โลกสวยงาม จะเห็นบางด้านที่มืดมน โลกไม่สวยก็จะเห็นว่ามืดไปซะทุกด้าน

beautiful world
beautiful world

25 พ.ค.59 เห็นอาจารย์ใหญ่แชร์เรื่องนี้เข้ามาในกลุ่ม
เป็นประเด็นเผ็ดร้อนว่าวงการอุดมศึกษามีด้านมืด
จากหัวข้อบทความใน posttoday.com มี 3 ด้าน
1. แย่งชิงผลประโยชน์
2. เล่นพวกพ้อง
3. สองมาตรฐาน
พอเห็นหัวข้อผมก็รู้สึกสนใจขึ้นมาเลย
ทำให้นึกถึงคำว่า “โลกนี้สวยงาม (beautiful world)
โลกคงสวยงามถ้าโลกนี้มืดเฉพาะอุดมศึกษา และปัญหานี้มีเฉพาะอุดมศึกษา

ประเด็นทั้ง 3 เชื่อมโยงกับกรณี ดอกเตอร์ทั้ง 3 ของ มรภ.พระนคร ที่เสียชีวิต
เท่าที่อ่านเอกสาร 2 ฉบับของ ดร.วันชัย ปัญหามาจากเรื่องอัตตา ด้วยส่วนหนึ่ง
ซึ่งผมเห็นด้วยกับ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ นะครับ
ที่ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
ชอบประเด็นทั้ง 4 ที่ท่านพูดถึงด้วย
– ความขัดแย้งในรั้วมหาวิทยาลัย
– เปิดขุมทรัพย์ หลักสูตรพิเศษ
– สาวไส้ระบบมาเฟีย
– ถึงเวลาผ่าตัดใหญ่
ที่อ่านใน posttoday.com

หลักธรรมมาภิบาล (Good governance) เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี
ผู้บริหารสถาบัน/คณะวิชา/หน่วยงานยึดเป็นแนวปฏิบัติก็เชื่อได้ว่าจะมีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาที่ดี
ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านคุณภาพทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็นต้น

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
5. หลักความโปร่งใส (Transparency)
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
8. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
9. หลักความเสมอภาค (Equity)
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)

http://thaiall.blogspot.com/2014/07/blog-post_20.html
อันที่จริงผมว่าโลกนี้ก็ยังสวยงามอยู่นะครับ
แต่ถ้าจะให้มองว่าโลกนี้มีที่มืดอยู่แค่กลุ่มคนกลุ่มนั้น
ก็ทำใจลำบากหน่อย น่าจะมีกันทุกกลุ่ม ทุกประเภทองค์กรกันเลยรึเปล่า
เพราะเห็นในข่าวว่าเรามีปัญหา 3 ด้านนี้ตลอด
1. แย่งชิงผลประโยชน์ (advantage)
พอเป็นผลประโยชน์ก็ต้องแย่งกันสิครับ
ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร
ดร.อาทิตย์ พึ่งบอกว่า ตำแหน่งอย่างว่าซื้อกันเป็นล้าน
หรือเขาหัวโล้นที่น่านก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของคนที่นั่น
หรือข่าวทุจริตอื่น ๆ ก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น
ทีวีดิจิตอล ไม่จ่ายงวด 3 ที่เหลือเค้าจ่ายกัน
ก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ จากเค้กก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่ง
2. เล่นพวกพ้อง (partisan)
ที่นิคมอุตสาหกรรม รับคนไปทำงาน
บางบริษัทมีคนหมู่บ้านนั้น ทั้งหมู่บ้านเพราะ HR ชวนมา
บางบริษัทรับเฉพาะมหาวิทยาลัย X เพราะ HR ชวนมา
ผมไปซื้ออาหารเจ ขนาดชวนรับพระ ยังให้แบ่งพวกเลย
ดูกีฬา ยังแบ่งข้างเชียร์ ไม่รู้จักสักคน ก็ยังอุตสาห์เลือกพวกจนได้
3. สองมาตรฐาน (double standard)
สอบโควต้า รับเด็กในเขต รู้ไหมลูกใคร
มาตรฐานหนึ่งสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง
อีกมาตรฐานสำหรับคนนอกกลุ่ม เป็นเรื่องปกติไปแล้ว
ถ้าเป็นคนของเรา เราจะปฏิบัติกับเค้าอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นคนของคนอื่น เราจะปฏิบัติกับเค้าอีกอย่างหนึ่ง
เป็นมาตรฐานที่แบ่งแยกตามผลประโยชน์ทั้งนั้น

สรุปว่า .. ผมก็แค่แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น
เพราะรู้ว่าเป็นปัญหาที่เป็นธรรมชาติ และอาจารย์ท่านก็หยิบมาพูด
เพื่อที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น
เข้าใจ และเห็นด้วย
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ ของรศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข

หมออำนาจ หรือ  รศ.นพ.อำนาจ อยู่สุข
ได้ให้คำแนะนำเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ไว้ถึง 2 เวที
แล้วได้เรียบเรียงมาเป็นข้อพึงระวังในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ไว้ดังนี้
1. การทำแผนกลยุทธ์ต้องนั่งคุยกันหลายคน  (Real participation)
และหลายครั้ง ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้ได้ประเด็นจากหน่วยต่าง ๆ อย่างครบถ้วน และเข้าใจถูกต้องตรงกัน
2. ในแผนกลยุทธ์ก็ต้องกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ให้ชัดเจน (Numeric indicator)
ควรเป็นตัวเลขจะได้วัดง่าย และกำหนดแต่ละปีจะได้เห็นพัฒนาการ
ว่าปีแรกทำเท่าไร ปีที่สองเท่าไร และเมื่อถึงปีสุดท้ายทำได้เท่าใด
3. การทำแผนปฏิบัติการก็ต้องล้อกันกับแผนกลยุทธ์ (Check & action)
ว่าปีนี้ทำแค่ไหน ปีต่อไปทำแค่ไหน และมีการประเมินผลความสำเร็จในแต่ละปี
ตามแผนปฏิบัติการ และแผนกลยุทธ์
เป็นวงจร Plan Do Check and Action
4. วิสัยทัศน์อยากเห็นอะไร (Follow on vision & mission)
ก็ต้องอยู่ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
ถ้าไม่เขียนไว้ก็จะไม่มีงบประมาณมาดูแลให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์
ประเด็นพันธกิจก็ต้องชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนเวลาตั้งงบก็จะไม่ชัดเจนไปด้วย
5. แผนกลยุทธ์ทางการเงินต้องมีกลยุทธ์สอดรับกับแผนกลยุทธ์ (Budget in plan)
และมีการจัดสรรงบประมาณให้กับแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ตามแผนงบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ไม่ควรไปกันคนละทิศละทาง

การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

8 พ.ย.56 อ่านงานของ คุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ

เป็นงานชุด CBMAG โครงการ ชื่อ การวิจัยสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา:
กรณีการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านนาบอน

หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง (RDG50N0037)

อ่านแล้วต้องไปตอบคำถามที่ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ลำปาง
ที่ทิ้งโจทย์ไว้ให้ผม 9 ข้อ เป็นงานแรกที่รู้สึกว่าตอบได้ง่าย
คงเพราะคุณปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ สรุปประเด็นไว้ได้ค่อนข้างดี
สะท้อนคำว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ชัดเจน

จึงลองมองออกมาเป็นวิธีวิทยา ดังนี้
1. ศึกษาปัญหา และกำหนดวัตถุประสงค์
2. สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
3. วางแผน และทำความเข้าใจร่วม
4. การประชุมระดมความคิด
5. การให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติ
6. ลงมือปฏิบัติ และพัฒนา
7. ประเมินผล
8. สรุปผล
9. เผยแพร่บทเรียน และขยายผล

การจัดการขยะบ้านนาบอน
การจัดการขยะบ้านนาบอน


https://www.facebook.com/download/1374270969485598/frame_of_reading.docx

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป