การเรียกใช้คลาสในภาษาจาวา

ภาษาจาวา ถูกจัดเป็นภาษาเริ่มต้น
สำหรับเรียนรู้การเขียนโปรแกรม
โดยเฉพาะการโปรแกรมเชิงวัตถุ
Object oriented programming
.
นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นเครื่องมือ
ในหลายแพลตฟอร์ม
ทั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บไซต์
และแอปพลิเคชันอย่างแพร่หลาย
.
สำหรับการโปรแกรมเชิงวัตถุ
ก็ออกแบบมาให้รองรับเทคนิคพื้นฐาน
และยังถูกพัฒนาให้มีโครงสร้าง
ที่เป็นมาตรฐาน ปรับใ้ช้ได้อย่างยืดหยุ่น
.
ช่วงนี้ได้ปรับบทเรียนออนไลน์
จึงเลือกโค้ดที่เกี่ยวกับ
การเรียกใช้ class และ method มาแบ่งปัน
ให้เห็นถึงการเรียกใช้คลาสและซับคลาส
.
จากตัวอย่างจะมี 3 คลาส
แต่ละคลาสมี method
โดยคลาสหลักมี method ชื่อ main
และแสดงผลผ่าน System.out
ปรากฎ output บน console
.
นำโค้ดไปทดสอบ
บน Online java compiler
จะทำให้เห็นการทำงานของ
constructor, super, และ this ได้
ลองเปรียบเทียบผลลัพธ์กับโค้ดกันได้
.
สรุปว่า ท่านใดที่ยังวนเวียน
อยู่ในยุคจาวา ยังสนใจเรื่องนี้อยู่
ลองนำโค้ดไปทดลอง หรือปรับปรุงได้ครับ
สามารถสืบค้นคำว่า
รหัสต้นฉบับเพื่อการศึกษา ก็ได้

j0404

https://fb.watch/qaxiS4cWN-/?mibextid=2JQ9oc

#javalanguage
#computerlanguage
#programming
#coding
#method
#algorithm

การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

การวาง url ใน status ของ facebook.com

url on facebook : cards case study
url on facebook : cards case study

28 ธ.ค.53 นั่งทำระบบ e-cards อยู่ 2 วัน พัฒนาเป็นระบบส่ง parameter ผ่าน url หรือที่เรียกว่าการกำหนด  action method แบบ get เหมือนที่ google.com ใช้ แต่พบปัญหา 2 ประการ คือ ภาพไม่ปรากฎใน ie8 และภาพไม่ปรากฎอัตโนมัติในเฟสบุ๊คเพื่อแสดง thumb nail

สรุปปัญหาแรก คือ การกำหนดความกว้างของภาพเป็น % เป็นผลให้ไม่สามารถแสดงผลใน ie8 ภาพหายไปเฉย ๆ แต่ไม่พบปัญหาใน browser ตัวอื่น แม้แต่ ie6 ก็ไม่พบปัญหา แก้ไขโดยกำหนดเป็น pixel ตามปกติ ก็ใช้ได้กับ brower ทุกตัวที่เข้ามาทดสอบ ปัญหาที่สอง คือ เขียน card.php ตัวเดียว แล้วใช้วิธีส่งค่าแทนการสร้างสคริ๊ปขึ้นใหม่สำหรับแต่ละภาพ พบว่า การวาง url ใน  status ของ fb จะไม่มีการเรียก url ผ่าน parameter เพื่อดึงภาพจากเว็บเพจมาทำเป็น thumb เช่น ส่ง card.php?x=1 ผลที่ fb อ่านคือ card.php เท่านั้น  แก้ไขโดยกำหนดค่า default สำหรับการเรียก card.php ขึ้นมา เพื่อให้ fb ได้ภาพที่ต้องการสำหรับแสดง thumb nail มิเช่นนั้นจะว่างเปล่า

สมมติฐานที่ทีแรกสงสัยว่าภาพไม่ปรากฎใน fb จากกการวาง url คือ การเขียน html tag ไม่เป็นมาตรฐาน หรือการเขียน table หลายชั้น แต่ความจริงเป็นเพราะ fb ไม่รับ parameter ในการเลือกภาพมาแสดงเป็น thumb nail ของ status และปัญหาจากรุ่นของ browser เข้ามาผสมโรงในตอนท้ายของการทดสอบ
http://www.yonok.ac.th/cards