มีแฟ้มแน่นเครื่อง ย่อมส่งผลให้เครื่องช้าเป็นธรรมดา

การล้าง การเคลียร์ การจัดเรียง ย่อมทำให้เครื่องเร็วขึ้น

  1. คลิ๊กซ้ายบน Start button
  2. คลิ๊ก Search
  3. คลิ๊ก Storage settings พบว่า ขนาดที่ถูกใช้ในแต่ละ Categories
  4. คลิ๊ก Other พบว่า ขนาดในแต่ละ Folder ใช้มากน้อยต่างกัน
  5. เข้าไปลบแฟ้มที่ไม่จำเป็น ซึ่งการลบเพื่อไม่ให้เข้าถังขยะ ต้องกด Shift + Del
    ตัวอย่าง folders ที่ได้เข้าไปจัดการ
    [C:\Users\LAB\.android]
    [C:\Users\LAB\.gradle]
    [C:\Users\LAB\VirtualBox VMs]
  1. Disk Cleanup
  2. Defragment and Optimize Drives

ทบทวนการใช้งาน linux ผ่าน Debian ที่อยู่ใน VirtualBox

มะละกอแขกดำ ซื้อมาต้น 20 บาท
มะละกอแขกดำ ซื้อมาต้น 20 บาท

เมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ ตากแห้งเอง
เมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ ตากแห้งเอง

วันนี้เตรียมเมล็ดมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ จากมะละกอสุก
นำไปตากให้แห้งเอง ไม่ต้องซื้อใครเขา ทำเมล็ดพันธุ์เองเลย
เค้าว่าเมล็ดพันธุ์สำหรับนำไปปลูก
ขายกันเป็นขีด (100 กรัม)
ขีดละประมาณ 700 – 900 บาท มี 7000 – 8000 เมล็ด
บางรายขายเป็นซอง ๆ ละ 100 บาท มี 50 เมล็ด
https://www.facebook.com/malakoboy69/

share folder in debian
share folder in debian

virtualbox screen
virtualbox screen

จากนั้นก็มาทบทวน Operating System
จำได้ว่าเคยลง Debian ไว้บน Oracle VM VirtualBox
ใน WinXP ที่ใช้งานอยู่
ในเครื่องผมตั้ง user เข้า Debian ว่า “nation
ต้องกรอกรหัสผ่านเข้าเครื่องให้ถูก
ถ้าไม่ถูกระบบจะแจ้งว่า “Authentication failure”
1. เปิดขึ้นมาก็เห็น Gnome Desktop
2. มุมบนซ้ายสุดมี Application, Places, System
ก็เลือก Application – Accessories – Terminal หรือ Root Terminal
เหมือนพิมพ์ SU เลยครับ
3. ตรวจว่าเครื่องเราเปิด port อะไรไปแล้วบ้าง
ด้วย #netstat -na
4. ตรวจว่ามี process อะไร start อยู่บ้าง
ด้วย #ps -aux
5. ตรวจว่ามีใครเข้าออกระบบเมื่อใด
ด้วย #last
6. ตรวจว่ามี user name อะไรที่อยู่ที่สร้างไว้แล้ว
ด้วย #cat /etc/passwd
7. ตรวจว่าเชื่อมต่อสื่ออะไรจากที่ไหนไว้บ้าง
ด้วย #mount
พบว่าแชร์เข้ามาจากระบบ Windows จำนวน 2 Folders
http://www.thaiall.com/blog/burin/4628/

โปรแกรมจำลองการทำงานของโปรเซส

SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia
SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia

นั่งอ่านหนังสือ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 9 การใช้งานโปรแกรมโซซิม (SOSIM)
โปรแกรมนี้นักศึกษา CS ป.โท ทำเป็นผลงาน Thesis
มีหน้าที่จำลองการทำงานของ process
แสดง Running, Ready และ Waiting ใน Process Manager
และการจองหน่วยความจำใน Memory Manager
ผู้ใช้สามารถสร้าง Process ขึ้นมา แล้วส่งในระบบ
จะเห็นการทำงานในแต่ละ State
และสร้าง Process ขึ้นมาได้ 3 แบบ

 

ประเภทของ Process มีดังนี้
1. CPU = ใช้ Central Processing Unit อย่างเดียว
2. IO = ใช้ CPU เป็นรอง แต่ใช้ IO เป็นหลัก มีหลายแบบ
3. MIX = ใช้ CPU ปานกลาง ไปพร้อมกับ IO

ต.ย. 1 โปรเซสเดียว
[สร้าง] Process แบบ CPU
Priority = 0, Max. frames =5
[ผล]
มี Process เดียว ก็สลับไปมาระหว่าง
Ready และ Running
และไม่ต้องเข้าคิวกับใคร จึงอยู่ที่ Ready = 0 เสมอ
[ล้าง Process ออก]
เข้า Process, Select, Delete
แล้วสั่ง Run ใหม่จะพบว่าไม่มีอะไรอยู่ใน Processor Manager

ต.ย. 2 โปรเซส CPU และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง
แล้วกับไปรอใน Waiting State ให้ CPU ทำงานให้เสร็จ 5 ครั้ง
แล้ว Process IO2 จึงจะได้ทำงาน 1 ครั้ง แล้วกลับมารอเหมือนเดิม
ใน Ready Process ที่ครองอยู่ก็คือ CPU
และมี Ready ระดับ 0 คือไม่มีใครมารอในคิวนาน ๆ

ต.ย. 3 โปรเซส CPU และ Mix1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ Mix1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process Mix1 ได้ทำงานใน CPU 2 ครั้ง เมื่อเข้า Ready ก่อนไป Wait
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง แล้วไป Wait เลย
ทั้ง Mix1 และ IO2 จะรอใน Waiting State 5 ครั้ง เท่ากัน
แต่ Mix1 ได้ทำงานกับ CPU มากกว่า IO2 เมื่ออยู่ใน Ready state
[ดู Log]
หากดูการทำงานใน Log
จะพบว่า Boost คือ กำลัง
กำหนดให้ IO2 เป็น +2 แต่ Mix2 มี +1
ยิ่งบวกมากขึ้น ก็ยิ่งรอนานขึ้น

ต.ย. 4 โปรเซส IO1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ IO1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
เมื่อ IO1 ทำงานเสร็จก็จะไปรอ
เมื่อ IO2 ทำงานเสร็จก็จะไปรอเช่นกัน
ทิ้งให้ CPU ว่าง ไม่มีใครใช้งาน

http://www.thaiall.com/os/os03.htm

มีรายละเอียดอีกมาก
เช่น การจัดการหน่วยความจำแบบ Pre-Paging หรือ Demand Paging
การดู Statistics หรือ PCB เป็นต้น
ถ้าสนใจก็เข้าโฮมเพจ SOSIM
ของ Prof.Luiz Paulo Maia as part of his M.Sc. thesis
in Federal University of Rio de Janeiro (NCE/UFRJ), Brazil, in 2001 (2544).
http://www.training.com.br/sosim/indexen.htm

การทำ Shared Folders ของ Debian กับ VirtualBox

share folders
share folders

29 พ.ย.55 ในกรณีต้องการ share folders จาก host ที่เป็น windows ไปให้เครื่อง guest ที่เป็น Debian ใน Oracle VirtualBox  มีขั้นตอนดังนี้

http://mirror1.ku.ac.th/debian-cd/6.0.5-live/i386/iso-hybrid/

1.1 เข้า Debian ใน VirtualBox
https://www.virtualbox.org/manual/ch04.html
1.2 menubar, Applications, Accessories, Terminal
$su
#apt-get update
#apt-get upgrade
#apt-get install make gcc
#uname -a
#apt-get install linux-headers-2.6.32-5-686
1.3 เตรียมพร้อมกับการ share และการติดตั้ง
#cd /media/cdrom/
แล้ว share folder ผ่าน menubar, Device, Share Folders
1.4 สั่งประมวลผล script จาก cd ที่มาจาก Install guest additions
#sh ./VBoxLinuxAdditions.run
แล้ว restart
จะพบว่ามีการทำ automount ใน /media/..
ตรวจด้วยคำสั่ง #mount
1.5 หากจะเข้าใช้งาน ต้องเปลี่ยน group ของ user เป็น vboxsf
แล้ว restart จึงจะเข้า folder ที่ share มาจากระบบ Windows เพื่อใช้งานได้

สร้าง Live USB : fedora 15

creating live usb : fedora os
creating live usb : fedora os

3 ก.ค.54 การสร้าง live usb ด้วย OS ของ Fedora 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ USB Drive มาติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux และทำงานทันทีที่เปิดเครื่อง โดยไม่ต้องติดตั้งลงไปในเครื่อง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. ใช้พื้นที่ประมาณ 600 MB และข้อมูลใน USB ยังอยู่ครบถ้วน เพราะไม่ได้ทำการ Format USB แต่เพิ่มห้องเก็บข้อมูล 4 ห้อง คือ Boot, EFI, syslinux และ LiveOS ส่วนห้อง Root มีแฟ้มชื่อ GPL
2. เครื่องที่ใช้ทดสอบคือ ASUS ต้องกด F2 เมื่อเปิดเครื่องแล้วเข้า Boot, Hard disk drives เลือกเลื่อน USB ซึ่งเป็น Harddisk ตัวที่ 2 ขึ้นมา มิเช่นนั้น จะเลือก Harddisk ตัวแรกเสมอ ทำให้ไม่เรียก USB ขึ้นมาทำงานตามที่ตั้งใจไว้
3. Download โปรแกรมติดตั้ง Live USB และแฟ้ม Fedora OS มาไว้ในเครื่อง
4. เมื่อ boot ขึ้นมา สามารถแก้ไขได้ แต่ผลการแก้ไขไม่ได้บันทึกไว้ เพราะทำงานใน RAM เมื่อ boot ใหม่ก็จะไม่เห็นผลการแก้ไข เช่น เปลี่ยน background หรือ create user
5. สามารถกำหนดการเชื่อมต่อแบบ wireless หรือ wired แล้วใช้งานได้ปกติ
6. มีตัวเลือกให้สั่งติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปใน Harddisk ได้

http://fedoraproject.org/wiki/How_to_create_and_use_Live_USB
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
https://fedorahosted.org/releases/l/i/liveusb-creator/liveusb-creator-3.11.1-setup.exe
http://fedoraproject.org/get-fedora
http://download.fedoraproject.org/pub/fedora/linux/releases/15/Live/i686/Fedora-15-i686-Live-Desktop.iso

ประสบการณ์ติดตั้ง Linuxsis 6.0.1 เพิ่มต่อ windows

18 ส.ค.53 วิธีติดตั้ง Linuxsis อีก 1 ตัว เริ่มจากหลังบูทเครื่องด้วย CD Linuxsis 6.0.1 ก็กด Enter เพื่อเข้าสู่การ Boot 1) เลือกแบ่งพาร์ทิชันในดิสก์ ของผมเลือกแบบแบ่งเอง เพราะเคยมี windows อยู่แล้ว และเคยแบ่งแบบไม่ใช้ให้กับบาง partition ไว้แล้ว 2) พบว่า #1 ไพรมารีแบ่ง 40 GB:ntfs ที่เหลือเป็นลอจิคัล ประกอบด้วย #5 แบ่ง 20 GB:ntfs แล้ว #6 แบ่ง 19 GB:ext3 แล้ว #7 500 MB:swap เลือก #6 แล้ว double click 2.1)กำหนดใช้เป็นระบบแฟ้ม journaling ext3 2.2) สั่ง ฟอร์แมต #6 2.3) ตำแหน่งเมานท์เป็น / 2.4) แล้วกดสิ้นสุดการตั้งค่าพาร์ทิชัน แล้วกดต่อไป แล้วกดเลือก สิ้นสุดการแบ่งพาร์ทิชันและเขียนลงดิสก์ แล้วกดต่อไป 3) พบว่าระบบจะ format #6 แล้วเลือก ใช้ แล้วกดต่อไป 4) ติดตั้งระบบพื้นฐาน รอประมาณ 5 นาที 5) เลือก linux-image-2.6.18-6-686 แล้วรออีก 5 นาที 6) เครื่องของผม reboot แล้วพบ grub 7) เลือกเข้า windows พบว่า ทุกระบบทำงานได้ปกติ 8) บูทใหม่แล้วเข้า linux รุ่นนี้ชื่อ Capricon ด้วย u:root p:123456 9) เข้าห้อง /boot/grub แก้ menu.lst เปลี่ยนจาก 0 เป็น 3 เพราะใน grub ผมต้องการกำหนดให้ boot windows เป็น default

การเข้าระบบด้วย root หรือ admin ในครั้งแรกใช้รหัสผ่านคือ 123456 แต่ถ้าเข้า root จะพบกับ Shell Prompt แต่ถ้าใช้ admin จะพบ xwindows แล้วเข้า Firstboot screen แต่ผมก็ใส่รหัสเป็น 123456 ตัวเดิม เพราะเกรงว่าจะลืม รวมทั้งรหัสผ่านของ LDAP แล้วเข้าสู่ WebAdminTools เมื่อ Login ด้วย admin เข้าไปแล้วก็จะเลือก connect type เป็น DHCP เพื่อรับ ip จาก router เพราะ default static คือ 192.168.212.1 หลังจาก restart network ก็ได้ ip จาก router เป็น 192.168.1.3 แล้วปิดเครื่องด้วย shutdown -h 1

+ http://www.opentle.org/th/downloadcat/view/59
+ ftp://ftp.opentle.org/pub/linuxSIS/5.5/manual/sis5.5.5_manual.pdf