ ปันสุทะ 21)นายวุฒิพงศ์ เครือวงศ์ปิง 22)นางสาวปิยะกาญน์ เลิศจุ่ม 23)นายณรงค์ จักรจันทร์ 24)ผอ.จรรยา จิรชีวะ ( ภาพทุกคน )
ผลการให้บริการวิชาการครั้งนี้ ทำให้ผม และผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน ได้เรียนรู้ระบบ CMS อีกโปรแกรมหนึ่งที่พัฒนาโดยใช้ text file และถูกใช้งานในกศน.ลำปาง และกศน.อำเภอ ได้เข้าไปศึกษาโปรแกรม ปรับแต่งให้เหมาะกับการอบรม และนำเสนอให้คนทั่วไปได้นำไปเรียนรู้และใช้งาน และนำเสนอลงสื่อท้องถิ่นด้วยภาพข่าวกิจกรรมบริการวิชาการ ผ่านสำนักประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ส่วน google apps จะได้ไปเผยแพร่ในมหาวิทยาลัย และคนทั่วไปผ่านหลายช่องทาง เพราะมีประโยชน์ต่อองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากไอที โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันที่ใช้เอกสารเป็นสื่อกลาง ( เอกสารอบรม ) http://www.google.com/a/thaiabc.com