24 ก.ย.53 โลกไซเบอร์ในปัจจุบันมีภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศหลากหลายรูป แบบและมีเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีผลกระทบต่อองค์กรและที่เป็นส่วนบุคคล การป้องกันในมุมมองด้านกระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ไม่เพียงพอ เพราะจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด คือ “คน” (People) ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันภัยต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงป้องกัน (preventive) และเชิงปรับปรุงแก้ไข (corrective)
ดังนั้น จุดเริ่มและเป็นจุดสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างทักษะหรือความรู้ หรือติดอาวุธทางปัญญาให้กับ “คน” เพื่อให้รู้เท่าทันภัยและสามารถต่อกรกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นผล คือ การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Awareness) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ การอบรม เป็นต้น
การสร้างความตระหนัก (Security Awareness) เป็นมูลฐานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโลกไซเบอร์ ยิ่งมีความตระหนักได้เร็ว ได้ก่อน ได้ทัน ก็จะยิ่งเป็นการป้องกันภัยได้ดีกว่าจะต้องไปทำการแก้ไขเมื่อเกิดผลร้ายของ เหตุการณ์ การริเริ่มให้มีความตระหนักสำหรับกลุ่มเป้าหมายวัยศึกษาจะเป็นการบ่มเพาะที่ ดี ขณะที่การสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มคนวัยทำงานก็จะเป็นการช่วยให้การใช้ งานระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร
http://www.cdicconference.com/ncac2010/ncac2010.htm
Tag: national
หนทางการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์
13 ก.ย.52 งานสัมมนาวิชาการ National e-Learning Day 2009 : A Roadmap to Success in Becoming (World Class) Cyber Universities “หนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์” วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 จัดโดย สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC) โดยมี Prof.Dr.Zoraini Wati Abas, Director, Institute of Quality, Research and Innovation (IQRI), Open University Malaysia, Kuala Lumpur, Malaysia. เป็น Key Note บรรยายผ่านโปรแกรม Skype ชั่วโมงครึ่ง
กิจกรรมสำคัญ คือ การเสวนาวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศถึง 5 ท่าน ได้แก่ 1)ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกล อินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2)ผศ.สุพรรณี สมบุณธรรม ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3)รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย RSU Cyber University มหาวิทยาลัยรังสิต 4)ผศ.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 5)ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมี 6)รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
จากงานประชุมวิชาการ “หนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์” ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล จากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำเสนอประสบการณ์การเปิดหลักสูตรออนไลน์ที่เห็นพ้องต้องกันกับ ผศ.สุพรรณี สมบุญธรรม ผอ.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (thaicyberu.go.th) ว่า การเปิดหลักสูตรออนไลน์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพ และแนวโน้มของหลักสูตรที่มีค่าลงทะเบียนต่ำมักมีอัตราการพ้นสภาพของนักศึกษาสูง แล้วหลักสูตรประเภท “เรียนง่าย จ่ายครบ จบแน่” มักไม่ยั่งยืน
การบรรยายผ่านโปรแกรม Skype โดย Prof.Dr.Zoraini Wati Abas จากมหาวิทยาลัยเปิดมาเลเซีย (OUM = Open University Malaysia) ท่านนำเสนอเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า การเรียนรู้ผสม (Blended Learning) ซึ่งรวมการเรียนแบบพบปะหรือเข้ากลุ่ม (Face-to-Face) การเรียนผ่านสื่อออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนแบบจัดการด้วยตนเอง (Self-Manage Learning) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เสริมการเรียนมีทั้งการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เรียน การจัดทำบทเรียนที่เปิดเรียนได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้สื่อผสม และสถานีวิทยุออนไลน์ โครงการของท่านเริ่มต้นเดือนมกราคม 2552 พบว่าอัตราการพ้นสภาพสูงถึง 25% ต่อภาคเรียน จากการคาดการณ์พบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาของหลักสูตรน่าจะประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยมีหลายหลักสูตรที่เปิดสอนหลังจาก กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2548 อนุญาตให้สถาบันการศึกษาในไทยสามารถเปิดสอนแบบอีเลิร์นนิ่งได้ ซึ่งวิทยากรทุกท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าคุณภาพเทียบเท่าหรืออาจสูงกว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติ
มีการคาดการณ์ว่าในอนาคต มูลค่าของการเรียนการสอนออนไลน์จะเทียบเท่ากับภาคปกติ และจะมีมูลค่านำธุรกิจประเภทอื่นทั้งอีคอมเมิร์ส และอีเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีสิ่งสนับสนุนไปในทางเช่นนั้นทั้งจากการมีเครื่องมือสนับสนุนในอินเทอร์เน็ตมากมายอาทิ เครือข่ายสังคม ชีวิตที่สอง (เช่น SecondLife.com) ระบบรับส่งข้อความ และการยอมรับผู้สำเร็จการศึกษาผ่านระบบอีเลินนิ่งที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
แหล่งอ้างอิง
+ http://itsc.cmu.ac.th
+ http://www.itsc.cmu.ac.th/itsc2008/nelearningday/index.php
+ http://www.charm.au.edu/SCPaper/SCPaper.htm