#เล่าสู่กันฟัง 63-065 เล่าเรื่องเตรียม powerpoint ผ่าน markdown ให้เพื่อนฟัง

วันนี้ 12 เม.ย.63 มีเพื่อนพระครู ชวนคุยเรื่อง การสอนออนไลน์ ทำให้นึกถึง คำว่า วัตถุประสงค์ เช่น 1. เพื่อให้เข้าใจรูปแบบข้อมูลมาร์คดาวน์ 2. เพื่อให้เข้าใจการแปลงแฟ้มสำหรับนำเสนอ และ สิ่งที่คาดหวัง เช่น 1. ผู้เรียนสามารถเตรียมหน่วยการเรียนและหัวข้อเพื่อสอนออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว 2. ผู้เรียนสามารถสร้างแฟ้มนำเสนอด้วยแพนด๊อคและเลือกแม่แบบได้อย่างยืดหยุ่นผ่านการเตรียมข้อมูลมาร์คดาวน์

ปัจจุบันที่ทำอยู่ คือ เตรียมเอกสารบน text editor เช่น word หรือ notepad แล้วแปลงไปเป็น pptx จากนั้นก็เลือก Theme บน Powerpoint ในภายหลัง หลักการนี้จะทำ Slide ที่ไม่ซับซ้อน แก้ไขตรวจสอบได้รวดเร็ว มี Header กับ Detail ซึ่ง Detail ก็จะมีแบบ 1) Ordered 2) Bullet 3) Paragraph 4) Code และสามารถทำ Slide แบบมี 5) Picture ได้ แต่ต้องเตรียมภาพตามหัวข้อที่ต้องการเล่า ซึ่งภาพที่แปลงจาก markdown ไปเป็น pptx จะถูกคัดลอกไปเก็บใน pptx ไม่ได้ลิงค์แบบ embeded

อันที่จริง ผมก็กำลังเตรียม และปรับการสอนอยู่เหมือนกัน ปรับจากการสอนแบบ 1) Meeting ที่พูดคุยแลกเปลี่ยน เผชิญหน้า กำกับติดตามการเรียนในชั้นเรียน รู้จักผู้เรียนทุกคน (เน้นออฟไลน์ ส่วนออนไลน์วิธีนี้ใช้ Zoom) ส่วนการสอนแบบ 2) Live คือ สอนสด จะมีปัญหาที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าห้องเรียนออนไลน์พร้อมกัน ถ้าเลือกแบบสอนสด ต้องบันทึกคลิ๊ปแล้วแขวนให้กลับเข้ามาเรียนได้อีก การบันทึกคลิ๊ปนี้เข้ารูปแบบที่ 3 คือ การสอนออนไลน์ที่เน้นสอนแบบ 3) VDO on Demand ให้ผู้เรียนมาดาวน์โหลดคลิ๊ปด้วย IDM หรือเปิดดูแบบ Streaming ผ่านระบบ 4) e-Learning ที่สามารถเปิดดูได้ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) ซึ่งเพื่อนพระครูบอกว่าใช้ Moodle ที่มีระบบ Content, Quiz, Assignment, Homework, Chat, Webboard และฟรี แต่ต้องการตอกย้ำซ้ำให้ชำนาญ เพิ่มทักษะแล้วเพิ่มทักษะอีก เพิ่มบ่อยจนคุ้นชิน ในใจผมก็คิดว่า มีอะไรก็เรียกไปคุยได้ครับ เพราะมี MOU กันอยู่

#เล่าสู่กันฟัง 63-059 marp กับ pandoc สร้าง pptx ในรูปแบบที่ต่างกัน

Marp นั้น สร้าง pptx ที่กำหนด theme ของตนเองได้ คุณสมบัติเพิ่มจาก markdown อยู่ไม่น้อย แต่เมื่อเป็น powerpoint จะขยับวัตถุใด ๆ บน slide ไม่ได้ เนื่องจาก output จาก marp มาเป็น pptx จะเป็นเพียงภาพ background ไม่ได้ แยกองค์ประกอบมาให้จัดการได้

ต้องใช้ pandoc ที่ทำให้ได้ pptx  เทคนิคใช้งานไม่ต่างจาก marp ที่ใช้ command line แฟ้มที่ได้นำไปเปลี่ยน theme ได้ปกติ ซึ่งรูปแบบเป็นไปตามรูปแบบของ markdown

การใช้งาน theme การสร้าง master layout ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่การใช้งานกับ marp คงต้องแยกออกจากกันแล้ว แต่ใช้งาน pandoc ได้

#เล่าสู่กันฟัง 63-058 เส้นทางของ markdown จาก github สู่ php

ก่อนหน้านี้ชวนนิสิตใช้ github.com เป็นแหล่งเก็บและเผยแพร่ผลงานแบบควบคุม version ก็ชวนเขียน html ใน github.io และ readme.md ที่หน้าแรกของแต่ละ repo

ก่อนหน้านี้  ต้นเดือน มิ.ย.2018 Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ประกาศผ่านบล็อกทางการของบริษัทว่าจะเข้าซื้อ GitHub อย่างเป็นทางการ ด้วยมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ เป็นหุ้นของไมโครซอฟท์ทั้งหมด ทำให้ github.com น่าใช้ยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่บริการระบบที่ส่งเสริมการทำงานแบบ collaboration เสริม work from home ได้เป็นอย่างดี

กลับมามองเรื่องการเขียนหน้าแรกของ github เค้าใช้ภาษา markdown ที่เขียนแบบ plain text อย่างแท้จริง มองแทบไม่ออกว่านี่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และผมมีโจทย์ที่ต้องทำ powerpoint จากข้อมูลที่มีอยู่  และต้องการใช้งานแบบ reuse  คือ ทำแล้วใช้ซ้ำได้

ค้นดูพบว่ามีการแปลง markdown ไปเป็น powerpoint แบบ desk slide พัฒนาโดยหนุ่มญี่ปุ่น มีการสร้าง  theme ด้วย scss และ convert  ผ่าน command line ด้วยโปรแกรม marp  ที่ใช้ง่าย และยังพัฒนาต่อเนื่อง

จากนั้นไปใช้ extension ของ chrome ก็พบว่าการใช้ markdown สะดวกขึ้น มีแฟ้มแล้วเปิดอ่านได้ง่าย ๆ  แบ่งตาม header เลย เป็นเครื่องมือตรวจ outline ก่อนนำไปทำ pptx, html หรือ pdf

จากนั้นไปค้นว่ามี php ช่วย convert หรือไม่ ก็พบ parsedown.php โปรแกรมที่ require เข้าไปแล้วเรียกใช้งานได้ทันที แนะนำให้ติดตั้งผ่าน composer ซึ่งน่าสนใจมาก อีกเทคนิคหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptxเล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptx

เคยอ่านบล็อก อ.สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน somkiat.cc เรื่อง “มาทำ slide และ live code ใน VS Code ดีกว่า” ท่านใช้ markdown ในมุมมองใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นภาษาหลักสำหรับการเล่าเรื่องใน github.com สำหรับใครที่ไม่ต้องการเพิ่มขั้นตอนด้วยการไปเขียนใน github.io ที่รองรับ html ก็จะเขียนด้วย markdown ในแฟ้ม README.md แล้วแสดงผลหน้าแรกของ repo

ภาษา markdown เขียนง่ายกว่า html มาก และน่าจะง่ายที่สุดสำหรับการสร้างข้อความหลายมิติ (hypertext) และใน blog ของท่านพูดถึงการเขียนใน vs code แล้วส่งออกเป็น slide บน powerpoint หรือ pdf

Marp

ช่วงนี้ (มี.ค.63) มี covid-19 ระบาดหนัก เริ่มเปลี่ยนการศึกษาจาก #ระบบใส่ใจ คือ สอนกันแบบถึงเนื้อถึงตัว มาเป็น #ระบบใส่แมส คือ มี social distancing ใส่เครื่องป้องกัน สอนออนไลน์ สอนแล้วมาเรียนในยามที่สะดวก เรียนได้หลายครั้ง และเรียนได้มาก แบบ mooc ถ้าคุณครูเปิดให้เรียนซ้ำ ๆ ก็จะพัฒนาไปได้ไกล และกว้าง แบบ mass media

เมื่อวางแผนการสอน แล้วก็จะเริ่มสอน การสอนแบบเห็นหน้าครูเป็นชั่วโมง นั่งพูด ยืนพูด แบบ TED คงใช้ไม่ได้กับทุกวิชา

ดังนั้น powerpoint กับ camtasia จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการจัดทำสื่อการสอน การเปิดให้ส่งงาน ผ่านกลุ่มเฟส และทำข้อสอบผ่าน google form ก็พูดถึงกันมาก

กลับมาที่ markdown พบว่าเป็นภาษาที่เขียนง่าย นำหัวข้อมาเรียงแยกบรรทัดใน word หรือ notepad แล้วใช้ marp แปลงเป็น pdf, png, pptx หรือ html ก็ได้ slide สำหรับเตรียมพูดหลายชั่วโมงแบบมี navigation นำทาง

ผมลองใช้ marp-cli บน command line พิมพ์คำสั่งบรรทัดเดียว ก็แปลงแฟ้ม README.md เป็น myslide.pptx พร้อมสอนได้ทันที แก้ไขก็เพียงย้อนกลับมาแก้ข้อความใน README.md หรือไปแก้ที่ myslide.pptx ก็สะดวก แล้วยังจัดการ tempate ผ่าน gaia.scss ได้ตามชอบ คนที่พัฒนา marp เค้าว่าเป็น license : mit น่าติดตาม และนำไปใช้

ปล. เมื่อคืนนอนดึกหน่อย เกือบเช้า
เพราะติดพัน กับลูกเล่น css คุม markdown
http://www.thaiall.com/markdown