ตามที่ได้อ่านจาก thailibrary.in.th พบว่า Pharmaceutical and Biosciences Journal และ Bentham Science ได้ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ และมีความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ดังนั้น เรื่อง “ดัชนีความคล้ายคลึง” ระบุให้ 1) ความคล้ายคลึงโดยรวมไม่เกินร้อยละ 20 2) ความคล้ายคลึงจากแหล่งเดียวกันไม่เกินร้อยละ 5 พบว่า บางสถาบันกำหนดละเอียดลงไปว่า “ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10” เป็นเงื่อนไขที่น่ายึดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน และตรวจสอบความเหมือน ด้วย อักขราวิสุทธิ์
Tag: paper
พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค
อ่านบทความของ บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ เรื่อง พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ในวารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2557 หน้า 1 – 24 งานนี้มีวัตถุประสงค์มี 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมี 3 ข้อ 1) ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ และผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊คนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม 2) สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปวางแผนพัฒนาและส่งเสริมให้นักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนสำคัญของชาติสามารถใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างรู้เท่าทันและสร้างสรรค์ต่อไป โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมหรือกลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยเฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการกระทำความผิด 3) สามารถนำผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่อง การตลาด การโฆษณา หรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนพัฒนากลยุทธ์ทางการสื่อสารผ่านเฟสบุ๊คให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารการตลาดผ่านเฟสบุ๊คกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มากที่มีการใช้เฟสบุ๊คเป็นประจำ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/download/62926/51703/
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คทุกวันจำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 70.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊ค 4-6 วันต่อสัปดาห์ มี 89 คนคิดเป็นร้อยละ 12.7 โดยเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งมีร้อยละ 33.3 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เล่นเฟสบุ๊คในช่วงเวลา 18.01-21.00 น. มีร้อยละ 39.1 รองลงมาเล่นเฟสบุ๊คช่วงเวลา 21.01-24.00 น. มีร้อยละ 33.7 และมักเล่นเฟสบุ๊คที่บ้านหรือที่พัก ร้อยละ 86.7 ส่วนใหญ่เล่นผ่านอุปกรณ์มือถือร้อยละ 67.6 จำนวน และเล่นผ่านโน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 43.9 นอกจากนี้พบว่า การเล่นเฟสบุ๊คส่วนใหญ่จะเล่นเมื่อมีเวลาว่างร้อยละ 59.4 และเล่นเฉพาะนอกเวลาเรียน ร้อยละ 17.7
พบลักษณะการใช้เฟสบุ๊ค 20 พฤติกรรม เฉลี่ยรวม 2.37
1) ใช้ chat กับเพื่อน (x=3.51)
16) เขียนแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ ของเพื่อน (x=3.36)
2) กด like เอาใจเพื่อน (x=3.18)
11) ติดตามข่าวประจำวัน (x=3.18)
14) ได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่า (x=3.09)
9) เขียน Post ข้อความเล่าเรื่องต่าง ๆ (x=2.71)
15) แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ (x=2.68)
17) สร้างอัลบั้มรูปต่าง ๆ (x=2.60)
8) Upload ภาพในชีวิตประจำวัน (x=2.52)
12) ติดตามข่าววงการบันเทิง (ดารา/นักร้อง) (x=2.50)
10) ติดต่อผู้คุยกับบุคคลในครอบครัว (x=2.34)
20) ติดต่อสอบถามเรื่องการเรียนหรือส่งการบ้านครู/อาจารย์ (x=2.34)
13) เล่นเกม (x=2.16)
4) ดู Facebook ดารา/นักร้องที่ชื่นชอบ (x=2.15)
6) สืบประวัติแฟนใหม่หรือเพื่อนต่างเพศ (x=2.11)
7) ติดตามพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชื่นชอบ (x=1.71)
5) ดูพฤติกรรมแฟนเก่า (x=1.66)
3) สร้าง Fan page ส่วนตัว (x=1.42)
18) ซื้อสินค้าและบริการ (x=1.33)
19) ขายสินค้าและบริการ (x=0.94)
ประโยชน์ที่ได้รับ เฉลี่ยรวม 3.80
1) ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน (x=4.16)
2) ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้น (x=4.03)
3) ได้พบเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันมานาน (x=4.03)
4) ได้ผ่อนคลาย / คลายเครียด (x=3.98)
5) ได้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น (x=3.80)
7) ทําให้ไม่ตกเทรนด์ / ทันกระแสสังคม (x=3.80)
8) ได้ข้อมูลมาใช้ในการเรียนหรือพัฒนาตนเอง (x=3.55)
6) ได้รับประโยชน์ด้านเพิ่มช่องทางทําธุรกิจของตนเองมากขึ้น (x=3.07)
เล่าสู่กันฟัง 63-029 ห้องเรียนกลับด้าน
ในห้องเรียนแห่งอนาคต
ในอนาคตนิสิต นักศึกษา นักเรียน
จะได้พบ #ห้องเรียนแห่งอนาคต
ซึ่งในอนาคตจะไม่มีการบ้านจากโรงเรียน
เพราะผู้เรียนจะตั้งโจทย์ด้วยตนเอง
และเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ
จนกระทั่งสำเร็จในที่สุด
โดยไม่มีกรอบเวลา มาขวางเป้าหมายที่ใฝ่ฝัน
บางคนสำเร็จหัวข้อที่อยากรู้เพียงข้ามคืน
บางคนแสวงหาหัวข้อ project
เช่น page rank, micro blogging, ai หรือ iot
หากติดขัดก็จะเข้าหา ค้นหาที่ปรึกษา
ที่มีมากมาย ทั้งไกลไกล ในโลกเสมือน
อ่าน ฟัง ดู สื่อสาร และเรียนผ่าน mooc
การเรียนผ่าน #ห้องเรียนกลับด้าน
คือ การเรียนรู้ อ่าน ค้น วิจัยที่บ้านตามชอบ
แล้วมาทำการบ้านที่โรงเรียนกับหลักสูตร
เพราะที่บ้าน 18 ชั่วโมงเป็นโลกเปิด
ที่ไม่ควรถูกจำกัดด้วยกรอบเล็ก ๆ ของหลักสูตร
ถอดบทเรียนเขียนเป็นบทความ
ถูก cited นับไม่ถ้วน
ให้เพื่อน ผู้ทรง ผู้ประกอบการ
ชุมชน นักลงทุน หรือชาวต่างชาติ
เข้ามาทำ learning exchange หรือ KM
แล้วทิ้ง suggestion ที่ทำให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยี ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
หรือเรียนรู้ข้ามสายข้ามศาสตร์
ไปเรื่อย ๆ จนสำเร็จแล้ว สำเร็จอีก
ตามเป้าหมายที่วางไว้วันแล้ววันเล่า
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี
http://www.thaiall.com/futureclassroom
#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA
คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)
โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf
ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ
- แบบหนังสือ
จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author. - แบบบทความในหนังสือ
ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์. - แบบวารสาร
ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61. - แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University. - แบบรายงานการวิจัย
พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University. - แบบปริญญานิพนธ์
ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html - แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task= - แบบหลายเล่มจบ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge. - แบบหนังสือแปล
เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.
อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ”
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th
– เปิดงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore
พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม
แล้วก็ถ่ายภาพกับน้องแก้วตาและผม ญาติกันที่ลำปาง
ผลการค้นงานประชุมวิชาการระดับชาติในภาคเหนือ
เล่าสู่กันฟัง เรื่องหัวหน้าให้ค้นข้อมูล
ว่ามีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ในช่วง พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558
เฉพาะเขตภาคเหนือ สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผมตรวจสอบจาก
+ http://www.conferenceinthai.com/
+ http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/event/conference2558_th.php
+ http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
+ http://www.google.com
ที่จะรองรับทั้ง M.P.A. และ M.ED. มีเบื้องต้นดังนี้
—
14 มกราคม 2558
การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://social.crru.ac.th/symposium/
—
13 กุมภาพันธ์ 2558
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ 2015
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.payap.ac.th/symposium2015/
—
20-21 กุมภาพันธ์ 2558 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” 2015
เครือข่ายความร่วมมือคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง
http://www.management.cmru.ac.th/conferences2015/
—
23 – 24 มีนาคม 2558
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.rccon2015.org/
—
23 พฤษภาคม 2557 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://conference.northcm.ac.th/
—
22-24 กรกฎาคม 2015
การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 11 เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
มีการศึกษา และสังคม และรัฐประศาสนศาสตร์
http://dra.research.nu.ac.th/nurc11/index.aspx
http://dra.research.nu.ac.th/nurc10/bregist.aspx
—
17-18 กันยายน 2015
The 1st International Conference on Interdisciplinary Development Research (IDR2015)
http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
—
8-9 ธันวาคม 2558 ?
การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.conference.mju.ac.th/
คำแนะนำเรื่องการบริการวิชาการ ของรศ.ดร.เอกชัย แสงอินทร์
จากการฟัง ดร.เอกชัย แล้วนำมาเรียบเรียง
พบว่าความหมายของนิยาม 3 คำที่ใกล้เคียงกัน
ของคำว่า “เผยแพร่ ถ่ายทอด และให้ความรู้”
ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะตอบคำทั้งสามนี้ได้อย่างถูกต้อง
นำมาเรียบเรียงได้ ดังนี้
1. เผยแพร่ (broadcast)
คือ การทำให้คนทั้งภายใน และภายนอกได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร
สามารถเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ก็ได้
2. ถ่ายทอด (Communicate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างชัดเจน
อาจดำเนินการโดยการจัดประชุมสัมมนา และมีการลงทะเบียนชัดเจน
3. การให้ความรู้ (Educate)
คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบ
อาจดำเนินการโดยการจัดอบรม หรือเปิดเป็นหลักสูตรที่มีการประเมินผล
ว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปได้มากน้อยเพียงใด
อีก 2 คำที่ท่านให้ความหมายไว้คือ
1. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการวิจัย
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับวิจัยแล้ว
ก็น่าจะมีผลงานเหล่านั้นปรากฎในรูปบทความวิชาการ (Paper)
ที่เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับทราบ
เช่น ไปบริการวิชาการและนำประเด็นมาทำวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายที่เคยบริการ
จนได้ผลงานที่นำไปเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ หรือวารสารได้
2. การบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
ซึ่งมองว่าถ้าบูกับการเรียนการสอนแล้ว
ก็น่าจะได้เอกสารประกอบการสอนที่สามารถนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย (Handbook)
หรือได้ประโยชน์ทั้งชุมชน และนักศึกษาไปพร้อมกัน
แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ
นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36
—
Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม
รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552
—
การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย
http://thaiglossary.org/node/36943
—
กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html
—
เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง
เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้
๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ
๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด
๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย
๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง
๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)
๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf
—
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf