5 คำถามชวนคิด เรื่องผู้ว่าฯ ลาออกจากการออกหนังสือราชการที่มีข้อความที่ผิด

มีประเด็นที่สังคม ให้การชื่นชมในความรับผิดชอบ
ของผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ที่ส่งหนังสือลาออก ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย
เห็นแล้วก็อยากชวนเช็ค ชวนคิด ชวนแชร์ ชวนแลกเปลี่ยน

สปิริตของผู้ว่าราชการ http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/
สปิริตของผู้ว่าราชการ
http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/

พบว่า มีนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน
ให้ความเห็นชื่นชมการตัดสินใจของผู้ว่าฯ
บอกว่าเป็นตัวอย่างที่ดี และมีท่านหนึ่ง โพสต์ว่า

.. ผิดพลาด ขอลาออก ทันที
รับผิดชอบ คือ เกียรติยศ
นี่แหละ .. จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน
ถ้าบ้านเมืองมีคนอย่างนี้เยอะๆ
ลูกหลานก็จะดีเอง ..

ควรเป็นปกติที่พบเห็นข้อมูลข่าวสาร ก็ต้องมีการ “เช็คก่อนแชร์
จึงตั้งใจจะเตรียมคำถาม ไว้ชวนเพื่อน เช็คตนเองกันหน่อย

1. ฐานความผิดในการพิมพ์เอกสารผิดจากกรณีนี้
ท่านคิดว่าลาออกจากราชการ สมควรกับความผิด หรือไม่

2. มีงานที่ผู้ว่าฯ ต้องรับผิดชอบมากมาย
การเลือกรับผิดชอบที่พิมพ์เอกสารเตรียมรับนายกฯ ผิด แล้วลาออก
ย่อมทำให้สิ้นสุดความรับผิดชอบต่องานผู้ว่าฯ ในปัจจุบันและอนาคต
ท่านคิดว่าการแสดงความรับผิดชอบนี้ เลือกได้ดีที่สุด หรือไม่

3. ถ้ามีลูก มีหลาน มีศิษย์ มีเยาวชน ท่านจะอบรมสั่งสอน
ว่าหากพิมพ์เอกสารผิด และไม่ส่งผลกระทบใด ที่ร้ายแรง
แต่เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติ
ท่านคิดว่าจะสอนใคร ให้ลาออกจากงานประจำจากการพิมพ์ผิด หรือไม่

4. ถ้าเป็นตัวอย่างที่ดี แล้วท่านไปพิมพ์เอกสารผิด และต้องการรับผิดชอบ
จึงลาออกจากงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ตอนอายุ 24 ปี
ท่านคิดว่าจะหางานใหม่ หรือไม่ หลังจากออกจากงานเดิมแล้ว

5. การเลือกที่จะลาออกของผู้ว่าฯ อาจมีเหตุผลมากมาย
ที่นำมาประกอบการพิจารณา
นอกจากคำว่า รับผิดชอบต่อการพิมพ์เอกสารผิด และรักษาชื่อเสียงเกียรติยศแล้ว
ท่านคิดว่าควรมีเหตุผลอะไรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาอีก หรือไม่

จากคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเพียงการชวนคิด
เพราะความจริงแล้ว อาจมีข้อมูลอื่นที่ทำให้ผู้ว่าฯ ตัดสินใจ

ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร คนที่ตอบเท่านั้น
คือ ผู้เรียนรู้ ว่าอะไรควร หรือไม่ควร
เพราะสุดท้ายแล้ว เรื่องนี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่าง
ของ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

หลัก 50/50 glory and money

ตาม Maslow’s hierarchy of needs แล้ว

Money อยู่ต่ำสุด Glory อยู่สูงมาก 
แยกกันชัดเจน

พบว่า มีการหารือ ในเวทีด้านการศึกษา
ว่า คนเราได้รับเกียรติแล้ว เค้าก็ไม่น่ารับเงิน
ที่ต่างประเทศ เค้ารับเกียรติ ก็รู้สึกเพียงพอแล้ว

ในอีกมุมหนึ่ง
บางคน ยอมแลกเกียรติ กับ เงินทอง
บางคน เอาเงินทอง ไปแลกกับ เกียรติ
บางคน อยากได้เกียรติ แล้วเงินทองจะตามมา
บางคน อยากได้เงินทอง แล้วเกียรติจะตามมา

เวลาถกเถียงกันระหว่าง เกียรติ กับ เงินทอง
ถ้าคนมีเงินทองเยอะอยู่แล้ว จะเลือกเกียรติ
ถ้าคนมีเงินทองน้อย ก็จะเลือกเงินทอง เป็นธรรมดา
เรื่องนี้เอาไปเล่าในหัวข้อ คุณธรรมจริยธรรม
http://www.thaiall.com/ethics
แต่สรุปว่า เป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ น่าจะตรงกว่า

ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ

http://www.moe.go.th

 

เกรดเท่าไร เป็นเงินเท่าไร แต่ แม่ไม่คิดเงิน

เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย
เกรดเฉลี่ย 3.0 เท่ากับคันเนี้ย

เห็น อ.เกียรติ แชร์เรื่อง “เกรดเฉลี่ยเทอมแรก” น่าสนใจ
ทีแรกว่าจะไม่คลิ๊กอ่านล่ะ
แต่เห็นว่าได้ 2.5 แล้วคิดเท่ากับเงินหมื่น จากภาพเห็นถึง 3.0
ก็เอะใจ ขึ้นมาตะหงิด ๆ สงสัยใครรู้ขึ้นมา
ว่า ถ้าได้เกรดเฉลี่ยสูงไปถึง 3.25 หรือ 4.0 แล้ว
น้องเค้าจะคิดว่าเท่ากับอะไรที่สูงกว่า MSX 1 คันนะ
พอดีข้อมูลที่ให้มาหยุดที่ 3.0 (CGPA : Cumulative Grade Point Average)

อันที่จริงเรื่องนี้นึกถึงเรื่อง “แม่ไม่คิดเงิน
สรุปคือ เด็กชายคิดค่าตัดหญ้า ค่าทำความสะอาดบ้าน เท่านั้น เท่านี้
แต่แม่หยิบปากกามาเขียนด้านหลังว่า
เก้าเดือนอุ้มทองไม่คิด และไม่คิดอีกเยอะแยะ
สุดท้าย ลูกก็บอกว่าไม่คิดตังล่ะ
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5028
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=137222
http://www.2jfk.com/son_salary.htm

เกรดเฉลี่ยเทอมแรก
2.5 = 10,000
2.7 = 15,000
2.9 = ไอโฟน 7
3.0 = MSX 1 คัน
http://hilight.kapook.com/view/142303

ประมูลทีวีดิจิตอล วัดกันที่เงิน ยอดสูงกว่าก็ได้ไป

กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000154399

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้

ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว

“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป

“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”

นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น

พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท

อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น

“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”

สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท