กรณีศึกษา บริษัท abc จำกัด แสดงข้อมูลค่าตอบแทนด้วยแผนภาพกราฟแท่ง เปรียบเทียบค่าตอบแทนของบุคลากร จำแนกตามแผนก ตำแหน่ง และอายุงาน มีคำถามว่า
ถ้าท่านเป็นผู้จัดการบริษัท ทราบข้อมูลแบบนี้ คิดว่า SWOT หรือ Plan จะเป็นอย่างไร
บล็อกที่มีเนื้อหาเน้นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กรณีศึกษา บริษัท abc จำกัด แสดงข้อมูลค่าตอบแทนด้วยแผนภาพกราฟแท่ง เปรียบเทียบค่าตอบแทนของบุคลากร จำแนกตามแผนก ตำแหน่ง และอายุงาน มีคำถามว่า
ถ้าท่านเป็นผู้จัดการบริษัท ทราบข้อมูลแบบนี้ คิดว่า SWOT หรือ Plan จะเป็นอย่างไร
5 มี.ค.54 การปรับค่าจ้างแรงงาน มีการนำอัตราเงินเฟ้อมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณา แสดงว่ามีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งข้อมูลและข่าวแสดงให้เห็นว่าถ้าอัตราเงินเฟ้อสูง การปรับค่าจ้างแรงงานก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังข่าว “ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเทียบเฟ้อย้อนหลัง10ปี” หรือจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์และเขียนรายงานไว้อย่างละเอียดถึงที่มาของอัตราเงินเฟ้อในแต่ละไตรมาส โดยมีข้อมูลย้อนหลังมากกว่า 10 ปี ซึ่งสรุปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อต.ค.53 และทำนายต.ค.54 อยู่ที่ประมาณ 3.5 ดังภาพ
เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง สถานการณ์ที่ระดับราคาหรือดัชนีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเกิดภาวะนี้แสดงว่า ไม่มีเสถียรภาพทางด้านราคา เป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ใช้วัดภาวะค่าครองชีพของประชาชน กล่าวคือ ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า อำนาจซื้อของเงินจะลดลง หรือกล่าวอีกนัยคือ รายได้ของประชาชนเท่าเดิมจะซื้อสินค้าหรือบริการได้น้อยลง
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาของปีปัจจุบันเปรียบเทียบกับดัชนีราคาของปีก่อน หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงที่เปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน การวัดอัตราเงินเฟ้ออาจวัดด้วยด้วยดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index: PPI หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index: CPI) หรือ GDP deflator แต่โดยทั่วไป รวมทั้งของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัววัดภาวะเงินเฟ้อ
http://www.eco.ru.ac.th/tawin/education/edu2.htm
สรุปง่าย ๆ ได้ว่า ถ้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 10 หมายความว่าของชิ้นหนึ่ง เคยถูกซื้อด้วยเงิน 100 บาท แต่ถ้าเกิดเงินเฟ้อขึ้นก็ต้องใช้เงินถึง 110 บาท
ถ้าต้องการรักษาความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคให้เท่าเดิม ก็ต้องเพิ่มเงินให้อีกร้อยละ 10 เพื่อให้เงินที่เขามีอยู่มีค่าเท่าเดิม
ตัวอย่างเช่น เมื่อ 30 ปีก่อน ผู้เขียนซื้อก๋วยเตี๋ยวถ้วยละ 3 บาท เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อปีละเล็กละน้อย ปัจจุบันต้องใช้เงิน 30 บาทซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ปริมาณเท่ากับที่เคยซื้อเมื่อ 30 ปีก่อน .. ถ้าใช้เงิน 3 บาทที่มีเมื่อ 30 ปีก่อนและไม่มีการเพิ่มเงินตามอัตราเงินเฟ้อ นำเงิน 3 บาทมาซื้อก๋วยเตี๋ยวในปัจจุบัน อาจได้ลูกชิ้นเพียงครึ่งลูกเท่านั้น
http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Inflation/Pages/index.aspx
http://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Inflation/Documents/0IR_281010.pdf