การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

กรณีศึกษาเข้าอบรมก่อนขายสินค้าออนไลน์

กรณีศึกษาเข้าอบรมก่อนเริ่มขายออนไลน์

มีผู้สำเร็จจากการขายสินค้าออนไลน์มากมาย ที่คาดว่าก่อนหน้านี้ ไม่ได้ผ่านหลักสูตรสารพัดเทคนิค เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้าขายออนไลน์ให้บรรลุเป้าหมาย แต่สามารถประสบความสำเร็จในการขายออนไลน์ได้ โดยธรรมชาติทุกคนรู้ว่า 1) สินค้าคืออะไร 2) ขายเท่าไรไม่ขาดทุน 3) รู้ว่าต้องขายที่ไหน และ 4) โปรโมชั่นช่วยได้เสมอ เช่น 11.11 หรือ 12.12 ในเว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่มียอดขายถล่มทลายทุกครั้งที่มีโปรโมชั่น ชวนฟัง iClass University คลิปตอนนี้ได้ยกตัวอย่าง บังฮาซัน เอเท็น อานนท์ (Aten Arnon – Prince of Marketing) เป็นนักการตลาดที่บรรยายได้เยี่ยม พบผลงานบน youtube มากมายที่เน้นด้านวิชาการ และปฏิบัติได้จริง

แต่ถ้าต้องการทบทวนเพื่อขุดทักษะการขายที่มีอยู่แต่ถูกฝังไว้ลึก หรือต้องการเพื่อนที่มีทักษะช่วยปลุกกำลังใจ กระตุ้นความเป็นนักขาย เพื่อฝึกให้เราได้ใช้สารพัดเครื่องมืออย่างมีสติ ที่ต้องคอยเตือนตนเองว่า “อย่าโลภ” ไปคล้อยตามกระแสที่อาจชักจูงไปสู่เทคนิคที่ไม่ชอบได้ พบว่า มีหัวข้อมากมายที่น่าสนใจเรียนรู้ใน #ห้องเรียนค้าขายออนไลน์ ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจ มีดังนี้ 1) เลือกสินค้าจากข้อมูล (product) 2) เปิดร้านค้าออนไลน์ (page) 3) ตั้งชื่อร้าน และตกแต่งหน้าร้าน (title) 4) โลโก้ โปรไฟล์ และภาพปก (profile) 5) เขียนเนื้อหาให้โดน (content) 6) คลิปวิดีโอต้องมี (clip) 7) สร้างสรรค์ และแตกต่าง (creative) 8) ซื้อโฆษณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป (advertising) 9) กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูล (customer) 10) เริ่มต้นที่ก้าวแรก (first step) 11) กรณีศึกษา (case study) 12) เครื่องมือ และทีมสนับสนุน (supplier และ shipper)

#เล่าสู่กันฟัง 63-039 ออกแบบบ้าน สำนักงาน หรือเวที ด้วยโปรแกรม sketchup

บางทีการใช้โปรแกรมวาดภาพ 2D
ที่มีเพียง กว้าง ยาว อาจไม่พอเพียง
อาจใช้ paint ppt ps หนือ ai
ดังนั้น การใช้ Sketchup (desktop/web)
เพื่อออกแบบบ้านสักหลังก็น่าสนใจ
เห็นเพื่อนเล่าเรื่องใช้เครื่องพิมพ์วัตถุ
พิมพ์โมเดลตุ๊กตาญี่ปุ่นแชร์ในเฟส

ส่วนผมก็สนใจการวาดบ้าน และอาคารที่มีทั้ง width height depth
เคยเป็นพังผืดขึ้นข้อมือขั้น
เฝ้าระวังหลายปีก่อน
วันนี้มาลองขยับเมาส์ ก็คงต้องหยุด
อาการมากันชัด ๆ เลย
ถ้าทำต่อ สงสัยหมอชวนผ่าตัด หรือผมขอเอง

พี่หญิงวาดภาพตอนฝึกงาน ตอนนี้ไปต่อโทเอกที่ มช.

สรุปว่า
Sketchup ใช้ฟรีเป็นแอพบนเว็บได้
แต่ download มาใช้จริงจังต้องเสียตัง
หรือจะทดลองใช้แบบ trail 30 day ก็ได้
ทักษะวาด model นี้น่าสนใจ

http://thaiall.com/sketchup/

ค้นหา ทูน่าโมเดล ที่เป็นเรื่อง KM ไม่ใช่ปลาทู

tuna model
tuna model

ค้นหาคำว่า “โมเดลทูน่า” “ทูน่าโมเดล” “ตัวแบบทูน่า
โมเดลปลาทู” “ปลาทูโมเดล” “ตัวแบบปลาทู
โดยกำหนดการค้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ในทุกเขตข้อมูล ทุกมหาวิทยาลัย และทุกเอกสาร
จากฐานข้อมูล thailis (Thai Library Integrated System)
พบเอกสารของ ณัฐพล สมบูรณ์

Title ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
Title Alternative An information technology knowledge management system : a case study of the permanent secretary of ministry of finance office
Creator Name: ณัฐพล สมบูรณ์
Subject ThaSH: การบริหารองค์ความรู้ฐานข้อมูล
ThaSH: ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
ThaSH: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Description Abstract: ปัญหาพิเศษฉบับนี้ได้นำเสนอ ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อรองรับในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ให้อยู่ในรูป แบบเว็บไซต์เพื่อให้ง่าย ในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ข้อผิดพลาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยใช้โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาบทเรียนต่าง ๆ บททดสอบ และบทความด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ทันสมัยอยู่เสมอ จากการประเมินระบบทาการประเมินจากกลุ่มผู้ใช้งานในสำนักงานปลัดกระทรวงการ คลังโดยแบ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานจำนวน 30 คน ซึ่งผลของการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) และผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
Abstract: This paper proposes a web application for the Permanent Secretary of Ministry of Finance Office (MOF) to support the existing information management. This system is in the form of a website aimed to facilitate the MOF’s office and enhance their knowledge effectively. Moreover, this system also provides a way to exchange information and help solve problem on one’s own with the ability to continually update. Tools used in the development of the system included the Tuna Model which consists of lesson, examination, and an information technology column. The evaluation of the system’s performance was conducted by experts and general users. The Average Mean and Standard Deviation of results from experts were 4.46 and 0.23. The Average Mean and Standard Deviation of results from general users were 3.89 and 0.86. In summary, the result of the evaluation indicates that the satisfaction of the developed system is relatively high and achieved all goals.
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง

http://tdc.thailis.or.th/tdc/

ค้นจาก google.com
พบเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ก็พบวรรณกรรมที่น่าสนใจ
http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5101034.pdf

ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้
โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV)
คือ ส่วนที่มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS)
คือ ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA)
คือ ส่วนสร้างคลังความรู้ เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

ดร.ประพนธ์  ผาสุกยืด (2550 : 21-26)
ส่วนที่ 1 ส่วนหัว เรียกว่า “KV” (Knowledge Vision)
หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วนที่ 2 ส่วนตัว เรียกว่า “KS” (Knowledge Sharing)
ซึ่งเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM
ส่วนที่ 3 ส่วนหางปลา เรียกว่า “KA” (Knowledge Assets)
หมายถึง ตัวเนื้อความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้”
http://aikik.blogspot.com/2011/01/model-knowledge-mangement.html
http://group.wunjun.com/valrom2012/topic/362655-11237

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนา “ตัวแบบทูน่า” เป็น “ตัวแบบปลาตะเพียน”
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

ระบบการสอน ของ ADDIE Model

addie model
addie model

รูปแบบการออกแบบระบบการสอนแบบ ADDIE Model หรือเรียกว่า SAT (System Approach to Training) หรือ ISD (Instructional System Design) มี 5 ขั้นตอน

1. การวิเคราะห์ (Analysis)
2. ขั้นออกแบบ (Design)
3. ขั้นพัฒนา (Development)
4. ขั้นดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation)
http://www.nwlink.com/~donclark/history_isd/addie.html ***
http://www.kroobannok.com/5661

ADDIE Model


http://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model
http://www.businessperform.com/workplace-training/addie_model.html