เล่าเรื่อง University 42 จาก bangkokbiznews.com โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “อาหารสมอง” เขียนเล่าเรื่อง “University 42” ที่ก่อตั้งโดยเศรษฐีชื่อ Xavier Niel กับ Nicolas Sardirac
ว่าที่นั่นมุ่งไปที่จุดเดียว คือ ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นยอดปีละประมาณ 1,000 คน
เรียน 3-5 ปี แล้วแต่ใครจะใช้เวลานานเท่าใด มีหอพัก มีอาหารฟรี ให้นักศึกษาที่แย่งกันเข้า
ไม่มีการนั่งฟังเลคเชอร์ ไม่มีอาจารย์ เปิดเรียน 24 ชั่วโมง 7 วัน
ผู้เรียนทุกคน คือ อาจารย์ของกันและกัน
ปีแรก (2013) ที่เปิดรับมีผู้สมัคร 80,000 คน
เรียนจบระดับใดหรือสาขาใดได้ทั้งนั้น มีอายุระหว่าง 18-30 ปี
สอบรอบแรกคัดเหลือ 3000 คน แล้วติว 4 สัปดาห์
แล้วคัดเหลือ 1000 คน

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643904

ที่นี่เรียนรู้โดยอาศัย project-based learning คือ การเรียนรู้จากกันและกัน
นักศึกษาต้องทำงานโปรเจคหนักมาก ทีมละ 5 – 6 คน ชนิดไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นอาทิตย์
โปรเจคมาจากของจริง เช่น ให้พัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมของโทรศัพท์บางรุ่นที่ล้าสมัย
ให้ทำงานได้กว้างขวางขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำว่า 42 มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy
เขียนโดย Douglas Adams
ในเรื่องถามซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Deep Thought
ว่า อะไร คือ คำตอบสุดท้ายของคำถามเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล และทุก ๆ สิ่ง
แล้วคอมพิวเตอร์ใช้เวลาคิดอยู่ 7.5 ล้านปี และให้คำตอบว่า 42

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.

http://www.thaiall.com/computingscience/

เรื่องนี้ ผมเพิ่มเข้าไปในโฮมเพจ วิทยาการคำนวณ (Computing science)
ซึ่งมีคลิ๊ปเด่นของ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ โดยอธิบายที่มาที่ไปได้ชัดเจน

สรุปขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณ ประกอบด้วย 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่า คือ สอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้
2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (digital technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย
3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (media and information literacy) พูดง่าย ๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลจาก https://www.dek-d.com/education/48514/

พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning)

John Dewey 1902
John Dewey 1902

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897)

ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ
ได้แก่
– การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
– การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
– การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
– การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)

ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011)
ได้อธิบายความหมายของ PBL = Project-Based Learning ว่าเป็น
การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้
แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา
เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง
และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน
พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา
ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น

PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.
(Thom Markham,2011)
http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning

http://www.amazon.com/Project-Based-Learning-Handbook-Standards-Focused/dp/0974034304
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=775406

วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

Framework for 21st Century Learning
Framework for 21st Century Learning

1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้
เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้
การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล
เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้
มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill

ศตวรรษที่ 21
http://www.p21.org/

1. สาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี

2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้” สู่ “ทักษะ”
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก
เป็นนักเรียนเป็นหลัก
เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning
โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ

6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
– การตีโจทย์
– ค้นคว้าหาข้อมูล
– ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
– เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้
– ได้ฝึกปฏิบัติจริง
– เพิ่มทักษะในการศึกษา
– การนำเสนออย่างสร้างสรรค์
– ฝึกการทำงานเป็นทีม
– แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
– ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป

7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน

8. การเรียนรู้แบบ PBL
ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ
สนใจกระบวนการหาคำตอบ
โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ
เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้
การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล
แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า
เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ

9.
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้
การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม
เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม

10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู
คือ PLC = Professional Learning Commitee
การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ “เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”
สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น “ชุมชนการเรียนรู้ครู”
– ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
– ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย
เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก
ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร
– วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ
– ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking
ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

century 21
century 21

http://www.scribd.com/doc/97624333/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3296/

ผมเพิ่มเติมว่า
ทักษะ = นำความรู้ + ไปทำและทำได้ + จนคล่องแคล่ว

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถทางกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ที่ผู้รับการฝึกสามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว