เล่าเรื่อง โยนหินถามทาง ไปทางไหนดี

บันทึก เรื่อง จับเข่าคุยกัน
นั่งดื่มกาแฟที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง
แล้วนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต
ที่ผมจำต้องเข้าไปอยู่
ท่ามกลางแม่น้ำสองสาย
ในวันที่แม่น้ำร้อยสายมาบรรจบกัน
.
สิ่งที่เจรจาร้องขอ
คือ แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง
ช่วยปรับลดเงื่อนไขลงนิดนึง
แล้วจะทำให้ผู้คนอีกมากมายยิ้มได้
เดินทางสะดวกขึ้น
ถ้าแต่ละสายพิทักษ์สิทธิ์ของตน
ก็คงเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
มีแต่ทางตัน เป็นคำตอบสุดท้าย
เหมือนการพบกันของเสื้อสองสี
เมื่อหลายปีก่อนที่มือที่สาม
เข้ามา คืนความสุข ให้ทุกสาย
.
แม่น้ำสายแรก
ยึกหลักว่า กลัวเสียหายจากสายน้ำอื่น
self protection
เพราะการลดเงื่อนไข
ทำให้เกิดเรื่องไม่พึงประสงค์จากสายน้ำอื่น
เรื่องนี้ฟังคำอธิบายแล้ว เห็นใจเลยครับ
เช่น ช่วยเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมหน่อย
.
แม่น้ำสายที่สอง
ยึดหลักว่า กลัวแผนธุรกิจจะเสียหาย
business protection
เพราะการเสียสละของเขา
ย่อมทำให้ธุรกิจกระทบกระเทือน
เรื่องนี้ต้องยึดหลักใจเขาใจเรา
เช่น ช่วยลดกำลังผลิตไฟฟ้าลงหน่อย
.
สรุปว่า ทั้งแม่น้ำสองสาย
มีเหตุผลที่ต้องปกป้องตนเอง
ดังนั้น หลังการขอให้แม่น้ำสองสาย
ปรับเงื่อนไขไม่สำเร็จแล้ว
ส่งผลทำให้ผู้คนอีกมากมาย
ต้องปรับตัวเอง เพราะยอมรับปัญหา
และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตต่อไป
.
กรณีตัวอย่างข้างต้น
ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในข่าว
ทำให้นึกถึงเหตุการณ์
น้ำท่วมเมื่อหลายปีก่อน ที่เราคงไม่ลืม
ที่แต่ละหมู่บ้าน อำเภอ หรือจังหวัด
ต้องยอมรับน้ำ แทนพื้นที่อื่น
ที่ไหลจากเหนือลงใต้
บางหมู่บ้านก็ไม่ยินดีรับมวลน้ำ
บางหมู่บ้านก็จำต้องยินดีรับ
บางหมู่บ้านกล่าวขอบคุณ
ที่หลายฝ่ายช่วยเปลี่ยนทางน้ำ
ออกไปจากพื้นที่ของตน
.
สรุปว่า ชวนมองสายน้ำ แหล่งน้ำ
และภัยแล้งที่กำลังจะมาถึงช่วงหน้าแล้ง
การแก้ปัญหาย่อม
มีคนได้ประโยชน์
มีคนเสียประโยชน์เป็นธรรมดา


https://fb.watch/q73N7j3Sjh/

#casestudy
#decisionmaking
#brainstorm
#management
#selfprotection
#storytelling

PDPA ebook โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ใน PDPAthailand.com

PDPA Thailand (Personal Data Protection Act) ได้รับอนุญาตจาก อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเผยแพร่เอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” สืบเนื่องในโอกาสที่อาจารย์มาบรรยายให้กับวิทยากรและที่ปรึกษาของบริษัท Digital Business Consult ตลอดจนผู้เข้าอบรมหลักสูตร Train the Trainer รุ่นที่ 1-4 ของสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล DDTI เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ส่งมอบเอกสารฉบับนี้ไว้

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ครอบคลุมบทสรุปของหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสากล นำเสนอให้องค์กรได้นำไปพิจารณาและปรับใข้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในการประกอบธุรกิจ โดยอ้างอิงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกอบ เชื่อว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์กร (ไม่เพียงเฉพาะภาคเอกชน) ที่เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการตาม PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยที่ “ทุกองค์กรต้องทำตาม” หากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแม้เพียงเล็กน้อย

http://www.thaiall.com/pdpa/index.html

e-book 31 หน้า : [Full] PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล