ประเภทการปิดชื่อผู้เขียนต่อผู้อ่านต้นฉบับ (manuscripts)

easychair.org
easychair.org
ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding

โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
easychair คือ  ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง
article guide
article guide

แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ

2 dean from 2 university : national and international conference
2 dean from 2 university : national and international conference

นิยามศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมวิชาการระดับชาติ และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์(Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 35 – 36


Proceedings คือ เอกสารหรือหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัย บทคัดย่อ หรือเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ ที่จัดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยสมาคม หน่วยงาน หรือองค์กร จัดให้มีการประชุม เพื่อเป็นการพบปะระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาชีพ ในสาขาวิชาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และความร่วมมือกัน มีการนำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ในที่ประชุม

รายงานการประชุมที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม (Proceedings) ดำเนินการตีพิมพ์ผลงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่หลังการประชุม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference)
2. การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
เช่น http://202.44.34.144/nccitedoc/
หรือ  http://www.techno.edu.nu.ac.th/proceedingsEdtech.pdf
http://thaiglossary.org/node/10552

การประชุมระดับนานาชาติ (International Conferences) คือ การประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้งสุดท้าย

http://thaiglossary.org/node/36943


กระบวนการพิจารณา (Review Procedures)
KST = Knowledge and Smart Technology
http://kst.buu.ac.th/2017/submit_paper.html

review procedures
review procedures

เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมมือกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียง หรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางอันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทยโดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง

เพื่อให้วารสารวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้

๑. กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศต้องมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานโดดเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

๒. ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำ งานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

๓. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมดเพื่อเป็นการพัฒนา คุณภาพวิชาการของประเทศ

๔. บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารนั้นต้องมีผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด

๕. กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

๖. บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

๗. วารสารต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง

๘. วารสารต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (book review)

๙. วารสารควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (review article) เป็นครั้งคราว

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain.pdf

เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/document/gain%20vit-techno.pdf

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) คืออะไร

peer visit
peer visit

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมก่อนถูกประเมินจริงระยะหนึ่ง และผู้ตรวจเยี่ยมจะพิจารณาร่างรายงานการประเมินตนเองของคณะวิชา รวมถึงการเรียกเอกสารเพิ่มเติม ตรวจสถานที่จริง หรือเรียกสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะได้ตรงกับสภาพจริง เมื่อคณะวิชาทราบผลการตรวจเยี่ยมก็จะนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงร่วมกันในคณะ แล้วจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ และเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาที่จะมาพิจารณารายงานอย่างเป็นทางการ

โดยจำแนกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจเยี่ยมได้เป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ
2. จุดเด่น และข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา
3. จุดควรพัฒนา และ ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา และ สาเหตุมาจาก และ ข้อมูลสนับสนุน และ ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/5422/
+ http://www.scribd.com/doc/143112144/

การตรวจเยี่ยม (peer visit)

สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นคือความสามารถในการบันทึก
หลายครั้งที่ทำกิจกรรมก็มักจะมีการเขียนบันทึก
เพื่อนำบทเรียนในอดีต มาเรียนรู้ในปัจจุบัน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า
กิจกรรมหนึ่งคือการเยี่ยม ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่น ครูเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง
เพื่อนเยี่ยมเพื่อน และให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นกัลยาณมิตร
แล้วข้างล่างนี้คือแบบฟอร์มที่ใช้ตรวจเยี่ยมเพื่อการพัฒนา

แบบฟอร์มเยี่ยมเพื่อน
แบบฟอร์มเยี่ยมเพื่อน

แบบฟอร์มบันทึกการตรวจเยี่ยม

รายองค์ประกอบ ตามเกณฑ์ สกอ.
องค์ประกอบที่ ….
1. จุดเด่น คือ ….
ข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา คือ ….
2. จุดควรพัฒนา คือ ….
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา คือ …
สาเหตุมาจาก……
โดยมีข้อมูลสนับสนุน คือ ……
ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คือ ….
3. วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม  คือ  ……

รายตัวบ่งชี้ ตามเกณฑ์ สกอ.
องค์ประกอบที่ ……….  …………………………….
ชื่อตัวบ่งชี้ … :  …
บทบาท    เป้าหมาย    ผลการดำเนินงาน    การบรรลุเป้าหมาย    ระดับคะแนน    ระดับคุณภาพ
คณะวิชา
ผู้ประเมิน
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ ดำเนินการได้ 0 ข้อ คือ ….
2. จุดเด่น คือ ……
ข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา คือ ….
3. จุดควรพัฒนา คือ …
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา คือ …
สาเหตุมาจาก  …
โดยมีข้อมูลสนับสนุน คือ  …
ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คือ …
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม คือ …

http://www.thaiall.com/blog/burin/5437/
http://www.scribd.com/doc/143112144/

ตรวจเยี่ยมในฐานะเพื่อน (peer visit)

รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
รศ.อุษณีย์ คำประกอบ

3 เม.ย.55 มีโอกาสคุยกับคุณหนุ่ม และคุณกวาง ผ่าน IP Phone เรื่อง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย และบริการวิชาการ ว่าการเริ่มต้นเขียนเป็นอย่างไร การปรับปรุง การให้ข้อเสนอแนะ การหาหลักฐาน การแบ่งปัน การจัดทำให้ครบถ้วนตามอัตภาพ และความหมายของการเยือนในฐานะเพื่อน เป็นการพูดคุยกันแบบแยกส่วน (มี share ครับ)

แล้วก็คิดถึง รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ซึ่งถือเป็นวิทยากร ด้านการประกันคุณภาพของ สกอ. ที่หาตัวจับยาก หรือเรียกได้ว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศก็ว่าได้ เพราะเคยพูดคุยแลกเปลี่ยนแล้ว ท่านตอบข้อซักถามได้อย่างกระจ่างแจ้ง มีความเป็นกัลยาณมิตร หวังดีที่จะเห็นองค์กร และเพื่อนร่วมงาน ทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดมาให้ดำเนินการทั้งประเทศ