ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

แสดงความรู้สึกในเฟซบุ๊ค (Facebook emoji)

Facebook สร้างโจทย์ให้ต้องคิด (Think)
มีให้เลือกตั้ง 6 หน้า
นึกถึงข้อสอบทั่วไปมีแค่ 4 ตัวเลือก .. ยากล่ะทีนี้

facebook emoji
facebook emoji

เดี๋ยวนี้จะกดถูกใจต้องคิดล่ะ คิดหน่อย บางทีต้องคิดเยอะเลย
เมื่อก่อนชอบไม่ชอบ กดให้ไปก่อน 1 like
เดี่ยวนี้ต้องประเมินความรู้สึกตัวเองหน่อย
1. ถูกใจ  (Like) = ชอบ เป็นกลางที่โน้มไปทางด้านดี
2. รักเลย (Love) = ชอบมาก แทนคำว่ากระทืบไลค์ได้เลย มอบให้กิ๊กบ่อย ๆ
3. ฮ่า ๆ  (Haha) = ขำ อยากบอกว่าตลกดี
4. ว้าว  (Wow) = รู้สึกประหลาดใจ อึ้งไปเลย
5. เศร้า (Sad) = เสียใจ หรือไม่ชอบนะเรื่องนี้
6. โกรธ (Angry) = ออกแนวไม่ชอบอย่างแรง
เมื่อ 24 ก.พ.59 ทดสอบแล้ว พบว่าไลค์ทั้ง 6 นี้ใช้ได้กับโพสต์ แต่คอมเมนท์ยังไม่ให้บริการ
Chris Plante ให้นิยามว่า
1. ถูกใจ  (Like) = ให้การยอมรับทั่วไป หรือชอบในเรื่องนั้น
General approval; liking something.
2. รักเลย (Love) = เป็นอะไรที่มากกว่าชอบ เพราะชอบคงยังไม่พอ ออกจะมีใจให้กัน
When like just isn’t enough; flirting.
3. ฮ่า ๆ  (Haha) = สนุกสนาน ขำขำ ฮาเลย
When something is funny.
4. ว้าว  (Wow) = ตกใจ หรือ ตราตรึงใจ
When you are shocked or impressed.
5. เศร้า (Sad) = เสียใจ ไม่ชอบ ตรงข้ามกับชอบ
When you want the opposite of Like, when you are grieving, when you team lost the big game.
6. โกรธ (Angry) = เกียจ หรือรู้สึกรังเกียจ แรงกว่าไม่ชอบเยอะ
When you hate something, when you share a disgust for a given topic.

ผลกระทบจากการกด like ส่งเดช

Like & Dislike
Like & Dislike

การกด Like ใน Fan Page จำนวนมาก อาจจะทำให้คนคนหนึ่ง หรือพนักงานคนหนึ่งเสียเวลาในการอ่านความเป็นไป และรายละเอียดหน้า News Feed มากขึ้น ในเชิงเศรษฐศาสตร์ถือว่าพฤติกรรมส่วนนี้ทำให้เสียเวลาในการทำงานที่มีจำกัด และเป็นเวลาที่น่าจะสร้างผลประโยชน์แก่ตัวเองและองค์กรไป แต่เจ้าของกิจการอาจจะต้องมีมาตรการควบคุมพฤติกรรมการเล่น facebook ให้เป็นช่วงเวลา แต่ถ้าไม่เปิดโอกาสให้เล่นเลยก็คงไม่ใช่ข้อดีเช่นกัน เพราะไอเดียสร้างสรรค์ แนวคิด และกลยุทธ์ใหม่ๆ บางครั้งหาใน facebook ง่ายกว่าค้นหาผ่าน Google และเดินหาหนังสือตามร้านหนังสือมานั่งอ่าน ดังนั้นส่วนหนึ่งก็คือความรับผิดชอบของตัวผู้ใช้งาน หรือพนักงานที่จะปรับพฤติกรรมการเล่น facebook และเลือกกด Like ให้พอดี ที่อาจจะมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจุดเล็กๆ ไม่สำคัญแต่ใครจะรู้ว่า ปฏิกิริยาที่พูดมาข้างต้นของพฤติกรรมที่เกิดหลังการกด Like นั้นเป็นความจริง
ผลกระทบอีกเรื่องของการกด Like เป็นจำนวนมาก ทั้งจำเป็น และไม่จำเป็นนั่นคือปัญหาของ ข้อมูลที่ท่วม News Feed ของพวกเรา หรือที่เรียกว่า “Information Overload” การรับข่าวสารมากจนเกินไป จนพลาด และไม่สามารถแยกแยะข่าวสารที่จำเป็นที่สุดของเราออกมาจากกลุ่มข่าวสารได้ พึงคิดไว้ว่าประสิทธิของข่าวสารของคุณที่มีประโยชน์กับคุณจริงๆ นั้นจะปรากฏได้ชัดเจนที่สุด และได้จังหวะที่สุดก็ต่อเมื่อคุณเลือกที่จะรับข่าวสารแต่น้อย และพอประมาณ

จัดอันดับ Like ของ Fan page 2011
อันดับที่ 10 ได้แก่ O:IC มี Fan page กว่า 217,925 คน
อันดับที่ 9 ได้แก่ สมาคมมุขเสี่ยวๆ มี Fan page กว่า 219,537 คน
อันดับที่ 8 ได้แก่ Groove Riders มี Fan page กว่า 225,713 คน
อันดับที่ 7 ได้แก่ Boyd Kosiyabong มี Fan page กว่า 229,772 คน
อันดับที่ 6 ได้แก่ ARAYA A. HARGATE มี Fan page กว่า 252,601 คน
อันดับที่ 5 ได้แก่ dtac internet มี Fan page กว่า 256,603 คน
อันดับที่ 4 ได้แก่ TATTOO COLOUR มี Fan page กว่า 259,212 คน
อันดับที่ 3 ได้แก่ Singular มี Fan page กว่า 277,285 คน
อันดับที่ 2 ได้แก่ ชิงร้อยชิงล้าน มี Fan page กว่า 296,467 คน
อันดับที่ 1 ได้แก่ GTH มี Fan page กว่า 306,462 คน

Fan page ของ มหาวิทยาลัยในไทย
http://www.facebook.com/DPU2511
http://www.facebook.com/nationunews
http://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity
http://www.facebook.com/Uthammasat
http://www.facebook.com/mahidol
http://www.facebook.com/kkuthailand
http://www.facebook.com/SPUFriend
http://www.facebook.com/assumptionuniversity
http://www.facebook.com/LampangRajabhatUniversity
http://www.facebook.com/rangsituniversity
http://www.facebook.com/SAUnews
http://www.facebook.com/KasetsartUniversity
http://www.facebook.com/SilpakornU
http://www.facebook.com/bangkokuniversity
http://www.facebook.com/MaejoUniversity
http://www.facebook.com/sutnews
http://www.facebook.com/pages/mhawithyalay-nreswr/148222731854419
http://www.facebook.com/pages/PR-Ramkhamhaeng-University/206233619400008

http://www.thaistudentlink.com/beta/university/payup

http://www.daydev.com/social-media-for-business/546.html

http://fanpagelist.com/

http://www.ignitesocialmedia.com/facebook-marketing/top-50-branded-facebook-pages/

http://www.marketingoops.com/reports/metrix/top-20-facebook-fan-page-thai/

การทำการตลาดด้วย facebook page

it mart retail
it mart retail

12 มี.ค.55 ได้รับ it mart retail newspaper ฉบับ March 2012 เป็น issue 3 พบว่ามีเว็บไซต์ http://www.itmart.co.th และใช้ fb page http://www.facebook.com/itmartretail ซึ่งพบว่ามีการ post ครั้งแรกเมื่อ 4 ตุลาคม 2011  ในการเข้าดู fb page ต้อง login ก่อน จึงจะเข้าสู่ระบบได้ แล้วผมก็กด like ไป 1 ครั้ง ทำให้ผมเป็นผู้กด like คนที่ 14 ในทันที เมื่อเข้าดูเว็บไซต์หลักพบสินค้าน่าสนใจหลายรายการ จึงเก็บ screen ไว้เล่าให้นักศึกษาฟัง

http://www.itmart.co.th/home/?promotion,view&no=11
IT Mart - Newspaper - Feb 2012

IT Mart - Newspaper - Feb 2012 - 2
IT Mart - Newspaper - Feb 2012 - 2