#เล่าสู่กันฟัง 63-034 เสียงจากสื่อสังคมอาจไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่เสมอไป

ในสื่อสังคม กับ ในชีวิตจริง
ความเชื่อ กับ ความจริง
อาจคลาดเคลื่อนกัน
ไปส่อง tag twitter
นึกถึงคำ ๆ หนึ่งกลางดึก พบว่า โผ่มาจริง ๆ
ส่วนประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก
ก็ทำให้นึกถึงหลัก 20/80
คน 20 ออกมาพูด
คน 80 ตัดสินใจ
บางทีก็รู้สึกเหมือน คน 20
พูดแทนความคิดของคน 80
แต่ความจริง คน 80 เค้าอาจคิดต่าง
บางคนในกลุ่ม คน 20 อาจประหลาดใจได้
#630224

พบภาพจาก twitter

การทำให้ browser รุ่นใหม่ ใช้งาน Applet ของ Java

java verified
java verified

สำหรับห้องปฏิบัติการ หรือห้องสมุด หรือร้านเน็ต
ที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ควรตั้งค่าอะไรบ้าง
นอกจากการแช่แข็งระบบ หรือเรียกคืนอัตโนมัติ
1. มีแผนการอัพเดทซอฟต์แวร์ในเครื่องทั้งหมด ว่าครั้งต่อไปทำเมื่อใด
2. ทำการ update flash ที่อยู่ใน browser แต่ละโปรแกรม
http://www.y8.com/tags/flash
https://support.mozilla.org/en-US/kb/why-do-i-have-click-activate-plugins
3. ติดตั้ง Firewall และปิดบริการทุกอย่าง
4. เข้าไปดู Plug-in ใน Browser ว่าตัวใดไม่ใช้ ก็ให้ลบออก
5. ติดตั้ง java plug-in และ IE Tab ใน chrome
http://www.java.com/en/
คลิ๊ก Do I have Java?
The Chrome browser does not support NPAPI plug-ins and
therefore will not run all Java content.
Switch to a different browser
(Firefox, Internet Explorer or Safari on Mac) to run the Java plug-in

https://chrome.google.com/webstore/detail/ie-tab/hehijbfgiekmjfkfjpbkbammjbdenadd?hl=en
http://java.com/en/download/installed8.jsp
Case : http://www.falstad.com/mathphysics.html
Case : http://www.echoecho.com/applets02.htm
How to : http://www.java.com/en/download/faq/java_webstart.xml
DOS>javaws https://docs.oracle.com/javase/tutorialJWS/samples/uiswing/ActionDemoProject/ActionDemo.jnlp
http://docs.oracle.com/javase/tutorial/uiswing/examples/misc/index.html
6. ปิดการจำทุกอย่าง ทั้ง data และ user ในโปรแกรม Browser

เปิดเว็บไซต์ไม่ได้ เครื่องบอก Unable to connect

เพื่อนยกเครื่องมาให้ดู บอกว่าได้เครื่องมาใหม่ แล้วเข้าเน็ตไม่ได้
จะเป็น chrome, firefox หรือ ie ก็บอกว่าเข้าไม่ได้
เช่น “unable to connect to the proxy server”
เข้าไปตรวจสอบ proxy และ ip และ dns ก็ปกติทุกอย่าง
ใช้ ipconfig, tracert และ ping ก็ไม่พบปัญหา
ข้อมูล IP ปกติหมด
ยกเว้นใช้ nslookup ที่เหมือนไม่รู้จัก DNS

eset firewall blocked dns
eset firewall blocked dns

สรุปเลยครับ
เครื่องลง eset smart security 7 เป็น antivirus
แล้วเปิด function : personal firewall ไว้
เมื่อสั่ง disabled หรือสั่งปิด firewall บน antivirus
ทุกอย่างก็ใช้งานได้ปกติ
คือ nslookup แล้วรู้จัก DNS และใช้ browser เปิดเว็บไซต์ได้ปกติ
ซึ่งผมไม่ได้ตามต่อว่าอะไรขึ้นรายละเอียดของปัญหาที่จะต้องไป reconfig
ผมว่าสั่ง disabled แล้ว work ก็ ok แล้วครับ

แลกเปลี่ยนกับเพื่อนเรื่องการวาด network diagram

SmartDraw ทดลองใช้ได้ 7 วัน
SmartDraw ทดลองใช้ได้ 7 วัน

1 ธ.ค.57 มีเพื่อนบอกว่าอยากวาด network diagram สวย ๆ
และโปรแกรมเก่าที่เคยใช้อย่าง Visio ก็ไม่อยากใช้แล้ว
ผมเสนอว่า Smartdraw ก็น่าสนใจ ใคร ๆ ที่เพื่อนเขารู้จักก็ใช้กันอยู่
วันนี้กลับมาลองทดสอบ Trail version พบว่าใช้ได้ 7 วัน

firewall template
firewall template

ผมว่าน่าสนใจ เพราะเครื่องที่ผมใช้ติด Deepfreeze
จะกลับมาเหมือนเดิมที่ไม่ได้ติดตั้งอะไร เมื่อ Restart
หากทดสอบโปรแกรม ก็จะติดตั้งกันเป็นครั้งคราวไป

watermark in firewall for .png format
watermark in firewall for .png format

ถ้าลงจริงก็ค่อยหาทางกันใหม่ ผมเลือก template ที่มีมาให้
เป็นแบบ firewall ซึ่งดูแล้วรู้สึกคุ้นเคยดี
ปกติ save จะได้ .sdr แต่เปลี่ยนสกุลเป็น .png ได้
รุ่นทดสอบจะนำไปใช้งานจริงไม่ได้
นอกจากจำกัดเวลาแล้ว ภาพที่ได้ยังติดลายน้ำอีก
ถ้าไม่ต้องการให้มีลายน้ำก็ต้อง buy
รุ่น standard ราคา $197
รุ่น Business ราคา $297
รุ่น Enterprise ราคา $497
โปรแกรมนี้ถูกแนะนำใน thaiware ด้วยครับ
แต่เป็นลิงค์ download ตัว installer ขนาดไม่กี่แสนจาก smartdraw.com โดยตรง

network adapter บน win10 ใน virtualbox ไม่ถูก detect

bridge on virtual box
bridge on virtual box

ผมใช้ ASUS Desktop ที่ใช้ UEFI แล้วพบปัญหาหลายข้อ
ปัญหาหนึ่งคือ network adapter ไม่ถูก detect
หลังติดตั้ง win10 preview เป็น guest บน virtualbox
แล้ว network adapter ในเครื่อง win10 มีปัญหาไม่พบ
ให้เข้า network setting แล้วกำหนด bridged adapter
แล้วเลือกกำหนด adapter ใน advanced
ผมเลือก Intel Pro/1000 MT จากนั้นใน win10
ก็ต่อเน็ตออกมาได้ปกติ
พร้อมกับได้ ip จาก router ที่ต่างกับ ip ของ host
กรณีนี้ Host ได้ IP จาก Router คือ 192.168.2.9
ส่วน router มี IP คือ 192.168.2.1
โดย guest ได้ IP คือ 192.168.2.5

ภาพการติดตั้ง win10 บน virtual box ที่

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152771544042272.1073741873.350024507271

ประชุมร่วมกับอาจารย์จาก fukui university of technology

fukui & ntu meeting
fukui & ntu meeting

21 พ.ค.57 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นทั้งผู้บริหาร และคณาจารย์
นำโดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี ได้ประชุมร่วมกับ
Prof.Fumio Nakayasu (Head of International Center of FUT)
และ Ms.Ayako Kobayashi (Chief of an International Center)
จากมหาวิทยาลัย fukui ประเทศญี่ปุ่น
http://www.fukui-ut.ac.jp
เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการ
การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ หลักสูตรร่วม
จัดกิจกรรมศึกษาในต่างประเทศทั้งระยะสั้น ทั้งตรีและโท และการโอนหน่วยกิต เป็นต้น

fukui document
fukui document

fukui document
fukui document

ตามเอกสารนำเสนอข้อมูลมหาวิทยาลัย Fukui
ทำให้ทราบว่าที่ fukui กำลังดำเนินการเปิดหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กีฬาและสุขภาพ (Sport & Health Science)
ซึ่งเชื่อมโยงกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเนชั่นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก่อนหน้านี้มีคณะออกแบบ และคณะไอทีให้ความสนใจ เสนอหัวข้อ
โดยผลการประชุม ทางญี่ปุ่นจะนำไปหารือกับคณะวิชาต่าง ๆ
และจัดทำแผนต่อไป ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องช่วงเวลาและรูปแบบเป็นสำคัญ
ซึ่งฝ่ายเมืองไทยได้กำหนดแผนจัดประชุมวิชาการ ntc2014
ในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากติดขัดเรื่องการเปิดปิดภาคเรียนก็อาจกำหนดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.637111256365963.1073741984.228245437252549

ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านอธิการบดี  Prof. Dr.Yotaro Morishima
ของ Fukui University of Technology
ได้มาเป็น keynote speaker ในงานประชุม ntc2014
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2557 ในหัวข้อ
Challenges of Japanese Universities in the Borderless Era
http://www.thaiall.com/blog/burin/5733/
http://blog.nation.ac.th/?p=2887

อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

TECH 100 สื่อและเทคโนโลยี (Media and Technology) 2(1-2-4)
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีและสื่อรูปแบบใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย การสืบค้นข้อมูล เครือข่ายสังคม โปรแกรมประยุกต์สำนักงาน การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ความปลอดภัย คุณธรรม จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์

MATH 100 กิจกรรมประจำวันกับตรรกเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Logic in daily Activity) 2(2-0-4)
ศึกษาระบบจำนวนจริง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหา การคำนวณกับกิจกรรมประจำวัน ตรรกศาสตร์และการประยุกต์ใช้ ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจ

SCIE 100 สิ่งแวดล้อมกับชีวิต (Environment and Life) 2(2-0-4)
ศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับบุคคล ท้องถิ่นและสากล

topic
– fundamental of technology
– new media
– computer system
– network system
– searching
– social network
– social media
*
– office application
– multimedia creating
– security
– Moral and Ethics

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

งานวิจัยของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง

research lampang
research lampang

สกว. และสถาบันคลังสมองของชาติ ให้ทุนอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และมีอาจารย์ในลำปางหลายท่านรับทุน อาทิ อาจารย์อัศนี  ณ น่าน อาจารย์วิเชพ  ใจบุญ อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย และผม ร่วมเป็นนักวิจัย รับทุนรวม 3 ระยะ โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล รับทุนรวม  490,250 บาท สำหรับ 1 ปี 6 เดือน หลังประชุมใหญ่ร่วมกับชุมชนครั้งแรก พบประเด็นทั้งหมด 6 ประเด็น คือ การศึกษา การเกษตร กลุ่มอาชีพ สุขภาพ เยาวชน และสิ่งแวดล้อม

ผลการประชุมทีมวิจัย และนัดหมายใน 6 เดือนแรกเบื้องต้น (เข้าชุมชนตามลำดับ 4 ประเด็นแรกข้างต้น) ดังนี้ 1) 19 ก.พ.54 2) 12 มี.ค.54 3) 8 เม.ย.54 และ 4) 23 เม.ย.54 (สำหรับวันที่ 23 เม.ย.54 มหาวิทยาลัยโยนกเป็นเจ้าภาพ กำกับการประชุมกับชุมชน ประเด็นสุขภาพ) ถ้าเข้าพื้นที่ตามแผนในแต่ละประเด็นแล้ว แต่ละกลุ่มวิชาการ หรือกลุ่มมหาวิทยาลัย สามารถเขียนข้อเสนอประมาณ 5 โครงการ เพื่อใช้ทำงานในระยะที่ 2 โครงการละ 20,000 บาท ทำให้การเข้าชุมชนตามประเด็นข้างต้น นำไปสู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และทำงานต่อในระยะที่ 2 ร่วมกันของนักวิชาการในจังหวัดลำปาง สำหรับระยะที่สามเป็นบทบาทของคลังสมองจะมาสังเคราะห์บทเรียน

ยอดผู้เข้าร่วมประชุมจาก ทีมมทร. 2 ท่าน โยนก 2 ท่าน นศ. 10 คน กศน. 1 ท่าน มรภ. 3 และอาจารย์ที่สนใจอีก 2 ท่าน ทีมสกว.ฝ่ายท้องถิ่น และสกว.ลำปาง นอกจากนี้ยังมีทีมพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของทั้ง 14 หมู่บ้าน ประมาณ 3-5 คน ค่ะ

หมายเหตุ
โครงการวิจัย “แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

มีข้อเสนอโครงการ
ที่ http://www.thaiall.com/research/lampangnet/proposal_lpnet_5401.zip