เข้าไปหาลูกค้า กับ ลูกค้าเข้ามาหา

การค้าขายออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ตาม
หากมองในประเด็นเรื่อง การเข้าหา หรือ การได้มา (Acquirement)

ก็จะมีสองมุม คือ เข้าไปหา กับ เข้ามาหา

  1. การเดินเข้าไปหาลูกค้า (Walk out)
    ผู้ค้าจะต้องใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะเวลาค่อนข้างมาก
    ต้องรู้ว่าลูกค้าคือใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ เข้าเมื่อไร
    เช่น เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนในเฟซบุ๊ก เพื่อนในไลน์ เพื่อนในไอจี เพื่อนในติ๊กต็อก
    แต่ผู้ค้าที่ไม่มีเพื่อนที่ติดตามเรา ย่อมไม่มีกลุ่มเป้าหมายให้เดินเข้าไปหา
    บางที การเดินเข้าไปหาลูกค้า อาจได้ order เป็น 0
    เพราะตัวแปรสำคัญ คือ ความสนใจต่อตัวสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย
  2. การเข้ามาหาของลูกค้า (Advertising)
    ปัจจุบันสื่อสังคมทุกแพลตฟอร์ม มีบริการยิงแอด เพื่อโฆษณาสินค้า
    โดยเลือก Target group ได้ตามต้องการ เช่น เพศ วัย คำสำคัญ
    รายการเสนอขาย จะไปแสดงให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
    ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้เลือกในเวลาเดียวกันบนแพลตฟอร์มที่กำหนด
    ถ้าลูกค้าสนใจสินค้า ก็จะคลิกเข้าสั่งซื้อ เข้ามาหาผู้ค้า
    เพื่อสอบถาม ตกลงราคา เจรจาต่อรองได้ทันที
    บางที การยิงแอด อาจได้ order นับสิบ นับร้อย ในเวลาอันสั้น
    เพราะตัวแปรสำคัญ คือ ความน่าสนใจของตัวสินค้าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
    กรณีนี้มีตัวอย่างมากมายที่เล่าโดย Successful people ผ่านสื่อต่าง ๆ
  3. เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน (Neighborhood)
    กลุ่มลูกค้าใกล้ตัว ที่อาจทราบว่าเราจำหน่ายสินค้าอะไร
    และมีความสนใจที่จะ order สินค้าของเรา
    เพื่อนก็จะติดต่อขอสั่งซื้อสินค้า แล้วเราก็ไปส่งสินค้าให้เพื่อนได้โดยง่าย

กรณี เพื่อนอาจารย์ (Neighborhood)
การสื่อสารทางการตลาดถึงเพื่อนอาจารย์

มี #เพื่อนอาจารย์ ที่ #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ต้องการสินค้า #Premium เป็นของฝากเนื่องในโอกาส #สวัสดีปีใหม่ ท่านเลือกสินค้าจากแฟนเพจ #Mareemphouse แล้วโทรปรึกษาที่ร้าน เรื่อง #Packaging โทร.0841519133 พบว่า ท่านเลือกซื้อ #ผ้าขาวม้าทอมือ กับ #ผ้าพันคอทอมือ ท่านได้สั่งซื้อมาหลายกล่อง เตรียมเป็นของขวัญปีใหม่ ส่งไปให้เพื่อนที่ต่างจังหวัด ซึ่งผมก็เตรียมสินค้าไว้ในรถ ไปมอบให้ท่านกับมือพรุ่งนี้

ประกอบกับวันนี้ได้อ่านบทความวิจัยจากวารสารฯ เรื่อง การสื่อสารทางการตลาดฯ เกี่ยวกับสินค้าในชุมชนแห่งหนึ่ง ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน TCI-Thaijo.org กลุ่ม TCI1 มีผลการวิจัย หน้า 280 และเขียนผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ว่า การสื่อสารประกอบด้วย 6 แนวทาง และชอบคำ 3 คำที่อธิบายตามภาพนี้ คือ 1) การให้ข่าว คือ รายงานว่ามีใครซื้อสินค้า ก็นำเรื่องมาแชร์ให้เพื่อนได้เห็นว่าวันนี้มีใครซื้อสินค้าอะไรของเรา 2) กลุ่มลูกค้า ปกติกลุ่มเป้าหมายจะมีหลายกลุ่ม ตามแพลตฟอร์มที่เราเลือกทำการตลาด ซึ่งคนในมหาวิทยาลัยเนชั่น คนในจังหวัดลำปาง เพื่อนเก่ามัธยม เพื่อนเก่ามหาวิทยาลัย ก็จะกลุ่มที่ผมสามารถนำสินค้าไปยื่นให้ถึงที่หน้าบ้านหรือหน้าห้องทำงานเลย ไม่ต้องใช้บริการ #delivery เพราะที่ลำปางผมไปส่งเองได้ 3) ประชาสัมพันธ์ เป็นการบอกเล่าในสื่อสาธารณะ เช่น ค้นคำว่า “ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าถุง” ผ่าน google.com จะพบรายการสินค้า ข้อมูลการติดต่อ และพบโพสต์นี้ รวมถึงพบภาพ #บทความวิจัย ที่ผมได้ทำการทบทวนวรรณกรรมมาด้วย

ซึ่งแนวทางการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้า OTOP ในบทความวิจัย มี 6 ข้อ ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์ 2) การโฆษณา 3) การจัดกิจกรรมทางการตลาด 4) การส่งเสริมการขายโดยใช้พนักงาน 5) การตลาดทางตรง 6) การส่งเสริมการขาย

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247818

บทความ จาก ThaiJo อยู่ใน TCI กลุ่ม 1

อธิการบดีหนุ่ม

31 พ.ค.54 วันนี้มีงานเลี้ยงอำลา อาลัย ท่านอธิการหนุ่มของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ท่านมีประสบการณ์กับที่นั่นมา 5 ปี แต่มีตำแหน่งอธิการได้ 8 เดือน (1 ต.ค.53 – 31 พ.ค.54) และเหตุที่ลาออก เพราะหน่วยงานต้นสังกัดของท่านขอตัวไปช่วยงาน และมีการเปลี่ยนผู้รับใบอนุญาต จึงต้องการกลับไปทำงานกับต้นสังกัด มีคำพูดประโยคหนึ่งคือ “มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ ย่อมมีนินทา
การทำงานกับท่านได้บทเรียนหลายเรื่อง อาทิ การมอบหมายงาน การให้อภัย การสนับสนุน การเปิดโอกาส การตัดสินใจ คำมั่นสัญญา การประเมินผล ความไม่ยั่งยืน การประณีประนอม ความรับผิดชอบ และได้คติธรรมอีกหลายเรื่อง ที่จดจำเป็นบทเรียนไปชั่วชีวิต .. ผมคงไม่ลืมท่านเป็นแน่

ทำเนียบอธิการบดีสงวนนาม
1. ดร.นิ 12 มกราคม 2531 – 2543 (13 ปี)
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุจ 2544 – 2545 (2 ปี)
3. ดร.นิ 2546 – 2549 (4 ปี)
4. ร. อ.สัน  20 พ.ย.49 – 30 พ.ย.49 (11 วัน)
5. อ.สัน  1 ธ.ค.49 – 9 ก.ย.52 (2 ปี 9 เดือน 9 วัน)
6. ผศ.ดร.จิน 10 ก.ย.52 – 10 ก.พ.53 (5 เดือน)
7. รศ.อร 11 ก.พ.53 – 30 ก.ย.53 (7 เดือน 20 วัน)
8. ร อ.ทัน 1 ต.ค.53 – 31 พ.ค.54 (8 เดือน)
9. ผศ.ดร.พงษ์ 1 มิ.ย.54 – 25 ก.ค.61 (7 ปี 1 เดือน 25 วัน)
10. ดร.กฤ 26 ก.ค.61