Tag: media
คำอธิบายรายวิชา กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
TECH 100 สื่อและเทคโนโลยี (Media and Technology) 2(1-2-4)
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีและสื่อรูปแบบใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย การสืบค้นข้อมูล เครือข่ายสังคม โปรแกรมประยุกต์สำนักงาน การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ความปลอดภัย คุณธรรม จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
MATH 100 กิจกรรมประจำวันกับตรรกเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Logic in daily Activity) 2(2-0-4)
ศึกษาระบบจำนวนจริง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหา การคำนวณกับกิจกรรมประจำวัน ตรรกศาสตร์และการประยุกต์ใช้ ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจ
SCIE 100 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต (Environment and Life) 2(2-0-4)
ศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับบุคคล ท้องถิ่นและสากล
—
topic
– fundamental of technology
– new media
– computer system
– network system
– searching
– social network
– social media
*
– office application
– multimedia creating
– security
– Moral and Ethics
social media
ปัญหา windows media center ใน win7 ของคุณแมว
26 ส.ค.54 คุณแมวนำเครื่องมาให้ดู พบปัญหาว่า โปรแกรมมากกว่าครึ่ง เมื่อคลิ๊กก็จะเปิด windows media center ไม่ยอมเปิดโปรแกรมตามหน้าที่เดิม ปัญหาคือเปิด ie หรือโปรแกรมใดไม่ได้เลย ภาพของ icon ก็เปลี่ยนเป็นแบบเดียวกันหมด สำหรับโปรแกรมที่ทำงานปกติก็เป็นแฟ้มประเภทเอกสารเช่น word excel นอกนั้นจะเรียก windows media center มาทำงานแทน
สาเหตุ .. ไม่ทราบแน่ชัดแต่ผู้ใช้ให้ข้อมูลว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าดับเมื่อคืน ซึ่งไม่น่าใช่ เมื่อตรวจ process ก็ไม่พบ virus (อาจถูก remove ไปแล้ว) จากนั้นก็ตรวจ address ของลิงค์ ก็พบว่าลิงค์ปกติ แสดงว่าเป็นที่ระบบปฏิบัติการ
ความพยายามและการแก้ปัญหา
1. เข้า file type เพื่อตรวจสอบ แต่ไม่พบว่าต้องเปลี่ยนอะไร เพราะ file type ไม่ถูกแก้ไข
2. เข้า control panel, program & feature เพื่อลบโปรแกรม windows media center
แต่เข้าไม่ได้ มีปัญหาเหมือนเรียกโปรแกรมทั่วไป
3. เข้า cmd หรือ regedit ไม่ได้ มีปัญหาเหมือนเรียกโปรแกรมทั่วไป
4. reboot เข้า safemode เพื่อ restore แต่ restore ไม่ถูกเปิด ทำให้ย้อนกลับไป 3 วันก่อนหน้านี้ไม่ได้
5. เข้า command ได้ แต่เข้าไปลบแฟ้ม ehshell.exe (Windows media center) โดยตรงไม่ได้ พบคำว่า access denied
6. เข้า regedit ลบการเชื่อมโยงกับ windows media center ซึ่งอยู่ในห้อง c:\windows\ehome
7. เรียก explorer ผ่าน command แล้ว download processexplorer และ autorun ซึ่งเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาการทำงานของ windows และสามารถใช้งานได้ใน win7
DOS> explorer http://www.thaiabc.com/download/processexplorernt.zip
DOS> explorer http://www.thaiabc.com/download/autoruns.zip
8. processexplorer ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะอาการไม่ได้เกิดจาก process พิเศษที่ run คู่ขนานเหมือนพวกไวรัส ที่สำคัญไม่พบ process ที่น่าสงสัย
9. ใช้ autorun ยกเลิกโปรแกรมใน regedit ที่เกี่ยวข้องกับ windows media center ทั้งหมด แล้ว reboot
ในทั้งหมด 9 ข้อ พบว่าข้อ 9 น่าจะเป็นวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประมวลผลโปรแกรมอย่างไม่ถูกต้องเมื่อสั่งเปิดโปรแกรมใด แล้วไปเรียก windows media center แทนทุกครั้ง .. หลัง reboot พบว่า icon แสดงผลปกติ และเรียกโปรแกรมถูกต้องตามหน้าที่ของโปรแกรมนั้น
สร้างสื่อการเรียนรู้ด้วย reload หรือ exe editor
17 พ.ค.54 โปรแกรม reload editor และ exe editor ต่างเป็นโปรแกรมใช้สร้างบทเรียนออนไลน์ หรือสื่อการเรียนรู้ได้ เมื่อสร้างแล้วสามารถบันทึกเพื่อเผยแพร่ได้หลายรูปแบบ
สอดรับกับมาตรฐาน scorm, เว็บเพจ หรือจะส่งเข้า cd ก็ได้ กำลังคิดว่าจะใช้ตัวใดสอนนักศึกษาดี จึงหาแหล่งอ้างอิงว่า มืออาชีพเขาใช้อะไรกัน หรือแนะนำตัวไหน ก็ได้ thaicyberu.go.th ที่น่าจะให้คำแนะนำได้ เพราะเคยเห็นเปิด course สอนโปรแกรมแบบนี้มาแล้ว ที่หน้าแรกของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าแนะนำทั้ง reload และ exe แสดงว่าดีทั้งสองโปรแกรม
http://exelearning.org (v 1.04)
http://www.reload.ac.uk (v 2.5.5)
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/eXe0.23.rar
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/man_eXe_0.23.rar
http://www.thaicyberu.go.th/Download/ReloadEditor2.rar
http://www.windowswiki.info/?p=662
http://www.thaicyberu.go.th/document/ManualProducer.rar
http://www.thaiall.com/e-learning/reloadscorm.htm
http://www.thaiall.com/e-learning/exescorm.htm
สื่อการเรียนรู้
ค่าสีโลโก้มาตรฐาน RGB และ CMYK สำหรับผลิตสื่อ
18 ก.พ.54 อ้างอิงเรื่องมาตรฐาน ตามที่ อ.เอก บอกไว้ก่อนท่านจะเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ว่าการใช้สีก็ต้องกำหนดมาตรฐานสี ว่ามีค่า RGB เป็นอะไร ผมได้เอกสารต้นแบบชิ้นหนึ่งจากผู้รู้ท่านหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่ออกแบบให้หน่วยงานหนึ่งใช้สีที่กำหนดนี้ จึงนำแฟ้ม .jpg ดังกล่าวมาแกะสี ด้วย Ms Paint ทำให้รู้ว่าสีที่มองเห็นมีค่า RGB เป็น #416BAC (แก้ไขตามแฟ้ม AI) ฐานสิบหก และผมก็คงจะใช้เลขนี้ตลอดไป ส่วนสีเทาใช้ #58595B (อ.หนุ่ย share ที่ท่านแกะส่งมาให้ ซึ่งในภาพประกอบเป็นของเก่าครับ)
อ้างอิงเรื่องความเข้ากันของสี .. เนื่องจากมีการนำสีไปใช้ในสื่อหลายประเภท ทำให้สีเพี้ยนไปจากต้นแบบ ซึ่งผู้ที่นำไปใช้อาจไม่ถือเป็นเรื่องจริงจัง แต่ครั้งใดที่นำสื่อมาเปรียบเทียบกันก็จะเห็นความแตกต่าง .. ถ้าผู้จัดทำสื่อร้อยพ่อพันแม่ ไม่ได้เลขสีจากผู้ว่าจ้างที่ตรงกัน ก็เชื่อได้ว่างานที่ออกมาจะมีสีที่หลากหลายได้ .. ผมเป็นพวกไม่สนใจเรื่องสีเช่นเดียวกับบรรพบุรุษ เพราะมนุษย์ชาวไทยเราเห็นความสำคัญของสี สร้างสี แยกแยะชื่อสีเกิน 16 สีมาไม่ถึง 200 ปีเท่านั้นเอง
ผมลองแปลงดู แล้วเสนอ CMYK เป็น
RGB=#416BAC
C=0.622
M=0.378
Y=0
K=0.325
RGB=#58595B
C=0.033
M=0.022
Y=0
K=0.643
http://web.forret.com/tools/color.asp
แผ่นบูลเรย์สำหรับผู้นิยมของใหม่ (237)
25 มี.ค.53 การพัฒนาของสื่อมัลติมีเดียก้าวไปอีกขั้น ซึ่งมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจากที่เคยมีแผ่นดิสก์ ขนาด 8 นิ้วเป็น 5.25 นิ้วมีความจุ 360 KB และ 3.5 นิ้วความจุ 1.44 MB จากนั้นก็มีแผ่นซีดีรอม (Compact Disc-Read Only Memory) แบบอ่านอย่างเดียวมีความจุถึง 650 MB จนไปถึงแผ่นดีวีดีมาตรฐาน (Digital Versatile Disc) ความจุ 4.7 GB แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีได้รับความนิยมในการบันทึกภาพยนต์ แล้วจำหน่ายโดยผู้ผลิตภาพยนต์ เนื่องจากมีความจุสูง และมีต้นทุนต่ำ สำหรับสื่อที่ได้รับความนิยมสูงจนน่าจับตาคือแฟรชไดร์ฟ (Flash Drive หรือ Thumb Drive) ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปนิยมซื้อไว้เก็บข้อมูลเนื่องจากนำไปเขียนข้อมูลและพกพาได้สะดวก
สื่อตัวใหม่ที่เริ่มได้รับความนิยมนำไปบันทึกภาพยนต์คุณภาพสูง คือ บลูเรย์ดิสก์ หรือบีดี (Blu-ray Disc) อยู่ในรูปของแผ่นออพติคอลมีรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายแผ่นซีดีรอม แผ่นบลูเรย์แบบเลเยอร์เดียว (Single Layer) มีความจุ 25 GB และแบบสองเลเยอร์ (Double Layer) มีความจุ 50 GB ส่วนแผ่นแบบสองเลเยอร์สองหน้า BD-R (2DL) มีความจุ 100 GB สำหรับเครื่องอ่านเขียนบลูเรย์มีความเร็ว 1x จะบันทึกข้อมูลได้เร็วถึง 36 Mbps ซึ่งเร็วกว่าความเร็วของเครื่องอ่านเขียนซีดีรอมที่ความเร็ว 1x จะบันทึกข้อมูลได้เพียง 150 KBps เท่านั้น
ปัจจุบันมีแผ่นภาพยนต์แบบบลูเรย์ดิสก์ ซึ่งหลายท่านบอกว่าภาพคมอย่างที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน เพราะแผ่นซีดีภาพยนต์ทั่วไปใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 1 GB แต่ในแผ่นบลูเรย์ใช้พื้นที่กว่า 30 GB ปัจจุบันเครื่องเล่นแบบนี้ยังไม่ได้รับความนิยม ทำให้ราคาเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท ส่วนแผ่นบลูเรย์มีราคาหลายร้อยบาท จึงคาดได้ว่ามีปัญหาในการทำตลาดแน่นอน เพราะตัวเลือกเกี่ยวกับภาพยนต์คุณภาพสูงในท้องตลาดมีอยู่ไม่น้อย สำหรับผู้บริโภคที่ไม่นิยมซื้อสินค้าราคาสูงอาจเลือกซื้อแผ่นดีวีดีภาพยนต์ราคาไม่ถึง 100 บาทแต่มีมากถึง 8 เรื่องหรือราคาเรื่องละประมาณ 12 บาทเท่านั้นหาซื้อได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนจำนวนแผ่นภาพยนต์บลูเรย์ก็ยังมีไม่มากนัก แต่ความเป็นไปได้ที่จะทำให้แผ่นบลูเรย์อยู่รอดน่าจะเป็นการสร้างความแตกต่างในตัวภาพยนต์นอกเหนือจากความชัด จำนวนภาษา หรือระดับเสียง ก็มีเพียงการเป็นภาพยนต์สามมิติ แต่มิใช่เรื่องง่ายที่จะเป็นเช่นนั้น
+ http://www.thaiall.com/mis/mis05.htm