ซื้อคอมพิวเตอร์มา แล้วได้อะไร

new program from siamtv it clinic
new program from siamtv it clinic

วันนี้ไปซื้อคอมพิวเตอร์มาเครื่องหนึ่ง จาก siamtv ลำปาง
เห็นป้ายลดจาก 16990 เหลือ 14990 บาท
นั่นเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เลือกซื้อ
แล้วก็ยังติดตั้ง Windows 10 มาพร้อมกับตัวเครื่อง มีการ์ดจอในตัว
ขั้นตอนการสำรวจเครื่องเบื้องต้น
1.  เมื่อเข้าไปดูใน Control Panel, System and security, System
พบ
Windows edition
Windows 10 Home Single Language
ซึ่งได้ทำ Windows Activation มาเรียบร้อยแล้ว
System
Model : Acer – Aspire E5-475G
Processor : Intel(R) Core(TM) i3-6006U CPU @2.00GHz 1.99 GHz
Installed memory (RAM): 4.00GB (3.88 GB usable)
System type: 64-bit Operation System, x64-based processor
2. Device Manager
ไม่พบปัญหาเรื่อง Driver และใน Display adapters
พบ NVIDIA Geforce 940MX และ Intel(R) HD Graphics 520

3. This PC, Manage, Disk Management
พบ Disk 0 แบ่งเป็น
C: พื้นที่ 232.87 GB NTFS
D: พื้นที่ 231.77 GB NTFS
รวมกันก็น่าจะใกล้ 500 GB เพราะที่เหลือถูกใช้ทำอย่างอื่น
แล้วใน D: ก็วางเปล่า เหมาะกับการไว้เก็บอะไรอะไรได้

4. network กับ speaker ใช้ได้ เชิงประจักษ์
เปิดเว็บ speedtest.net จากลำปาง ไปเชียงใหม่ ตอน 2 ทุ่ม ผ่าน wifi
Download 36.24 Mbps
Upload 14.50 Mbps
ก็น่าจะ ok แล้วครับ
เพราะใช้ TOT Fiber 2 U
FTTx 20Mb/5Mb 590 บาท

5. โปรแกรมที่ไอทีคลินิกลงให้
– CCleaner (Free)
โปรแกรมทำความสะอาดเครื่องด้ายการลบแฟ้มที่ไม่จำเป็น
– WinRAR 5.20 (Evaluation copy)
โปรแกรมบีบอัด และคลายแฟ้มที่ถูกบีบอัด
– Unity Web Player
Unity Web Player is a plug-in for your browser that allows you to play games and watch great 3D content developed with the Unity game engine.
https://unity3d.com/showcase/gallery/games
http://th.y8.com/games/slope
– AIMP3
โปรแกรมเปิดแฟ้มเสียง
– Adobe AIR (AIR = Adobe Integrated Runtime)
ทำให้ OS รองรับโปรแกรมที่พัฒนาบน Adobe AIR ได้
ตัวอย่างที่ http://www.hongkiat.com/blog/60-useful-adobe-air-applications-you-should-know/
– Adobe Flash Play 16 NPAPI
รองรับแฟ้มมัลติมีเดีย
– Edraw Max 7.7
โปรแกรมวาดไดอะแกรมที่หลากหลาย
– Google Chrome (47.0.2526.106m => 59.0.3071.115)
โปรแกรมบราวเซอร์
– Lexitron dictionary 2.6
โปรแกรมดิกชันนารี่
– Line
โปรแกรมติดต่อสื่อสาร
– Mozilla Firefox 40.0 (=> 44.0b1)
โปรแกรมบราวเซอร์
– Mozilla Maintenance Service
เป็นบริการช่วย update รุ่นใหม่ของ Firefox หรือ Thunderbird
– Nero 8 Lite 8.3.6.0
โปรแกรมเขียน CD
– PhotoScape
โปรแกรมจัดการภาพครบวงจร
– Picasa 3
โปรแกรมจัดการภาพครบวงจร
– The KMPlayer (remove only)
โปรแกรมดูหนัง
– VLC Media player
โปรแกรมดูหนัง
– WebcamMax
โปรแกรมแต่งเว็บแคม
– LibreOffice 4.4.5.2
โปรแกรมสำนักงาน
– Microsoft Visual C++ 2005 Redistributable
เครื่องมือช่วยให้โปรแกรมอื่นทำงานได้สมบูรณ์
– Microsoft Silverlight
Silverlight is a powerful development tool for creating engaging, interactive user experiences for Web and mobile applications.
Silverlight is a free plug-in, powered by the .NET framework and compatible with multiple browsers, devices and operating systems, bringing a new level of interactivity wherever the Web works.
– Adobe Reader XI (11.0.10)
โปรแกรมอ่านแฟ้ม PDF

siamtv promotion
siamtv promotion

เก่าไปใหม่มากับการ์ดยี่สิบ (itinlife412)

desktop pc sales usage prediction
desktop pc sales usage prediction

http://www.the4thdimension.net/2010/12/are-desktop-computers-obsolete-or-dead.html

25 ส.ค.56 คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะเห็นบริษัทด้านคอมพิวเตอร์ประกาศยุติกิจการ แล้วนึกถึงคำว่าการ์ดยี่สิบ ที่เป็นเรื่องเล่าจากเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เล่าให้ฟังในกลุ่มนักศึกษาทางภาคเหนือ ว่ามีนักศึกษาในสถาบันหนึ่งใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงไม่ได้ แล้วเพื่อนก็แนะนำว่าต้องซื้อซาวด์การ์ด (Sound Card) มาเสียบเพิ่ม จึงจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่งเสียงออก และรับเสียงเข้าได้ แต่คำว่าซาวด์ ในภาษาเหนือหมายถึง 20 ดังนั้นนักศึกษาก็ไปถามที่ร้านว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ ซักไซ้กันอยู่พักหนึ่งจึงทราบว่าอะไรเป็นอะไร

ปัจจุบันคงไม่มีใครไปถามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีแล้วว่ามีการ์ดยี่สิบหรือไม่ เพราะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมานานกว่าสิบปีแล้ว และปัจจุบันก็พบว่าร้านส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบเสร็จวางไว้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และแท็บเล็ตพีซี (Tabletpc) ซึ่งผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือกอุปกรณ์ภายใน เพราะบริษัทผู้ผลิตห้ามร้านค้าทั่วแกะเครื่อง ถ้าแกะก็จะถือว่าข้อตกลงในการรับประกันสิ้นสุดลง ยกเว้นว่ามีปัญหาใช้งานไม่ได้ก็จะส่งไปแกะเครื่องที่ศูนย์ซ่อมของผู้ผลิตเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีพนักงานซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือมีอะไหล่ในร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์น้อยมาก

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และปัจจัยจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้จำหน่าย หรือผู้เกี่ยวข้องในสายนี้ทั้งหมดมีแนวโน้มปิดตัวลงอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ซื้อไม่ซื้อเครื่องตั้งโต๊ะ  ร้านจำหน่ายไม่สั่งของเพิ่ม บริษัทย่อมอยู่ไม่ได้ แนวโน้มของผู้บริโภคคือใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเข้าอินเทอร์เน็ตแทนโน๊ตบุ๊ค ส่วนเครื่องโน๊ตบุ๊คมียอดขายทรงตัว สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะในไทยมียอดจำหน่ายลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้นเป็นเครื่องเซอร์ฟเวอร์ (Computer Server) สำหรับให้บริการในองค์กร พบค่าสถิติในอเมริกาปีค.ศ. 2008 เครื่องแท็บเล็ตมีส่วนแบ่ง 9% แต่คาดว่าจะเป็น 23% ในปีค.ศ.2015 ส่วนโน้ตบุ๊คและเน็ตบุ๊คมีส่วนแบ่งราว 60% และจะลดลงไม่กี่เปอร์เซ็น แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเคยมีส่วนแบ่ง 45% คาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 18% เท่านั้น ยุคต่อไปของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นยุคของแท็บเล็ตพีซีและโน๊ตบุ๊คอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วผู้จำหน่ายก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ครองตลาดในปัจจุบัน

สถิติการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่โยนก

12 ก.ค.53 ผลสำรวจการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (Freshy)  หลังจากนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งไปแล้วหนึ่งเดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาทุกคณะวิชาจำนวน 60 ตัวอย่าง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อศึกษาความเข้าใจในการใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยท์สำหรับงานนำเสนอ แล้วนำมาปรับกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน โดยคำถามหนึ่งที่น่าสนใจคือการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานแบบโน๊ตบุ๊ค หรือแบบตั้งโต๊ะ แม้ผลสำรวจนี้จะมีกลุ่มตัวอย่างไม่มากนัก แต่สามารถนำเสนอสถานภาพด้านการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาไทยในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งได้ในเบื้องต้น
     นักศึกษาใหม่ที่เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานร้อยละ 76.67 โดยนักศึกษาในสาขาวิชาด้านคอมพิวเตอร์มีร้อยละ 80 ซึ่งไม่แตกต่างกันนัก แสดงให้เห็นว่าค่านิยมในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์เท่านั้น เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค (Notebook) ร้อยละ 71.74 และแบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ร้อยละ 28.26 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับยอดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือมียอดขายแบบโน๊ตบุ๊กจะสูงกว่าแบบตั้งโต๊ะ
     เมื่อพิจารณาความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม PowerPoint ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบว่านักศึกษามีความรู้ในการใช้งานโปรแกรมนี้มาก่อนเข้าศึกษามีอยู่เพียงร้อยละ 35 แต่ปัจจุบันมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาหลายแห่งสอนการใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ทั้ง Word , Excel , PowerPoint จนถึงการตัดต่อวีดีโอ บางโรงเรียนมีการแข่งขันสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงแสดงให้เห็นว่ามิใช่ทุกโรงเรียนที่จะมีมาตรฐานการศึกษาในทิศทางเดียวกันที่จะสนับสนุนให้นักเรียนได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แล้วพบว่าผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมิได้มีความรู้เรื่อง PowerPoint มากกว่าผู้ที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แสดงว่าแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในครอบครองแล้ว นักศึกษาใหม่ก็มิได้ใช้ศึกษาการงานโปรแกรมนี้ จึงเป็นคำถามว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักศึกษามีใช้งานนั้น ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของตนอย่างไร
+ http://www.thaiall.com/office/eval_comp100_531.xls

ปรับค่า config ของเครื่องในห้องปฏิบัติการ

7 มิ.ย.53 เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการทำงานช้ามาก จึงดำเนินการลดจำนวน software ที่ประมวลผลโดยไม่จำเป็น เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี response กับผู้ใช้ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะบูทเครื่องและปิดเครื่องได้เร็วขึ้น ซึ่ง software พิเศษที่ปิดบริการไปมีดังนี้
– ยกเลิกแสดง volume icon in the taskbar
– ยกเลิก MSN ใน msconfig
– System, Remote ยกเลิก Allow Remote Assistance
– ยกเลิก Lotus note realtime ใน symantec
– ยกเลิก Microsoft Exchange realtime ใน symantec
– ยกเลิก System Restore
– ยกเลิก Power Options, Hibernate

ส่วนใน services.msc ได้ยกเลิกรายการดังนี้
– Automatic Updates
– Error Reporting
– Event Log
– Help & Support
– Task Schedule
– Themes
– Widows Audio
– Windows Firewall/ICS
– Wireless Zero Configuration
ในเบื้องต้นปรับไปเพียงเท่านี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ทำงานเร็วขึ้น
+ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/security/indexo.html

เชื่อม wireless adapter กับ wireless adapter ในบ้าน

home network

17 พ.ค.53 จากเหตุที่ในบ้านมีเครื่อง PC กับ ADSL Router และมี Wireless Adapter แบบ USB ตัวหนึ่งยี่ห้อ SMC แต่ไม่มี Access Point ที่ปล่อยสัญญาญ Wireless
แล้ววันหนึ่ง มีเพื่อนหลายคนหิ้ว Notebook มาทำรายงานที่บ้าน ขอใช้ Wireless เพราะคิดว่าบ้านผมมี Hot spot แต่ผมไม่มี  Acess point ปล่อยสัญญาณ Internet จึงปรับให้ PC เปิดบริการเน็ตไร้สายใช้วิธี Peer-to-Peer แบบ Adhoc ผ่าน ICS ซึ่งเป็นการทำให้เครื่อง PC และ Wireless Adapter รวมกันเป็น Access Point ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แล้วเชื่อมอัตโนมัติออกไปทาง UTP ที่ PC เชื่อมอยู่กับ ADSL Router อาจอธิบายได้ตามภาพ (Bridge Connection คือการเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครือข่าย)

มีขั้นตอนการติดตั้งใน PC 7 ข้อแรก ส่วนข้อ 8 ดำเนินการกับเครื่องเพื่อน มีขั้นตอนดังนี้ 1) เข้า Control Panel, Add/Remove Program เพิ่มโปรแกรม Network Services/Peer-to-Peer ของ Windows 2) ติดตั้ง Wireless Adapter ให้เรียบร้อยสำหรับเครื่องที่ต่อสายแลนและเป็นเครื่องที่จะเปิดเป็น Access Point ถ้าเป็น Notebook ที่มี Wireless จะมีอยู่ในเครื่องแล้วไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่ม แต่ถ้าเป็น PC ก็ต้องหาอุปกรณ์แบบ USB มาติดตั้งเพิ่มตัวหนึ่งประมาณ 5 ร้อยบาท 3) เข้า Control Panel, Network Setup Wizard เพื่อทำให้เครื่องบริการ ICS เชื่อมระหว่าง Wireless Adapter และ UTP มีผลให้เครื่อง PC บริการ DNS กับเครื่องที่เข้ามาเกาะสัญญาณไร้สาย แล้วผ่านออกไปทางสายแลนได้ ในระหว่างติดตั้งให้เลือก This computer connects directly to the Internet. The other computers on my network connect to the Internet through this computer. ถ้าให้เลือก Local Area Connection ก็เลือกแบบ LAN Card ที่ออก UTP 4) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Advanced, Computer-to-computer (ad hoc) networks only 5) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Add Network name(SSID), WEP, Network Key
6) เลือก Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.1, Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1 จะต่างกับการตั้ง LAN เข้ากับ ADSL ที่ติดตั้งก่อนหน้านี้ สำหรับ Gateway ของผมเป็น 192.168.1.1 7) เลือก Properties ของ Local Area Connection Status ,  Advanced, แล้ว Check บน Allow other network users to connect through this computer’s Internet connection 8 ) ในเครื่องของเพื่อนที่กรอกรหัส Network key แล้ว สามารถปล่อยให้รับ IP อัตโนมัติ หรือไปกำหนด Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.2 ถึง 255 , Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1

งานนี้ทำเพื่อให้บริการชั่วคราวกับเพื่อนที่นำ Notebook มาใช้ ทำให้ผมไม่ต้องไปหายืม Access point ที่ไหนมาติดตั้งเพิ่มครับ สะดวกไปอีกแบบ แต่จะสะดวกกว่านี้ถ้าไปซื้อ Access Point มาเชื่อมเพิ่ม หรือ ADSL ตัวใหม่ที่บริการ Wireless แล้วบริการ Hot spot แบบที่ร้านกาแฟเขาบริการ ซึ่งผมมีแผนนั้นในใจแล้ว และรอว่าตัวเก่าเสียเมื่อใดจะหาซื้อรุ่นที่สมเหตุสมผลมาใช้ครับ

Key working to share wireless adapter : 1) Windows Components, peer-to-peer 2) check wireless & lan 3) Network Setup Wizard 4) Wireless network, computer-to-computer 5) Add, SSID, WEP, Network Key 6) Set static IP of wireless adapter 7) Advanced, Allow other network user 8) goto Client Computer and setup
TOT DNS 203.113.24.199 203.113.127.199
+ http://www.arip.co.th/articles.php?id=406532
+ http://www.youtube.com/watch?v=Cgfg4myKkXE
+ http://www.thaiall.com/datacomm/
+ http://bit.ly/AiVlvW [thaiware]
+ http://jirayu.in.th/2013/05/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-windows-8-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-wifi-hotspot/ [win7,win8]

สองจอภาพสองโปรแกรมจากหนึ่ง notebook

2 จอภาพ กับ 2 โอเอสในเครื่องเสมือนจริง
2 จอภาพ กับ 2 โอเอสในเครื่องเสมือนจริง

15 พ.ย.52 การต่อ 2 จอภาพออกจาก notebook ก็ใช้หลักเดียวกับการต่อ notebook กับเครื่องฉาย projector คือ ต่อผ่าน vga port แล้ว ก็เห็นทั้งจอ projector และ จอ notebook เหมือนกัน ถ้าต้องการเห็นต่างกัน คือ ออก 2 จอแล้วแสดงผล 2 โปรแกรมที่ต่างกัน ก็ทำได้ไม่ยากเลยด้วย 4 ขั้นตอน
     มีขั้นตอนดังนี้ 1)กดปุ่ม fn + f8 สั่งให้แสดงผลทั้งทางจอ projector และจอ notebook ซึ่งให้ผลเหมือนกัน ได้ทดสอบกับ ASUS Notebook แล้วใช้ได้ แต่ยี่ห้ออื่นอาจใช้ fn + f5 2)right click บน desktop เลือก Properties, Settings จะพบจอที่มีเลข 1 ขนาดใหญ่ทางซ้าย และจอที่มีเลข 2 ขนาดเล็กกว่าทางขวา 3)click บนจอเลข 2 และ click checkbox หน้าคำว่า Extend my Windows desktop onto this monitor และกดปุ่ม Apply แล้วกดปุ่ม Identity จะพบเลข 1 บนจอ Notebook และพบเลข 2 บนจอ Projector 4)การทดสอบใช้จอเลข 2 ของจอ Projector ซึ่งอยู่ทางขวา คือ เปิดโปรแกรม Internet Explorer แบบย้ายได้ แล้วก็ย้าย (move) ด้วยการใช้ mouse กด title bar แล้วย้ายให้เลยขอบออกไปด้านขวา ผลคือโปรแกรม Internet Explorer จะไปแสดงผลในจอ Projector ซึ่งการใช้งานก็เสมือนกับจอ 2 จอนี้ติดกันอยู่ แล้วใช้ mouse เลื่อนไปมาระหว่าง 2 จอได้โดยอิสระ สิ่งที่ต่างกันชัดเจนคือจอเลข 2 ไม่มี taskbar เป็นของตัวเอง
     พบเรื่องนี้ เพราะซื้อสาย VGA M/M เส้นละ 150 ในงาน motorshow 2009 มาต่อ notebook ออกแอลซีดีทีวี เพื่อทดสอบการใช้โปรแกรม Virtual Box ที่ติดตั้ง Windows 2003 บน Windows XP ทำให้ผลการทดสอบครั้งนี้ได้ 2 ระบบปฏิบัติการที่ประมวลผลพร้อมกันออกได้ 2 จอภาพ จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว .. จะได้แนะนำใครต่อใครว่าเวลาฉายออก projector ไม่ต้องใช้ปุ่ม freeze projector เพราะวิธีนี้ทำให้สามารถทำงาน 2 อย่างในเวลาเดียวกันได้เลย

ติดตั้ง plawan central log เพิ่มอีก 1 OS แทน boot แบบ Live CD

19 ก.ค.52 ติดตั้ง Plawan Central Log Beta2 ที่ download แฟ้ม .iso จาก plawan.com เมื่อ 17 กค.52 แล้วเขียนลง CD โดยมีขั้นตอนหลัง Boot ด้วย CD ของ Plawan เพื่อติดตั้งใน Asus T3400 ดังนี้ 1)Boot ด้วย CD-ROM ใช้เวลากว่า 10 นาทีกว่าจะ boot เสร็จ 2)Prepare disk space ผมเลือก Manual เพราะไม่แน่ใจว่าระบบอัตโนมัติแบ่งนั้นจะกระทบอะไร และผมก็ไม่ได้ใช้ HD ทั้งหมดสำหรับ Linux ตัวนี้ 3)เลือก Free space ใน Device สุดท้ายที่เคยใช้ Partition magic แบ่งไว้ ซึ่งมีทั้งหมด 44 GB แต่มีแผนใช้กับ Plawan เพียง 22 GB 4)แบ่ง Partition เป็น ext3 สำหรับ / หรือ root เพียง 20 GB 5)แบ่ง Partiton เป็น swap area เพียง 2 GB 6)เลือก Migrate Documents and Settings แล้ว checkbox เฉพาะของ sda1 หรือ Windows ตัวหลัก เพื่อนำมาใช้ใน plawan แต่ลูกของ sda1 ผมไม่ได้เลือกเลย ได้แก่ Internet explorer, Wallpaper, User Picture, My Documents, My Music และ My Pictures 7)จากนั้นก็ดำเนินการติดตั้ง ซึ่งทำให้เกิด Partition ทั้ง 2 ข้างต้น และมีการแก้ไข boot ใน sda ซึ่งใช้เวลาติดตั้งโปรแกรม และ download รวมชั่วโมงกว่า 8 ) เมื่อติดตั้งแล้ว ก็สั่ง restart จะพบว่า boot ด้วย grub ก่อน loader ของ windows

23 ก.ค.52  บันทึกผลการทดสอบใช้งาน plawan central log 2 เรื่อง คือ 1)การเข้า root ของ plawan จะเข้าผ่าน login ด้วย user root ไม่ได้ ต้องใช้ user ปกติเข้าไปก่อน เมื่อพบ Desktop ก็ให้ Right Click, Applications, Shells, sudo -i ถ้าใส่รหัสผ่านถูกก็จะพบเครื่องหมาย # เมื่อใช้ pwd ก็จะพบว่าอยู่ใน ห้อง /root (แหล่งอ้างอิง linuxthai.org) 2) ในระบบ Multi OS ผมต้องการ boot Windows ซึ่งอยู่ลำดับที่ 3 แต่ค่า default มี Plawan อยู่ลำดับที่ 0 ต้องเข้าไปใน /boot/grub แล้วเปิดแฟ้ม menu.lst ด้วย vi แล้วแก้ default 0 เป็น default 3 ก็จะเข้า Windows อัตโนมัติในกรณีไม่เลือก OS ตัวใด้

กำหนดลำดับการ boot ของ notebook

18 ก.ค.52  Notebook สามารถกำหนด Boot Device Priority ตามลำดับจาก Hard Drive, Cd/DVD, Removable Device และ Network การเปลี่ยนลำดับย่อมมีเหตุผล สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้อยู่จะกำหนดใหม่เป็น Cd/DVD, Removable Device,   Network และ Hard Drive เพราะต้องการให้เครื่องสามารถ boot ด้วย CD-ROM หรือ Handydrive ก่อนเข้า Harddisk และเมื่อเข้า Bios ได้ก็ควรกำหนดรหัสผ่านสำหรับเข้าไปแก้ไขให้เรียบร้อย เพราะปกติจะไม่มีรหัสป้องกันเมื่อได้เครื่องใหม่มา สำหรับเครื่อง Acer PC พบว่า Removeable Device จะใช้คำว่า USB-ZIP แทนครับ

เตรียมเครื่องไว้รวมพลคนใช้ notebook สู่ภัยไวรัส

13 ก.ค.52 วันนี้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ ASUS คุณสมบัติ คือ Pentium T3400 2.16 GHz, Ram DDRII SO-DIMM 2 GB ของ KingMax, HD 250 GB ในกล่องเครื่องคอมพิวเตอร์มี Driver CD-ROM แถมมา 3 แผ่น แผ่นแรก คือ F80Q : N3033 สำหรับระบบปฏิบัติการ XP แผ่นที่สอง คือ F80Q : N2790 สำหรับระบบปฏิบัติการ Vista แผ่นที่สาม คือ โปรแกรมแถมมาที่ไม่น่าสนใจพอที่จะให้ผมทดลองติดตั้งใช้งาน เครื่องที่ได้มาติดตั้งระบบปฏิบัติการไปเรียบร้อยแล้ว โดยกำหนด Drive C ให้มีโปรแกรมเพียง Drive เดียว ส่วน Drive D เป็น CD-ROM และ Drive E กับ Drive F เป็นห้องเปล่า ซึ่งมีการแบ่ง Drive ไว้ 3 Drive ขนาด 77 GB เท่ากันหมด

     วันนี้จึงทดสอบติดตั้งระบบปฏิบัติการเพิ่มอีก 3 รุ่นลงไปในเครื่องเพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ โดยเลือกให้ Drive C มี 1 ระบบ Drive E มี 2 ระบบ และ Drive F เป็น Server อีก 1 ระบบ ก็ได้คำแนะนำจากคุณอนุชิต ยอดใจยา เรื่องระบบปฏิบัติการแต่ละรุ่น และการ setup wifi ของ ASUS ที่มีความซับซ้อนอยู่บ้าง ส่วน driver ผมติดตั้งแบบจากแผ่นทุกตัวบนทุกระบบปฏิบัติการ ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อระบบ ตอนติดตั้ง driver เครื่องจะสั่ง restart ตัวเอง ผมก็ไปหยุดการ restart ด้วยคำสั่ง shutdown -a พอตั้งสติได้ว่า นั่นคือการสั่ง reboot เพื่อ clear config ก็สั่ง restart ให้เขาอีกครั้ง

          อุปสรรคที่ทำให้คนใจร้อนอย่างผมไม่สบายใจนัก คือ แผ่นซีดีที่เตรียมไว้ มีปัญหากันทุกแผ่น ต้องคอยสั่ง skip file ที่เสีย และหวังว่าจะไม่กระทบต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการหลัก ตัวอย่างเช่น ระบบ Server ที่ผมพยายามติดตั้งไปถึง 3 รอบ เพราะแฟ้มเสียในขณะคัดลอกแฟ้ม ก็สงสัยว่าเกิดอะไรกันแน่ พอสั่ง skip file จนดำเนินการไปถึงการติดตั้งเสร็จ ก็ไม่มีอาการอะไรน่าเป็นห่วง คงต้องไปลุ่นตอนใช้งานแต่ละฟังก์ชันของระบบ ส่วนระบบสุดท้ายติดตั้งเพิ่มเข้าไปกับระบบที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ มีอาการค่อนข้างหนัก เพราะติดตั้งภาษาไทยไม่สำเร็จ มีข้อความแจ้งว่าแฟ้มเสียติดตั้งไม่ได้ ก็ต้องทำใจและติดตั้งเข้าไปแบบไม่ใช้ภาษาไทย คงสรุปว่าแผ่นซีดีสมัยนี้อายุสั้นกันเหลือเกิน แผ่นที่ดีที่สุดของวันนี้เห็นจะมีแต่ driver ที่แกะออกมาจากกล่องเท่านั้นที่ไม่เกเร

     นี่ก็ดึกมากแล้วพอเที่ยงคืนแล้วตาฟาง (ดังคำว่าสัตว์โลกย่อเป็นไปตามกรรม) จึงมีแผนว่าวันต่อ ๆ ไปว่าจะลง deepfreeze ใน drive c จะได้ไม่มีไวรัสมากวน และติดตั้ง linux อีก 2 ระบบคือ fedora กับ plawan แต่ต้องหาโปรแกรม partition magic มาแยก partition สำหรับติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ทีแรกว่าจะทำให้เสร็จวันนี้ แต่หาโปรแกรมไม่พบซะแล้ว ถ้าเรียบร้อยก็จะเตรียมระดมพลคนใช้โน๊ตบุ๊ค และแนะนำการติดตั้งหลายระบบปฏิบัติการ พร้อมการติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสแบบแยกระบบปฏิบัติการ และการลง deepfreeze แช่แข็งระบบปฏิบัติการหลัก จะได้ไม่มีปัญหามากวนใจเครื่องของผู้ใช้โน๊ตบุ๊คอีก ส่วน linux ก็ติดตั้งเพื่อช่วยงาน และเรียนรู้ร่วมกับ คุณอนุชิต ยอดใจยา นั่นหละครับ เห็นเขาดูแลเครื่องบริการเพียงลำพังแล้วก็อยากเรียนรู้ด้วยตามประสาคนคุ้นเคย