เล่าเรื่องลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง บอลน่าน

เล่าเรื่องลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ชื่อ บอล น่าน

อีกหนึ่งคนที่ประสบความสำเร็จสายไอที
มาเยี่ยมเยือน มาพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ
ครั้งนี้มาชวนน้อง ๆ และอาจารย์ไปทานข้าว
พูดคุยแลกเปลี่ยน สัพเพเหระ ไม่เจอกันนาน
และชวนกันคุยเรื่องชวนน้องไปฝึกงานที่บริษัท
ส่วนอาชีพเสริมอีกหนึ่ง คือ ปั้นแบรนด์

วันนี้มีน้ำผึ้งแสนดีต่อสุขภาพ ติดมือมาฝากอาจารย์
ผลิตภัณฑ์ Ren : น้ำผึ้งลำไยแท้ 100% จากเมืองน่าน
(Premium product of Thailand)
Muang Nan Honey
น้ำผึ้งลำไยเป็นผลิตผลของผึ้ง
ที่ได้จากเกสรดอกลำไย
จากฟาร์มน้ำผึ้งใน อ.ท่าวังผา และ อ.ปัว จ.น่าน
แบ่งบรรจุและจำหน่ายโดย ren
72 หมู่ 8 ต.บัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน 55150
facebook : rennanhoney
website : renhoney.com
ปล. อ.แนน ไฟเขียวว่าโพสต์ได้

ระบบและกลไก การกินป่าของคนไทย คนหนึ่งปีหนึ่งเฉลี่ยกินพื้นที่ปลูก 20 ตารางเมตร

ระบบข้าวโพด
ระบบข้าวโพด

เคยดูรายการ สามัญชนคนไทย
ตอน คนไทยกินป่าเป็นอาหาร

แล้วสนใจระบบและกลไกการกินป่าของคนไทย
ในรายการแจงไว้ชัดเจนว่ากลไกการสนับสนุนให้คนไทยกินป่ามี 5 กลุ่ม
1. กลุ่มชาวบ้าน
2. กลุ่มนายทุน/แปรรูป
3. กลุ่มเงินกู้/กองทุนทุกประเภท
4. กระบวนการส่งเสริม/นักส่งเสริมการเกษตร/นักวิจัย
5. นโยบายส่งเสริมจำนำ/ประกันราคา

หลังมีข่าว ก็มีการออกมาเคลื่อนไหวด้วยวิธีต่าง ๆ
ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้ว่าก็ทำอย่าง
นายกก็ทำอย่าง ทหารก็ทำอย่าง กรมป่าไม้ก็ทำอย่าง
ดาราก็ทำอย่าง โรงเรียนก็ทำอย่าง นักเลงคีย์บอร์ดก็ทำอย่าง
มีผลในแต่ละอย่างก็เพื่อช่วยป่า ช่วยเขา ไม่ให้โล้นไปกว่านี้

http://www.thaiall.com/blog/burin/7482/

หากมองระบบที่ทำให้เขาหัวโล้น ลองมามองภาพดู
ว่ามีขั้นตอนอย่างไร จะมองจากปัญหาไปต้นเหตุ หรือต้นเหตุไปปัญหาก็ได้
1. คนไทย ซื้อสัตว์มากินเป็นอาหาร
2. ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซื้ออาหารสัตว์สำเร็จรูป
3. โรงงานอาหารสัตว์ ซื้อข้าวโพดและถั่วเหลือง
4. คนปลูกข้าวโพด ซื้อที่ดินไว้ปลูก โค่นต้นไม้ใหญ่
5. ที่ดินไม่พอ ต้องไปบุกรุกพื้นที่ป่า

คนกินป่าเป็นอาหาร
คนกินป่าเป็นอาหาร

ต.ย.โครงการนาแลกป่า
เพื่อให้ได้พื้นที่ป่าคืนมา หลังได้มาแล้วก็ต้องดูแลให้ต้นไม้เติบโตเป็นป่า
ข้อมูลในปี 2556 พบว่าพื้นที่ป่าสงวนถูกนำไปปลูกพืชไร่สูงถึง 1.5 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 24% ของพื้นที่ป่าทั้งหมดในจังหวัดน่าน
โครงการนาแลกป่า ในปี 2558 สามารถคืนผืนป่ามาสู่การจัดการอย่างยั่งยืนได้ถึง 315.25 ไร่
1. กลยุทธ์นาแลกป่า เมื่อเกษตรกรคืนพื้นที่ป่า 4 ไร่ โครงการจะขุดนาให้ 1 ไร่
โดยขุดร่องน้ำ ปรับหน้าดิน เตรียมการจัดการน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านปลูกข้าวหรือทำเกษตรแบบประณีต
2. กลยุทธ์ระบบน้ำแลกป่า เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อแลกกับพื้นที่ที่นำไปปลูกข้าวโพด
เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวหรือพืชอื่นๆ
ซึ่งการมีน้ำพอใช้สำหรับการเกษตรก็ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นด้วยพื้นที่ที่น้อยลง
ปี 2558  โครงการขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
3. กลยุทธ์อาชีพทางเลือกแลกป่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ก็อยากจะเลิกปลูกข้าวโพด
และมีอาชีพใหม่ทดแทน ทางโครงการจึงได้จัดหาอาชีพทางเลือก
ได้แก่ อาชีพปลูกพืชหลังนา เกษตรผสมผสาน
และการชดเชยเป็นค่าตอบแทนสำหรับเกษตรกรสูงอายุที่ไม่สามารถทำอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ได้
ปี 2558  โครงการได้สร้างอาชีพทางเลือกและขอคืนผืนป่าได้ทั้งหมด 108 ไร่
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=389

ต.ย. ดารา ยอมควักเงินส่วนตัว ร่วมปลูกป่าน่าน
เฉพาะพื้นที่ที่เคยเป็นไร่ข้าวโพด เป็นจิตอาสาที่อยากรักษาป่าต้นน้ำ
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378498989/

ต.ย. กิจกรรมพิทักษ์ป่า
Nation TV – เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
“ร่วมโพสต์ท่าต้นไม้ ติด hashtag ‪#‎ปลูกเลย‬ แสดงพลัง!”ฟื้นฟูป่าให้ลูกหลาน
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378503463/
https://www.facebook.com/cartooneggcat/photos/a.136226233446771.1073741828.136187606783967/173673336368727/

ต.ย. อธิบายเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ทำให้ผืนป่าที่หายไป ใครควรต้องรับผิดชอบบ้าง
สรุปว่า “คนไทย ที่บริโภคเนื้อไก่ขาวจากฟาร์มในระบบปิด
ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพด มีส่วนสนับสนุนการทำลายป่าจากการบริโภคเนื้อไก่ เฉลี่ยคนละประมาณ 20 ตารางเมตร
http://landjustice4thai.org/news.php?id=252

ต.ย. ลอยแพชาวบ้าน เมื่อทุนใหญ่ต้องการภาพลักษณ์ที่งามสง่า
มีหนังสือว่าต่อไปบริษัทจะรับซื้อข้าวโพดมีเงื่อนไขคือ
ต้องปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างในพื้นที่ที่มีเอกสิทธิ์ถูกต้อง
หรือพื้นที่ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ
http://www.landjustice4thai.org/news.php?id=278