เขียนสมการทางคณิตศาสตร์

โดยปกติเราเขียนสมการทางคณิตศาสตร์
ด้วยภาษา HTML ไม่ได้
เพราะไม่มีแท็กที่รองรับโดยตรง
เช่น เศษส่วน หรือรูท

หากจะเขียนต้องใช้ JavaScript library
เช่น mathjax.js
ที่ต้องโหลดมาใช้ในเว็บเพจแบบ front-end
เพื่อทำให้โค้ดสมการของเรา
ที่เขียนบน HTML ถูกเปลี่ยนเป็น
รูปของสมการที่ถูกต้อง

ตัวอย่างในภาพปก
จะใช้ในเว็บเพจ /web2

แฮนด์ออนเทเบิล (Handsontable)

Handsontable คือ เครื่องมือที่พัฒนาด้วย Javascript ที่ทำงานฝั่งไคลเอนต์ (Client) มีหน้าที่แสดงรายการข้อมูลในรูปของตาราง หรือกระดาษทำการ (Spreadsheet) ที่แสดงผลคล้ายกับ MS Excel ซึ่งนำมาพัฒนาต่อยอดได้ง่าย รองรับการประมวลผลที่ยืดหยุ่น ใช้ข้อมูลรูปแบบ JSON เข้ากันได้กับเฟรมเวิร์ก (Framework) ที่เป็นที่นิยม เช่น Angular, Vue และ React เป็นต้น

พบว่า ถูกนำมาใช้โดย ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ภายใต้ชื่อ “data.go.th” เพื่อพรีวิวข้อมูล สำหรับข้อมูลส่วนที่สามารถแสดงได้กลุ่มหนึ่งจากข้อมูลที่มีทั้งหมด 5,843 ชุดข้อมูล (10 เมษายน 2565) สำหรับการใช้งานข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คู่มือการใช้งานระบบศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ที่เตรียมเอกสารโดย Witwisit Kesornsit ตั้งแต่รุ่น 0.1 เมื่อ 24 มกราคม 2563 โดย คู่มือฉบับล่าสุด รุ่น 3 เผยแพร่ ธันวาคม 2564 ของ สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล มีข้อมูล preview ในหน้า 13 ที่อธิบายว่า “ระบบจะแสดงการ preview ชุดข้อมูลในแบบตาราง data explorer อย่างอัตโนมัติ” ซึ่งตารางที่ปรากฎในรูป คือ ผลของการใช้ Handsontable นั่นเอง

http://www.thaiall.com/json/

http://www.thaiall.com/jslibrary/

โครงการห้องเรียนที่ดี (Good Classroom) : 50 คลิปวิดีโอ
https://www.thaiall.com/education/indexo.html

การ export, import data – biblio ใน senayan

biblio data convertion
biblio data convertion

3 ธ.ค.55 ได้ export แฟ้มจากระบบของเสนายัน ซึ่งมีให้เลือก 2 รายการ คือ Data Export และ Item Export โดย 1) Data Export จะได้แฟ้ม senayan_biblio_export.csv มีรายการหนังสือทั้งหมด และ  2) Item Export จะได้แฟ้ม senayan_item_export.csv มีรายละเอียดแยกเล่มอยู่ในรายการหนังสือ พบว่า ข้อมูลในแฟ้มเป็นภาษาไทยแบบ UTF-8 ทำให้โปรแกรม editplus2 หรือ excel หรือ wordpad เปิดขึ้นมาไม่ได้ ต้องใช้ notepad แม้เปิดได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล จึงใช้ editplus3 เปิดแฟ้มเพื่อคัดลอก และเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็นไปตามรูปแบบต่อไป
http://www.editplus.com/download.html

บันทึกผลการทดสอบ มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อเลือก Data Export: biblio ออกมาแล้ว สามารถทำ Data Import: biblio กลับเข้าไปได้ โดยไม่เขียนทับของเดิม แต่เพิ่มระเบียนใหม่ และไม่มีการถามว่าจะเลือกแบบใด เพราะดำเนินการทันที .. ปัญหาที่พบจากการทำ Data Import คือ ข้อมูล label หายไป
2. เปิดแฟ้ม .csv ด้วย editplus3 แล้วคัดลอกไปวางใน excel แล้วเลือก data, text to columns
3. แก้ไขข้อมูล และ column D กำหนด format cells เป็น Number และ Decimal places เป็น 0
4. export save as แบบ  Text (Tab Delimited) (*.txt) พบว่าไม่มีเครื่องหมาย “”
5. เปิดแฟ้มที่ได้ด้วย editplus3 แล้ว เติมเครื่องหมาย ” คร่อมฟิลด์ทั้งหมด
6. save as เป็น .csv และกำหนด encoding เป็น utf-8

การเติมเครื่องหมาย ” คร่อมฟิลด์ มีขั้นตอนดังนี้
1. replace tab ด้วย “,”
2. replace “\n ด้วย “”\n” (regular expression)
3. เติม ” ปิดหัว กับ ปิดท้าย แฟ้มด้วยนะครับ

+ http://www.thaiall.com/senayan/senayan_biblio_export.csv
+ http://www.thaiall.com/senayan/senayan_item_export.csv
+ http://www.thaiabc.com/senayan/
+ http://www.thaiall.com/senayan

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

research
research

http://www.riclib.nrct.go.th/database/database.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย ธรรมวงศ์  (2551) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานฯ ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยใช้ภาษาพีเอชพี และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
เว็บไซต์แบ่งได้ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป และส่วนระบบบริหารจัดการข้อมูล เป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบจากแต่ละหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลได้แก่ ข้อมูลวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การจองการใช้งานห้องประชุม รถยนต์ เครื่องโปรเจคเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร สถานการณ์โรคเอดส์ การจัดอันดับสถานการณ์โรคติดต่อต่าง ๆ การจัดการข้อมูลบุคลากร การจัดการไฟล์ดาวน์โหลด การจัดการอัลบั้มภาพ การจัดการข่าวกิจกรรม ข่าวประกวดราคา ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามพบว่า 1) กลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความพึงพอในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.35) 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.75) สรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่มา http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=18408 (7 พ.ค.55)

นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์ (2550) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ และระดับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษา ใช้วิธีการสำรวม สุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 400 คน พบว่า พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบันมีความถี่ 1 – 3 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 29 นาที ส่วนใหญ่เข้าเว็บไซต์เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสถาบันในระบบของการลงทะเบียน การตรวจสอบผลการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลประกอบการศึกษา วิจัย และรายงาน
ผลเปรียบเทียบด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบัน แต่นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มของตนเองจะมีพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเด็นความต้องการของนักศึกษา มากที่สุด คือ ต้องการให้เว็บไซต์ของสถาบันปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ รองลงมาคือควรปรับปรุงการออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นได้ง่าย มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มความสามารถของเครื่องบริการ เพื่อการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บิรหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา http://www.riclib.nrct.go.th/abs/2550%5Cab177813.pdf (7 พ.ค.55)
ที่มา http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=26608 (12 ต.ค.58)

ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12 และ senayan3

โปรแกรม senayan3
โปรแกรม senayan3

บันทึกขั้นตอน จากกิจกรรมปรับปรุงรุ่นของโปรแกรมแก้วสารพัดนึกใน thaiabc.com เป็นรุ่น 8.0 โดยเพิ่ม moodle1.9.12 จากที่มี moodle1.5 ทำให้มี e-learning ใช้ 2 รุ่นและเปรียบเทียบกันได้ เหตุผลที่เลือก 1.9 เพราะที่  thaiall.com/moodle ใช้รุ่นนี้มาปีกว่าแล้ว แต่ไม่ใช้รุ่น 2.0 ขึ้นไป ด้วยเหตุว่า backup ในรุ่น 2.0 จะนำไป restore ใน 1.9 ไม่ได้ ถ้านำ backup ของ 1.9 ไป restore ใน 2.0 นั้นทำได้ และจากการทดสอบ restore  course จาก thaiall.com/moodle ในเครื่องใหม่นี้ พบว่านำมาใช้ได้ตามปกติ

ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12

1. เปิดบริการ apache2.0.52 และ mysql5.5.16
ตอนเปิดบริการในเครื่องที่ติดตั้ง skype อาจพบปัญหา port 80 ชนกันได้ครับ
2. เตรียม scripts ในห้อง /moodle19
3. สร้างห้อง /moodledoc19 เตรียมรับข้อมูลจากผู้ใช้
4. เริ่มติดตั้งด้วยการเรียก /moodle19/install.php
5. ต้องแก้ไข register_globals=Off ใน php.ini แล้วก็ restart apache
ถ้าไม่รู้ว่า php.ini อยู่ห้องใดก็เรียก function phpinfo()
6. พบขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
– Checking your PHP settings
– Please conform the locations of this Moodle installation
Web Address = http://127.0.0.1/moodle19
Data Directory = C:\thaiabc\moodledata
– Now you need to configure the database
Type = MySQL
Host Server = localhost
Database = moodle19 (Create DB automatically)
User = root
Password = ว่างไว้
– Checking your environment
– Download language pack
– Configuration completed
– Copyright notice
– Current release information Moodle 1.9.12 (Build: 20110510)
– Setting up database : Database was successfully upgraded
– Setup administrator account.
Username = admin
password = Password#2555
– New settings – Front Page settings
Self registration = Email-based self-registration
7. ผลการเรียก http://127.0.0.1/moodle19 พบว่าปกติ
8. สร้างวิชา และ upload แฟ้มภาพ และเรียกใช้แฟ้มภาพ ไม่พบปัญหา

ขั้นตอนการ Restore course ของ moodle 1.9.12
1. เข้าไปในวิชาที่สร้างไว้แล้ว
2. เลือก Restore
3. เลือกแฟ้มที่ Backup ไว้จาก server อีกตัวหนึ่ง
4. เมื่อถามว่า Restore to
– Current course, deleting it first
– Current course, ading data to it
– new course
5. ทดสอบทั้ง 3 แบบ พบว่าใช้งานได้ปกติ
6. ถ้าทดสอบ new course ก็จะได้วิชาใหม่อีก 1 วิชา ไม่ทับวิชาเดิม

ขั้นตอนการติดตั้ง senayan3
1. เปิดโปรแกรม phpmyadmin
2. สร้าง db : senayan3 แล้วเข้าไปใน db นี้
3. สั่งประมวลผล sql 2 แฟ้มในห้อง /senayan3/sql/install
4. เริ่มจาก import แฟ้ม senayan.sql ตามด้วย  sample_data.sql
5. แก้ไข sysconfig.inc.php
define(‘DB_NAME’, ‘senayan3’);
define(‘DB_USERNAME’, ‘root’);
define(‘DB_PASSWORD’, ”);
6. เข้าระบบด้วย
user: admin
password: admin
7. ทดสอบที่ http://127.0.0.1/senayan3 พบว่าใช้งานได้ปกติ
8. แก้ไขตัวแปรใน sysconfig.inc.php อีก 2 ตัวแปร
$sysconf[‘mysqldump’] = ‘c:/thaiabc/mysql/data’;
$sysconf[‘temp_dir’] = ‘c:/tmp’;

http://www.thaiall.com/blog/burin/3955/
http://slims.web.id/web/
http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
http://www.senayan.kru-ple.com/

SENAYAN 3.0 stable
Core Senayan Developer :
Hendro Wicaksono – hendrowicaksono@yahoo.com
Arie Nugraha – dicarve@yahoo.com
Below are the instructions for new installation of SENAYAN :
1. Put senayan3-stable3 folder in web document root
2. create senayan database in mysql
3. Open your phpMyAdmin or mysql client utility (or other mysql manager softwares) and
run sql/install/senayan.sql inside your SENAYAN application database.
4. Re-check your database configurations and others configuration in sysconfig.inc.php.
5. If you have your own custom template, Adjust detail_template.php file or just overwrite it
with detail_template.php from default template directory

เสนายัน : SENAYAN Library Automation

search result บน เสนายัน
search result บน เสนายัน

13 ต.ค.55
– เว็บเพจเล่าเรื่องการติดตั้ง SLIMS (Senayan) เป็น Home Library ได้เลยครับ
ที่ http://www.thaiall.com/senayan
ห้องสมุดที่บ้าน (Home Library) ที่ http://www.thaiabc.com/senayan

ข้อมูลจาก http://kru-ple.com/senayan.html
เสนายัน (SENAYAN) คือ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติโอเพนซอร์ส  สัญชาติอินโดนีเซีย ได้รับรางวัล ICT Award  ของอินโดนีเซียเป็นเครื่องหมายรับประกันว่าถึงแม้จะเป็นของฟรี แต่ก็มีความสามารถสูง เขียนด้วยภาษา  PHP และใช้ฐานข้อมูล MySql  เช่นเดียวกับ OpenBiblio แต่โดยภาพรวมอาจจะมีความสามารถไม่ด้อยกว่า OpenBiblio และถูกพัฒนาให้ใช้ภาษาไทย โดย คุณประสิทธิ์ชัย  เลิศรัตนเคหกาล ซึ่งผู้พัฒนาภาษาไทยให้กับ OpenBiblio ต่อยอดจากต้นฉบับประเทศอินโดนีเซีย ให้ใช้งานภาษาไทย

โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเผยแพร่ให้กับห้องสมุดและหน่วยงานที่สนใจนำไปใช้ได้ฟรี โปรแกรม Senayan มีคุณสมบัติการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดอัตโนมัติกับห้องสมุดดิจิทัลไว้ในระบบเดียวกัน ทำให้สามารถจัดเก็บทั้งเอกสารดิจิทัลและลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดร่วมกันได้ โดยใช้เมทาดาทา MODS เป็นมาตรฐานในการลงรายการบรรณานุกรมและเอกสารดิจิทัล

โปรแกรม Senayan พัฒนาด้วยเทคโนโลยีเว็บแอฟพลิเคชัน (Web-based Application) ที่สามารถใช้งานทุกโมดูลผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบมุ่งเน้นการออกแบบเรียบง่ายสะดวกในการใช้งาน มีโมดูลและคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับงานห้องสมุดอัตโนมัติ เช่น งานลงรายการ งานบริการยืม-คืน งานด้านวารสาร งานสืบค้นรายการออนไลน์ รวมทั้งระบบฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม ใช้เทคโนโลยี Peer to Peer (P2P) แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างห้องสมุด และที่สำคัญโปรแกรมนี้ยังไม่ได้หยุดพัฒนา  ทีมงานยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแจ้งข่าวความก้าวหน้า รวมทั้งแก้ปัญหาข้อผิดพลาดตลอดเวลา

เว็บไซต์ทางการ http://slims.web.id/web/
ดาวน์โหลดจาก http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
ทดลองใช้ที่  http://www.senayan.kru-ple.com/
http://www.slideshare.net/nstda/free-ils-research-to-services-cmu


แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. เริ่มต้นก็เข้า
http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
download : senayan3-stable5.tar.gz  size 2,126 KB
2. วางในโปรแกรม thaiabc.com
แล้วเปลี่ยนรหัสผ่านที่มีเป็น admin กับ p
แล้วสร้าง db : senayan
เมื่อเรียก http://127.0.0.1/senayan3 ก็พบ error message ว่า
All Location
Fatal error: Call to a member function fetch_row() on a non-object in C:\thaiabc\apache2\htdocs\senayan3\lib\contents\common.inc.php on line 36
เข้าไปดู code พบ
echo ‘<option value=”0″>All Location</option>’;
$loc_q = $dbs->query(‘SELECT location_name FROM mst_location’);
while ($loc_d = $loc_q->fetch_row()) {
echo ‘<option value=”‘.$loc_d[0].'”>’.$loc_d[0].'</option>’;
}
$location_list = ob_get_clean();

จาก code ก็งง อยู่ว่าใน db ยังไม่มี table แล้วจะเรียกอะไรมาดู
ตรวจดูอีกทีถึงรู้ว่าต้องติดตั้งข้อมูล sql ก่อน เพราะโปรแกรมไม่ตรวจสอบให้
3. กลับไปดู code พบห้อง /senayan3/sql/install
พบ sample_data.sql และ  senayan.sql
จึงประมวลผล sql ทั้ง 2 แฟ้ม
4. เรียกใช้ http://127.0.0.1/senayan3 แสดงผลปกติเลยครับ

senayan3
senayan3

5. เรียกใช้ http://127.0.0.1/senayan3/admin
ใช้ user:admin password:admin

senayan admin
senayan admin


ถ้าใช้จริงต้อง 2 ตัวนี้
http://slims.web.id/download/psenayan-3.14.zip
http://slims.web.id/download/slims3-stable15.tar.gz

การทดสอบกับ Portable

เมื่อทดสอบ stable14 ที่เป็น portable ขนาด 88 MB
ก็พบว่า
1. ต้องพาห้อง senaya ออกไปที่ root directory
เพราะ run ใน sub แล้ว
apache ไม่ start
2. พบปัญหาว่า mysql ไม่ start
เมื่อเปิด http://127.0.0.1 ก็พบ
Error Connecting to Database. Please check your configuration
3. ตรวจดูพบว่าในเครื่องของผม
มี my.ini ใน c:\windows
และที่มีอยู่นั้นมี config บางรายการไม่ compatible กัน
จึงไม่ start
เมื่อลบ my.ini ออก ก็เรียก http://127.0.0.1 ได้เลย
มีภาษาไทยให้เลือกด้วยครับ แม้จะเป็น portable
4. เข้า /admin และใช้ u:admin p:admin ได้เหมือนเดิม

อีบุ๊คกับห้องสมุดเสมือนจริง (itinlife280)

assurbanipal of Assyria
assurbanipal of Assyria

18 ก.พ.54 ห้องสมุดคือสถานที่ที่มีหนังสือให้อ่าน เคยเป็นแหล่งความรู้หลักของมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด หาข้อมูลอะไรก็ต้องไปที่ห้องสมุด เพราะเป็นแหล่งข้อมูลเดียวที่ผู้คนในอดีตนึกถึง สำหรับห้องสมุดที่เก่าแก่ที่สุดเชื่อว่าสร้างในสมัยของกษัตริย์ Ashurbanipal แห่งอาณาจักรอัสซีเรีย ประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อโลกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและความรู้ถูกเปิดเผยเพิ่มขึ้น องค์ความรู้ใหม่ถูกค้นพบ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรในหนังสือ ในสื่อที่หลายหลาย อาทิ เสียง วิดีโอ ภาพถ่าย โปสเตอร์ และโมเดลเสมือนจริง

ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลโดยนักเรียน นักศึกษา มักอาศัยการสืบค้นจากเว็บไซต์ google.com  ซึ่งผลการค้นหามักได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ แม้จะตอบความพึงพอใจของผู้สืบค้นได้ไม่ถึง 100% แต่เป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว และมีปริมาณมากที่สุด เด็กนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลลำปางมักได้รับมอบหมายให้ทำโครงงานปีละหลายชิ้น ก็ใช้บริการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ตและคัดลอกข้อมูลมาใส่ใน word หรือ powerpoint หรือบอร์ดนำเสนองาน อาจกล่าวได้ว่ามีข้อมูลในรูปสื่อผสมที่นอกเหนือจากห้องสมุดแล้วก็ยังมีให้เข้าถึงได้ง่ายบนอินเทอร์เน็ต แต่ระดับความลึก และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในบางหัวข้อก็เชื่อมโยงกับลิขสิทธิ์และการเผยแพร่ของเจ้าของข้อมูล อาทิ ประวัติส่วนตัวของท่าน โปรแกรมที่ท่านพัฒนาขึ้น หรือข้อมูลการเงินของลูกหนี้ธนาคารแต่ละแห่งที่ไม่เหมาะจะเผยแพร่แบบไม่มีการควบคุม

สารสนเทศ สื่อผสม หรือหนังสือที่มีอยู่ใน google.com อาจพัฒนาให้อยู่ในรูปของหนังสือเสมือนจริง หรืออีบุ๊คที่ถูกเปิดอ่านได้คล้ายกับหนังสือจริง สามารถพลิกไปทีละหน้า มีที่ขั้นหนังสือ มีป้ายแถบสีเน้นข้อความสำคัญ ซึ่งอุปกรณ์ที่พัฒนาให้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน iPad จาก apple.com ที่รับคำสั่งผ่าน touch screen น้ำหนักเบา พกพาสะดวก สามารถอ่านหนังสือจาก SD Memory หรือดาวน์โหลดหนังสือออนไลน์จากสำนักพิมพ์โดยตรง อาทิ อ่านหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์จาก thedaily.com มีค่าใช้จ่าย $39.99 ต่อปี เชื่อว่าในอนาคตห้องสมุดจะมีบทบาทลดลง และถูกแทนที่ด้วยห้องสมุดเสมือนจริง ดังที่พบว่าห้องสมุดที่ทันสมัยจะจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Ashurbanipal
+ http://www.thaiall.com/e-book