ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า กกอ. จะเข้มงวดกับศูนย์นอกที่ตั้ง ว่าต้องผ่านการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมาก
ขอแค่ระดับดี หรือ พอใช้ไม่ได้แล้ว พอไปค้นดูก็พบจาก 2 สื่อ คือ ไทยโพสต์ กับเดลินิวส์ เมื่อกลางสิงหาคม 2555
แล้วได้ยินนักวิชาการพูดเรื่องนี้ว่าต่อไปจะเหมือนออก license เป็นใบเขียว ใบเหลือง และใบแดง ผมฟังแล้วเหมือนสัญญาณไฟตามแยกของถนนเลยครับ ที่มีสัญญาณ 3 ประเภท
—
1) ออกกฎเหล็กการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องให้รมว.ศธ.เซ็น/หลังผลตรวจล่าสุดน่าระอาไม่ผ่านประเมินอื้อ (ไทยโพสต์)
สกอ.เตรียมประกาศ เพิ่มขั้นตอนการเปิด และคงหลักสูตรการเรียนศูนย์นอกที่ตั้งมหาวิทยาลัย เบื้องต้นเพิ่มความเข้มงวดมหา’ลัยที่เปิดได้ต้องให้ รมว.ศธ.เห็นชอบ และต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก โดยจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ “กำจร” เผยผลตรวจศูนย์นอกที่ตั้งประจำปี 2555 พบหลักสูตรไม่ผ่านการประเมินอื้อ ส่วนใหญ่เป็นระดับ ป.ตรี สั่งออกมาตรการแล้ว หลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินต้องหยุดรับนักศึกษาปี 56 ทันที
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินจำนวน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร พบว่า มีหลักสูตรผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ทั้งนี้ หลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรี อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ สกอ.ไปตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้ง ซึ่งยังไม่ถึงคิวประเมินได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ดังนั้นจะมีศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
รองเลขาฯ กกอ.กล่าวต่อว่า ผลการตรวจประเมินดังกล่าวทำให้ กกอ.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับเพิ่มเล็กน้อย ก่อนที่จะเสนอนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไปหากมีร่างดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่สถาบันไหนจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป และที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาจนเกิดปัญหาเหมือนปัจจุบันนี้
ส่วนสาระสำคัญของร่างดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการ ก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน ขณะที่หลักสูตรที่จะเปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งเปิดสอนในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรที่จะเปิดสอนนั้นจะต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน
สำหรับผลการตรวจประเมินศูนย์นอกที่ตั้ง ทาง สกอ.จะแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการประเมินรับทราบ และหากสถาบันใดต้องการจะทักทวงผลการตรวจประเมินต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ตั้งแต่ได้รับทราบผลจาก สกอ. สำหรับหลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นจะต้องไม่เปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่.
—
2) สกอ.มั่นใจจัดระเบียบสอนนอกที่ตั้งได้ผล (เดลินิวส์)
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.- 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจประเมินใน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร โดยพบว่า มีที่ผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ซึ่งหลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และจากการตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้งได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ทำให้เหลือศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะสรุปผลการตรวจประเมินแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ เพื่อให้สถาบันทักท้วงผลการตรวจประเมินภายใน 30 วันนับจากได้รับทราบผล ทั้งนี้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นมีผลทำให้สถาบันไม่สามารถเปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า กกอ.ยังได้เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับปรุงเล็กน้อยก่อนที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการลงนาม และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนสถาบันที่จัดไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป ที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว
“สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งต้องเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน” รศ.นพ.กำจร กล่าว.
—
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง