Tag: moodle
อภิธานศัพท์ (Glossary)
25 ส.ค.54 การทำ Glossary เป็นสิ่งที่คิดจะทำมานานแล้ว แต่หาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานไม่ได้ และไม่มีเหตุจูงใจมากพอ จนได้พบกับ moodle 1.9 ซึ่งมีจุดเด่นคือ 1) เป็น glossary ภายใต้ระบบ e-learning ที่เป็นมาตรฐาน 2) สามารถ export ออกไปเป็น xml ที่จะนำไปใช้ต่อได้ง่าย 3) เป็นระบบฐานข้อมูลรองรับการสืบค้น แบ่งหน้า และแบ่งกลุ่มได้ 4) การสร้าง glossary สามารถพิมพ์ในระบบอื่น แล้ว import เข้าระบบของ moodle เพื่อเผยแพร่ต่อได้ .. ในเบื้องต้นแบ่งไว้ 2 เล่ม คือ technical term และ software glossary
อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ การคำอธิบายความหมายของคำ เรียงตามตัวอักษร ซึ่งเดิมจะพบ Glossary อยู่ส่วนท้ายของหนังสือ เพื่อช่วยให้ความหมายที่ผู้แต่งเห็นควรนำมาอธิบายเพิ่มเติม ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน
แหล่งรวบรวมอภิธานศัพท์
ปรับตัวเลือก ให้นักศึกษาเลือกตอบได้ครั้งเดียว
กิจกรรมเกี่ยวกับแบบทดสอบที่ผมดำเนินการมีดังนี้ 1) ก่อนนักศึกษาจะทำข้อสอบได้ ต้องมีรหัสเข้าสู่ระบบซึ่งผมเตรียมไว้ให้ทุกคนเป็น student01 2) เมื่อเข้าไปในแต่ละวิชาให้คลิ๊ก Enrol.. เพื่อสมัครเรียน แล้วทำข้อสอบเก็บคะแนน 3) หลังทำข้อสอบและตรวจแล้ว ผมก็จะลบสมาชิกใน Participant โดยยกเลิกบทบาท Student ของ Participants
สำหรับการสร้าง Quiz แบบ Multiple Choice บน Moodle 1.9 ได้ปรับตัวเลือกต่าง ๆ 4 ตัวเลือกของแบบทดสอบ เมื่อมีการทำข้อสอบก็จะมีตัวเลือกท้ายสุดว่า Submit all and finish
Shuffle questions : Yes
Attempts allowed : 1
Adaptive mode : No
Grading method : First attempt
การเพิ่มสมาชิกด้วยการ upload
20 ก.ค.54 ผลการทดสอบใช้ moodle 1.9.12 ผ่านไปด้วยดีอีก 1 ขั้น เพราะได้ทำการ Upload users รหัสผู้ใช้ทั้งหมดหลายสิบบัญชี เข้าระบบอีเลินนิ่งได้ และมีการเชื่อมกับอีเมลในระบบ @thaiabc.com ที่ใช้บริการของ google apps โดยสร้างบัญชีผู้ใช้ผ่าน text file มีรูปแบบเป็น CSV เมื่ออัพโหลดแล้ว ก็กำหนดอีเมลเป็น %f@thaiabc.com ซึ่งมีบัญชีอีเมลรองรับอยู่แล้ว จึงใช้ได้ทันที .. เมื่อทดสอบ login ก็พบว่าไม่ปัญหา ส่วน field deleted ผมกำหนดค่าเป็น 0 ทำให้ผู้ใช้ที่ผมสร้างขึ้นทั้งหมดไม่สามารถลบ account ของตนด้วยตนเองได้ ถ้าจะลบต้องให้ admin ดำเนินการ (แต่รหัสผ่านที่ผมกำหนดเข้าไปจะซับซ้อนกว่าตัวอย่างที่เห็นนะครับ)
ทดสอบ moodle ใน hypermart server
12 ก.ค.54 ติดตั้ง moodle 1.9.12 สำเร็จ ด้วยคำแนะนำของ server ที่บอกว่าห้องเก็บข้อมูลแท้จริงของ hypermart.net คืออะไร หลังติดตั้งเสร็จ ก็สร้างวิชา โดยต้องการให้ guest สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ มี option ของวิชาที่กำหนด default เป็น Do not allow get in แล้วผมก็เปลี่ยนเป็น Allow guest without the key เพียงเท่านี้ แขกที่ไม่มีกุญแจ ก็เรามาร่วมเรียนรู้ได้ครับ
เมื่อเข้ามาก็เปลี่ยน theme เป็น wood ส่วนข้อผิดพลาดที่เปลี่ยนรหัสผ่านในเครื่องบริการตัวเก่า ไม่พบปัญหานี้ใน server ของ hypermart
เพิ่มระบบอีเลินนิ่งรุ่นใหม่อีก 1 host
18 มิ.ย.54 เครื่องบริการอีเลินนิ่งเดิมใช้ moodle รุ่น 1.5 แต่เพื่อนร่วมงานต้องการทดสอบ moodle รุ่นใหม่ จึงเข้าไป download moodle รุ่น 1.9.12+ จาก moodle.org ก็พบว่าต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) เพิ่ม host name ใหม่ 2) ทดสอบติดตั้งพบว่าต้องแก้ php.ini ให้ register_globals=off 3) mysql ที่ใช้ต้องเป็น 4.1.16 ขึ้นไป ส่วน php ต้องเป็น 4.3.0
สำหรับ mysql รุ่นเก่า ผมเข้าไป download แล้วติดตั้ง จากนั้นก็คัดลอกห้อง bin กับ share ไปทับห้องเดิมของ mysql 4.1.12 ที่เคยติดตั้งไว้
การปรับระบบ
+ เพิ่ม smtp server จะได้ส่งเมล์ถึงผู้สมัครได้
+ กำหนด Default role for all users เป็น students
+ เพิ่ม block: course เข้าหน้าแรก เวลา Login จะได้พบอะไรบ้าง
+ Users, Permission, Assign System Roles .. เพื่อกำหนดบทบาทให้กับสมาชิก
+ ถ้าแก้ไขส่วนหัว ก็เปิดแฟ้ม header.html มาแก้ไข
+ สร้างวิชาที่ต้องการ restore เลือก restore icon, upload .zip
? แต่ restore ทำจาก 1.5 -> 1.9 ผมยังทำไม่ผ่านครับ .. สงสัยเรื่องภาษาไทย
http://mirror.provenscaling.com/mysql/community/binaries/
ปีจำกัดที่ 2010 ใน moodle
4 ม.ค.54 หัวหน้าที่ใช้งานระบบ e-learning แจ้งว่า พบปัญหาใน moodle 1.5.3 ที่มีปีให้เลือกถึงค.ศ.2010 การขยายปีออกไปทำได้โดยแก้ไขแฟ้ม lib/weblib.php หาคำสั่ง for ($i=2000; $i<=2010; $i++) แล้วก็เปลี่ยนจาก 2010 เป็นปีที่ต้องการ เท่านี้ก็ขยายปีออกไปได้แล้ว
http://kampol.htc.ac.th/km52/index.php?topic=64.0
ถ้าเป็นคำแนะนำอื่น จะบอกว่าให้ upgrade version ของ moodle.org
จัดกลุ่มนักศึกษาเปิดภาคใหม่
26 ต.ค.53 แจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนนักศึกษาด้วย e-learning ผ่าน moodle หรือ http://class.yonok.ac.th/ อย่าลืมเพิ่มกลุ่มเรียนสำหรับนักศึกษากลุ่มใหม่นะครับ โดยปรับวันที่ของวิชา ปรับตัวเลือก ก็จะทำให้นักศึกษาสื่อสารกันผ่านกลุ่มของตนเอง และการรายงานคะแนนสอบก็แยกกลุ่มชัดเจน ไม่สับสนครับ .. อันนี้ อ.แหม่มท่านใช้งาน เพื่อจัดสอบก่อนเข้าเรียนครับ
อบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง
29 เม.ย.53 วันนี้เป็นวันแรกในสองวันของการอบรมการพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง (e-learning) ซึ่งมี อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้พื้นฐาน และมีผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งระดับดี ประจำปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นปีแรกที่มอบประกาศนียบัตรมาเป็นผู้บรรยายประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากระบบอีเลินนิ่ง ประกอบด้วย อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น อ.อติชาต หาญชาญชัย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และอ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ จากนั้นก็มีผู้ดูแลงานไอทีมาบรรยายการใช้โปรแกรม moodle แบบ offline โดยใช้โปรแกรม thaiabc.com เป็นเครื่องมืออบรม ซึ่งมีผู้ช่วยวิทยากรคือ อ.เกศริน อินเพลา และคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และผู้ประสานงานโครงการคือคุณศิริพร ยาสมุทร
ในการอบรมเน้นให้อาจารย์แต่ละคนจำลองตนเองเป็น ผู้ดูแลระบบ ครู และนักเรียน สลับบทบาทไปมาอย่างเข้าใจ เพื่อให้กลับไปจัดทำแผนการสอน และใช้เครื่องมือได้อย่างลงตัว ทำความเข้าใจแหล่งเอกสารระหว่างในไซต์กับจากนอกไซต์ แล้วฝึกใช้เครื่องมือทั้ง resource และ activities ซึ่งทั้งหมดเป็นการเรียนรู้แบบออฟไลน์ด้วยโปรแกรม thaiabc.com ทำให้รวมเร็ว และไม่มีผลต่อเครื่องบริการหลักของมหาวิทยาลัย ก่อนปิดคลาสวันนี้ ได้ฝึกให้อาจารย์สร้างการบ้าน และจำลองเป็นนักเรียน 2 คนเข้ามาส่งการบ้าน และอาจารย์ให้คะแนน ซึ่งมีผลเป็นการรวมคะแนนที่ได้จากการบ้าน 2 ชิ้น
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
+ http://www.weerapun.com
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=168683&id=814248894
+ http://www.4shared.com/dir/38358133/530e46a/train_elearning.html
ในวันวุ่นและพลาดประชุมของผมอีกวัน
28 เม.ย.53 วันนี้มีเหตุให้ผมทำงานไม่สำเร็จงานหนึ่ง คือ การจัดประชุมการจัดการความรู้ที่ อ.อติชาต หาญชาญชัย เป็นประธานการประชุมของคณะ ซึ่งมีแผนประชุมเวลา 13.00น. แต่บุคลากรในคณะทั้ง 8 คน ผมมาทราบช่วงก่อนประชุมว่าเพื่อนติดภารกิจ 5 คน จะประชุมก็ไม่สมเหตุสมผลทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป ในใจก็ดีใจ (หาย) เพราะอันที่จริงเวลานี้ผมก็มีสอนภาคเรียนฤดูร้อน จึงปลีกตัวไปสอนหนังสือได้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งก็ติดเป็นกรรมการสอบแทนหัวหน้าที่ต้องไปประชุมผู้บริหาร ซึ่งพอสรุปกิจกรรมของวันนี้ไว้เป็นบทเรียนให้มีการวางแผนให้ดีก่อนใช้ชีวิตในแต่ละวัน
เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า 1) จัดทำบันทึกให้ท่านอธิการลงนามในใบประกาศนียบัตรคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ก็มีคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ช่วยทำใบประกาศสำหรับผู้ถูกคัดเลือก 4 ท่าน และดำเนินการจนสำเร็จ 2) สรุปเอกสารเตรียมจัดอบรมอีเลินนิ่ง โดยมีเอกสารของ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เข้ามารวมเป็นเอกสารครบชุด แล้วมอบให้ คุณศิริพร ยาสมุทร ช่วยเตรียมทั้งเอกสาร และอาหารสำหรับอบรมวันรุ่งขึ้น 3) ไปตรวจเอกสารมาตรฐานที่ 3 บริการวิชาการ ในคณะบริหารธุรกิจ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ร่วมกับคุณลักขณา 4) ประชุมติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ร่วมกับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ในกลุ่มงานวิชาการที่ผมดูแลงานด้านไอทีว่าทิศทางควรเป็นอย่างไร 5) ไปซ่อมและให้คำปรึกษาปัญหาเครื่องพิมพ์ของผู้บริหารท่านหนึ่งหลังสระว่ายน้ำช่วงเที่ยงวัน 6) ก่อนบ่ายโมงจัดทำเอกสารงบประมาณของงานเทคโนโลยีเสนอฝ่ายงบประมาณ 7) บ่ายโมงทราบว่าประชุม KM ต้องเลื่อน จึงไปสอนหนังสือตามปกติ โดยไม่ใช้เทคนิคมอบงานให้เรียนรู้ด้วยตนเองตามแผนที่กำหนดไว้ 8 ) บ่ายสามโมงร่วมเป็นกรรมการสอบกับ อ.เกศริน อินเพลา แทนหัวหน้า ในการสอบหัวข้อของนักศึกษา ที่ชื่อ นฤมล 9) ตั้งแต่ทุ่มจัดทำซีดี 30 แผ่นเตรียมให้อาจารย์ที่ร่วมอบรม e-learning วันรุ่งขึ้น 10) ระหว่างรอเขียน CD 30 แผ่นก็มานั่งเขียน blog นี่หละครับ
สิ่งที่เตรียมในซีดี คือ 1) โปรแกรม thaiabc สำหรับจำลอง webserver ที่บริการ moodle แบบ noinstall 2) เอกสารสอน moodle ทั้งในฐานะนักเรียน และครู 3) เอกสารสอน e-learning โดย รศ.ดร.มนต์ชัย เทียนทอง 4) เอกสารกรอบ TQF และตัวอย่าง มคอ.3 5) โปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับจัดทำ Learning Object อาจใช้ exe หรือ reload หรือ flip หรือ fpf ก็เชื่อได้ว่าอาจารย์ทุกท่านที่ได้ซีดีจะนำประสบการณ์ไปพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งอย่างสร้างสรรค์
+ http://www.thaiabc.com
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm