อบรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ ม.เนชั่น

อบรมการจัดการความรู้
อบรมการจัดการความรู้

มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดโครงการอบรมการจัดการความรู้ ให้แก่บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หัวข้อ การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร (Knowledge Management to improve organization performance) เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และให้มีศักยภาพในการทำงานบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร วิทยากรคือ อาจารย์ ดร.อติชาต หาญชาญชัย จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 4201 อาคารนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ เป็นผู้ขับเคลื่อน KM และ คุณมณธิชา แสนชมภู งานบริหารทรัพยากรบุคคล ขับเคลื่อนหน่วยงาน มีอาจารย์จากคณะต่าง ๆ นำนักศึกษาเข้าร่วมเรียนรู้จำนวนมาก

เอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/777949739022513/

ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10155023525023895.1073741928.814248894&type=3

ผมสนใจเรื่อง การจัดการความรู้
และทำงานประกันในประเด็นนี้มาก่อน
จึงทำโฮมเพจเล่าเรื่องนี้ไว้ที่
http://www.thaiall.com/km

และทำ Story Telling เล่าเรื่อง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
จากประสบการณ์ของตนเอง ที่ต้องออกไปดูแลคุณแม่
ในชื่อบล็อกว่า “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
ที่ http://article-thaiall.blogspot.com

ฟังมามีเยอะ ผม lecture ไว้ใน facebook.com ครับ

How KM Works?
1. People
2. Process
3. Technology
ฟังทีไรก็เห็นภาพชัดเจนทุกที ว่าทำอย่างไรให้ KM ทำงานได้

ประเด็นที่ท่านยกมามีมากมาย
อาทิ
– ดาวอังคาร กับ Trappist-1 System
– Duck Family off campus
– คุณเก่งงาน คือ ชะตากรรมของคนเก่ง
– มูลนิธิขวัญข้าว การทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
– CPALL โครงการ KM เพื่อนวตกรรม
– SCG โครงการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดเก็บ เผยแพร่ และพัฒนา
– สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาภรณ์ฯ กิจกรรม อาศรม วิทยบริการ
– Siriraj KM : ที่โรงพยาบาลนี้เป็นต้นแบบ ทำมาตั้งแต่ 2548

ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย
ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย

วันการจัดการความรู้ (KM Day)

วิชาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารความรู้ [HRMT 425] ได้จัดกิจกรรม KM Day นำเสนอความรู้ และสัมมนาทางวิชาการในช่วงบ่าย โดยช่วงเช้าจัดเป็นนิทรรศการ และมี ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อ 10.00น. วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ประเด็นนำเสนอ 5 กลุ่ม .. ประกอบด้วย
1. มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
2. การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. การดูแลผู้สูงอายุ
4. โรคเบาหวาน
5. การพัฒนาชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

การนำเสนอของแต่ละกลุ่มในช่วงบ่ายมีการให้คะแนนกลุ่ม ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้

เกณฑ์การประเมินผลการพูดนำเสนอผลงานกลุ่ม (Criteria)
1. ความตรงประเด็นของหัวข้อและเนื้อหา (Relevant)
2. การเตรียมตัว (Preparation)
3. มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Collaboration)
4. ความชัดเจนในการพูดนำเสนอ (Clarity)
5. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ (Equipment)
6. ความดัง-ค่อยของเสียง (Sound)
7. ท่วงท่า และการสบตาผู้ฟัง (Audience Relationship)
8. ความสามารถในการถ่ายทอดของทีม (Describe)
9. ความสามารถในการตอบคำถามของทีม (Answer questions)
10. ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Efficiency)

การปิดกั้นเฟสบุ๊ค (itinlife380)

blocked facebook.com
blocked facebook.com

28 ม.ค.56 วันนี้ขึ้นหัวข้อแปลกอยู่สักหน่อย และสวนกระแสสถิติการใช้เฟซบุ๊คว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดที่เป็นสาวกของเฟซบุ๊ค คือ 12,797,500 คน เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 และมีบัญชีผู้ใช้มากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ คิดเป็นร้อยละ 154.54 หรือกล่าวได้ว่าแต่ละคนมีมากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้ แล้วทั้งประเทศมีบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด 18,271,480 ซึ่งหมายความว่าเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยมีกรุงเทพฯ เจริญเพียงเมืองเดียว เพราะการที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยหากจะพูดเรื่องปิดกั้นการใช้งานย่อมต้องถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือพวกขวางโลกในบัดดล

หากจะปิดกั้นต้องเริ่มจากบทบาทของผู้บริหารสูงสุดที่พบว่าพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรไม่ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือใช้เวลาในที่ทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ผลงานไม่บรรลุตามแผนขององค์กร เคยฟังโน้ตอุดมพูดในเดี่ยว 8 ตอนรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เตือนนักดนตรีว่าอย่าใช้ BB ขณะเขากำลังทำงาน หรือสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเมื่อ 6 กันยายน 2555 ว่าจะระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊ค เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองช่องสัญญาณ ซึ่งจะดำเนินการได้นั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหา และอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน

เทคนิคที่ผู้ดูแลระบบจะควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กรมีหลายระดับ ซึ่งขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่จะเป็นตัวเสริม อาจเริ่มจากการให้นโยบายป้องปรามการใช้งาน ประกาศเป็นระเบียบปฏิบัติ ควบคุมการใช้งานผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำสำนักงานของผู้ใช้แต่ละคน แต่หากเป็น smart phone ที่ใช้บริการ 3G ก็จะไม่สามารถระงับผ่านซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ แต่อาจควบคุมด้วยการกำหนดนโยบายตัดเงินเดือน หรือมีโทษทางวินัยหากสืบทราบว่าใช้เฟซบุ๊คในเวลางานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วมีทีมเฝ้าระวังตรวจสอบก็จะทำให้การปิดกั้นสัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้บุคลากรไม่วอกแวกไปกับกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเป้าหมายขององค์กร แล้วหันกลับมาสนใจทำพันธกิจขององค์กรให้สำเร็จลุล่วง

+ http://faceblog.in.th/2012/05/facebook-bangkok/
+ http://www.it24hrs.com/2012/moi-block-facebook/
+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

ปฏิทินของจีเมล

nationu calendar
nationu calendar

ปฏิทินของ @gmail.com หรือ @yourorganization.com
เป็นระบบช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่ม
สมาชิกทราบตารางการทำงานของกันและกัน หรือของหัวหน้า
หากนำไปใช้ในองค์กร ผ่าน domain name ขององค์กร
ก็จะช่วยให้การทำงานของสมาชิกองค์กรสะดวกสบาย
ยังมีบริการที่เรียกว่า google apps อีกหลายประเภท

กรณีของมหาวิทยาลัยบางแห่ง บุคลากรของมหาวิทยาลัย
สามารถค้น และเปิดปฏิทินของเพื่อนในองค์กรได้
ถ้าเจ้าของปฏิทินให้สิทธินั้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/google/

ระบบสารสนเทศกับหัวหน้าสี่คน

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศ ขาด-ลา-สาย สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) ซึ่งการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องยากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับทุกองค์กร เพราะทรัพยากรที่สำคัญก็คือ Human มีกรณีตัวอย่างของหัวหน้า 4 คน ที่มีบทบาทต่อสารสนเทศ ขาด ลา และสายของบุคลากรที่แตกต่างกัน  โดยแสดงพฤติกรรมไปกันคนละขั้ว สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ทุกองค์กรมีนโยบาย และวัฒนธรรมขององค์กรที่แตกต่างกัน การคิดแบบหนึ่งอาจเหมาะกับองค์กรหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับอีกองค์กรหนึ่งก็เป็นได้ อย่างได้ยึดมั่นถือมั่นกันเชียว
หัวหน้าหนึ่ง ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เรียกมาตักเตือน แล้วบอกว่าถ้าลาอีกจะไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ถ้าไม่เชื่อฟังก็จะหักเงินเดือนพร้อมกับขึ้นบัญชีดำในทุกเรื่อง
หัวหน้าสอง ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เรียกมาบอกว่าปกติพนักงานลาป่วยได้ 30 วัน ลากิจและลาพักผ่อนได้อีก 20 วัน รวมวันหยุดราชการอีก 15 วัน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 60 วัน ตอนนี้หัวหน้าลาไปทั้งหมด 70 วันแล้ว จึงแสดงความมีกัลยาณมิตรกับลูกน้องว่า ต่อไปให้หยุดงานสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 วัน เพราะต้องใช้สิทธิ์ให้เต็มที่เท่าที่ตนมีสิทธิ์
หัวหน้าสาม ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็เฉยไม่ทำอะไร เพราะรักสงบ ต่างคนต่างอยู่น่ะดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องของเรา
หัวหน้าสี่ ทราบว่า ลูกน้องลาไปแล้ว 5 วัน ก็รู้สึกไม่พอใจที่มีคนมาให้ข้อมูล แล้วถามกลับไปว่ามาบอกฉันทำไม ต้องการให้ฉันทำอะไรก็บอกมา แล้วฉันจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำอะไรต่อไป แต่ให้บอกมาก่อนว่าจะให้ฉันคิดอะไรกับจำนวนวันลาของลูกน้องของฉัน

เกี่ยวกับ พฤติกรรมองค์การ แล้ว Donglas Mc Gregor เห็นว่าคนมี 2 ประเภท  และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท  ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน โดยสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviors) ซึ่งเป็นไปกรอบทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y