การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/