สมัยก่อนมนุษย์มีสมบัติพัสถาน น้อยประเภทกว่าสมัยนี้นะ

sar handbook in bhes 2557
sar handbook in bhes 2557

สมบัติพัสถาน หมายถึง ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน
อันได้แก่ แก้ว แหวน เงิน คำ ภาพวาด รูปป้้น อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง
แต่สมัยนี้หาสมบัติพัสถานแบบเดิมมาเป็นเจ้าของนั้นยากขึ้น
สำหรับบางอาชีพ สมัยนี้การเลือกอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กมัธยม

สมบัติรูปแบบใหม่ที่เริ่มหากันมาครอบครอง ก็คือสิ่งที่อยู่ใน cloud
จับต้องกันไม่ค่อยได้ ที่จับต้องได้ก็เป็นเพียงเครื่องมือ เช่น server
แต่สิ่งมีค่ากว่า hardware คือ content
เช่น ภาพ คลิ๊ป งานเขียน เพชรนินจินดาในเกม หรือเงินในเกม เป็นต้น

วันนี้ได้ใช้บริการ revision ของ scribd.com
คือ upload เอกสารของ สกอ. ไปทับของเดิม
แต่ข้อมูลแวดล้อมเดิมยังอยู่
เพียงแต่เปลี่ยนรุ่น ก็เหมือนระบบของ fb group
ที่ผมมัก upload lecture note ให้นักศึกษาได้ติดตาม
ในระหว่างเรียนมีการแก้ไข ก็จะทำการ revision หลังปิดชั้นเรียน

เหตุที่ต้อง revision ใน scribd.com ครั้งนี้
เพราะผมนำเอกสาร pdf มา merge กันด้วย pdfcreator
แต่มีปัญหา หน้าสีดำเป็นบางหน้า
แล้ววันต่อมา ที่มหาวิทยาลัย คุณเปรม ได้รับแฟ้มจากพี่ทอง
แล้ว upload แฟ้มที่มีการ merge กันอย่างสมบูรณ์
ผมจึงนำเอกสาร ที่เป็นร่างประกันสกอ. 2557 มา upload ทับรุ่นเดิม
ผมถือว่าเอกสารต่าง ๆ ใน cloud หรือ social media
ล้วนเป็นสมบัติพัสถาน เพราะมีค่าทางจิตใจ และรู้สึกว่าเราเป็นเจ้าเข้าเจ้าของนั่นเอง

scribd can do revision
scribd can do revision

เอกสารรุ่นใหม่ ค้นจาก google.com ด้วยคำว่า
“ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557”
พบลิงค์แรก คลิ๊กเข้าไปก็พบบริการ “ตรวจสอบรายชื่ออาจารย์”
ที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/

รุ่นใหม่ ทาง สกอ.ได้อัพเดท กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.9
https://www.scribd.com/doc/241588240/

ส่วนรุ่นเก่าที่ระดับคณะวิชา กำหนดตัวบ่งชี้ไว้ถึง 2.8
เมื่อ 3 ต.ค.57 พบว่าถูก view ไป 377 ครั้ง
https://www.scribd.com/doc/221987061/

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

การประเมินว่าสถานศึกษามีคุณภาพหรือไม่ จะมีคนภายนอกเข้าไปมอง หากมองแล้วพบว่าผลการดำเนินงานไม่ตอบเกณฑ์ที่ส่วนกลางตั้งขึ้น ก็จะมองว่า มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แล้วปิดด้วยข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีเอกสารตัวอย่างแนวทางการให้ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินทุกระดับคุณภาพ ต้องให้ข้อเสนอแนะ 2) การให้ข้อเสนอแนะกำหนดให้ระบุไว้ใน 2 แห่ง คือตัวบ่งชี้ และแต่ละมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐาน 3) รูปแบบการเขียนข้อเสนอแนะ ในรูป swot ที่มีเพียงจุดแข็งและจุดอ่อน
ที่ http://www.scribd.com/doc/143112144/

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

เปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก

ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง
มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า กกอ. จะเข้มงวดกับศูนย์นอกที่ตั้ง ว่าต้องผ่านการประเมินจาก สมศ. ระดับดีมาก
ขอแค่ระดับดี หรือ พอใช้ไม่ได้แล้ว พอไปค้นดูก็พบจาก 2 สื่อ คือ ไทยโพสต์ กับเดลินิวส์ เมื่อกลางสิงหาคม 2555
แล้วได้ยินนักวิชาการพูดเรื่องนี้ว่าต่อไปจะเหมือนออก license เป็นใบเขียว ใบเหลือง และใบแดง ผมฟังแล้วเหมือนสัญญาณไฟตามแยกของถนนเลยครับ ที่มีสัญญาณ 3 ประเภท
1) ออกกฎเหล็กการเปิดศูนย์นอกที่ตั้ง ต้องให้รมว.ศธ.เซ็น/หลังผลตรวจล่าสุดน่าระอาไม่ผ่านประเมินอื้อ (ไทยโพสต์)
สกอ.เตรียมประกาศ เพิ่มขั้นตอนการเปิด และคงหลักสูตรการเรียนศูนย์นอกที่ตั้งมหาวิทยาลัย เบื้องต้นเพิ่มความเข้มงวดมหา’ลัยที่เปิดได้ต้องให้ รมว.ศธ.เห็นชอบ และต้องมีผลประเมิน สมศ. ระดับดีมาก โดยจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ “กำจร” เผยผลตรวจศูนย์นอกที่ตั้งประจำปี 2555 พบหลักสูตรไม่ผ่านการประเมินอื้อ ส่วนใหญ่เป็นระดับ ป.ตรี สั่งออกมาตรการแล้ว หลักสูตรใดไม่ผ่านการประเมินต้องหยุดรับนักศึกษาปี 56 ทันที
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินจำนวน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร พบว่า มีหลักสูตรผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์ ทั้งนี้ หลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรี อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ สกอ.ไปตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้ง ซึ่งยังไม่ถึงคิวประเมินได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ดังนั้นจะมีศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร
รองเลขาฯ กกอ.กล่าวต่อว่า ผลการตรวจประเมินดังกล่าวทำให้ กกอ.มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับเพิ่มเล็กน้อย ก่อนที่จะเสนอนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม จากนั้นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไปหากมีร่างดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่สถาบันไหนจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป และที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาจนเกิดปัญหาเหมือนปัจจุบันนี้
ส่วนสาระสำคัญของร่างดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการ ก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน ขณะที่หลักสูตรที่จะเปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งเปิดสอนในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ อีกทั้งหลักสูตรที่จะเปิดสอนนั้นจะต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน
สำหรับผลการตรวจประเมินศูนย์นอกที่ตั้ง ทาง สกอ.จะแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้ารับการประเมินรับทราบ และหากสถาบันใดต้องการจะทักทวงผลการตรวจประเมินต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ตั้งแต่ได้รับทราบผลจาก สกอ. สำหรับหลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นจะต้องไม่เปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่.
2) สกอ.มั่นใจจัดระเบียบสอนนอกที่ตั้งได้ผล (เดลินิวส์)
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.- 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจประเมินใน 14 สถาบัน 18 ศูนย์ 50 หลักสูตร โดยพบว่า มีที่ผ่านการประเมิน 2 หลักสูตร 2 สถาบัน 2 ศูนย์ ไม่ผ่านการประเมิน 41 หลักสูตร 8 สถาบัน 11 ศูนย์ และต้องปรับปรุง 7 หลักสูตร 5 สถาบัน 5 ศูนย์  ซึ่งหลักสูตรที่ไม่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ และครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และจากการตรวจประเมินยังพบว่ามีศูนย์นอกที่ตั้งได้ปิดตัวเองไปแล้วจำนวน 57 ศูนย์ ทำให้เหลือศูนย์นอกที่ตั้งที่ต้องไปตรวจประเมินในปี 2555 อีกจำนวน 162 ศูนย์ ประมาณ 300 กว่าหลักสูตร

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะสรุปผลการตรวจประเมินแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ เพื่อให้สถาบันทักท้วงผลการตรวจประเมินภายใน 30 วันนับจากได้รับทราบผล ทั้งนี้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นมีผลทำให้สถาบันไม่สามารถเปิดรับนิสิตนักศึกษาในหลักสูตรนั้นในปีการศึกษา 2556 แต่จะไม่มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่แล้ว
รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อไปว่า กกอ.ยังได้เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ให้ปรับปรุงเล็กน้อยก่อนที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการลงนาม และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนสถาบันที่จัดไม่มีคุณภาพจะต้องปิดตัวไป ที่สำคัญการเปิดสอนนอกที่ตั้งจะไม่สามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกแล้ว
“สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง คือ หากสถาบันอุดมศึกษาใดจะเปิดสอนนอกสถานที่ตั้งจะต้องขออนุญาตจาก รมว.ศึกษาธิการก่อนที่จะไปเปิดการเรียนการสอน หลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็นความต้องการของสังคมและชุมชน รวมทั้งต้องเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับดีมาก และสถาบันจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่จะสิ้นสุดการดำเนินการ จำนวนอาจารย์ที่มีอยู่และจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับด้วย ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้จะทำให้การศึกษานอกสถานที่ตั้งมีคุณภาพแน่นอน” รศ.นพ.กำจร กล่าว.
ระบบวงเวียนแทนสัญญาณไฟจราจร บริเวณห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง

บทเรียนที่พบในอดีตเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร
ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร

1 มี.ค.55 มีโอกาสฟัง อาจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร  บรรยายเรื่อง ประเด็นในบางตัวบ่งชี้ และ share&learn  ที่ The Empress จังหวัดเชียงใหม่  .. ท่านเล่ากรณีปัญหาที่ได้พบจากการเป็นผู้ประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ในอดีต .. ท่านเล่าให้ฟังเพื่อเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้น อาทิ
1. การตรวจเยี่ยมนอกที่ตั้งพบว่าไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำงานอยู่
2. กรรมการสภาอยากเป็น ง แต่คณะวิชาและอธิการอยากเป็น ข (เหมือนแม่ปูเลยครับ)
3. บวกเลขผิด ๆ ถูก ๆ แล้วในมหาวิทยาลัยใครจะรับผิดชอบ (ใครควรรับรู้)
4. บางคณะอยากให้งานประกันเขียนรายงาน (ไว้อาลัย)
5. แค่วิทยากรมาบรรยายก็เรียก KM แล้ว ไม่มี share & learn กันเลย
6. บางที่ก็มี blog มีคนเขียน 1 คน จะเรียกว่ามหาวิทยาลัยมี km ได้อย่างไร
7. best practice ของ QA วัดจากการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างสถาบัน ไม่ได้
8. QA ต้องลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำกับ ไปตรวจสอบให้ทุกอย่างถูกต้อง
9. บางคณะทำแค่ 2.1 กับ 2.6 เพราะ QA บอกว่าตามใจ (แล้วพันธกิจไปไหน)
10. ประเมินความสำเร็จต้องทำหลังโครงการแล้วเสร็จ มิใช่ประเมินโครงการ
11. MIS ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ ส่วน QA ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
12. ไม่ต้องส่งชื่อผู้ประเมินเข้าไปมาก ปัจจุบันมี 6000 คน บางคนยังไม่รู้จักแผนกลยุทธ์เลย
13. ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ผู้ประกอบการบอกว่าบางคนภาษาคนยังคุยไม่รู้เรื่องเลย
http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA_Training/qa_training.htm

การบริการวิชาการ ที่แม่เมาะ

บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553
บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553

คณะวิชาทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ส่งนักวิชาการออกบริการวิชาการ ที่ อบต.บ้านดง 21 – 22 ต.ค.2553 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสำรวจความต้องการ และการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อ 18 ต.ค.53  โดยมีโครงการทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ โครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ โครงการอบรม “การให้ความรู้ด้านกฎหมายครอบครัว” โดย อ.สุทธิ์พจน์  ศิริรัตนาสกุล และ โครงการอบรม “EQ กับการทำงานใต้ความกดดันและการบริหารความเครียด” โดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.450808788894.247022.814248894

สไลด์เผยแพร่เกี่ยวกับความปลอดภัย
จากการให้บริการวิชาการ ตามโครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ที่ อบต.บ้านดง และทต.แม่เมาะ ระหว่าง 21 – 22 ต.ค.2553 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัย และขอสไลด์ไว้ศึกษา แล้วคณะวิชาได้พิจารณาเห็นชอบให้นำเสนอได้ จึงนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนบุคลากร และผู้สนใจได้ ดาวน์โหลดไปศึกษาได้
ที่ http://www.thaiall.com/security/security_basic.ppt

ตัวชี้วัดกับผลงานการปฏิบัติงาน

18 มี.ค.54 ในการทำข้อตกลงภาระงาน หรือรายงานการปฏิบัติงาน มีช่อง “ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์” ซึ่งมีช่องย่อย 2 ช่องที่มักถูกนำมาพูดคุย คือ ตัวชี้วัด และผลงาน ผู้ปฏิบัติงานมักสอบถามว่าจะใส่อะไร  ก็มีตัวอย่างจากการประกันคุณภาพการศึกษาว่า ตัวชี้วัดนั้นต้องนับได้ ส่วนผลงานก็คือผลที่ทำได้ ซึ่งเป็นค่าที่นับได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
1. สอนหนังสือ ตัวชี้วัด 3 วิชา ผลงาน 3 วิชา
2. รับนักศึกษา ตัวชี้วัด 20 คน ผลงาน 19 คน
3. โครงการสะเปาบก ตัวชี้วัด 3 ชั่วโมง ผลงาน 5 ชั่วโมง
4. อบรมอบต.บ้านดง ตัวชี้วัด 3000 บาท ผลงาน 2500 บาท
5. จัดทำเอกสารประกอบการสอน ตัวชี้วัด 2 วิชา ผลงาน 1 วิชา
6. ส่งเอกสารให้ผู้ปกครอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ผลงาน ร้อยละ 90
7. รับโทรศัพท์ ตัวชี้วัด วันละ 8 ชม. ผลงาน วันละ 8 ชม.
8. ผลประเมินคุณภาพระดับสาขา ตัวชี้วัด 3.51 ผลงาน 3.52
9. ผลประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ตัวชี้วัด 4.21 ผลงาน 4.30
10. การบริการวิชาการแก่ชุมชน ตัวชี้วัด 2 ครั้ง ผลงาน 3 ครั้ง

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

mcu lampang
mcu lampang

10 ก.พ.54  ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การทำแผนของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ()

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกัน คุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. และบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มี หลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอน เพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป

การแก้ไข e-doc เชื่อมโยง commitment และ sar

ระบบเอกสารออนไลน์
ระบบเอกสารออนไลน์

11 ก.พ.54 สืบเนื่องจากการอบรม

การเชื่อมโยงเอกสารตามข้อตกลงภาระงาน
และเอกสารประกันคุณภาพการศึกษา

ได้ดำเนินการแก้ไข e-doc ของมหาวิทยาลัย หลังวางแผนร่วมกับงานพัฒนาบุคลากร งานประกันคุณภาพ และดำเนินการจัดอบรมบุคลากร ได้รับข้อเสนอแนะ และดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ มีโปรแกรมที่แยกเป็น static ทั้งหมด 189 folder ซึ่งมีรายการแก้ไขเร่งด่วนทั้งหมด 6 ประเด็น
1. บรรทัดที่ 6 แก้ไขรุ่นของโปรแกรม และ บรรทัดที่ 18 ปรับค่าปริยายจำนวนแฟ้มต่อหน้าจาก 25 เป็น 50 เพราะช่องที่เตรียมไว้ไม่พอสำหรับ 400 แฟ้ม
2. บรรทัดที่ 173 – 176 เปลี่ยนสัญลักษณ์ X เป็น + เพราะความหมายตรงกว่า
3. บรรทัดที่ 161 และ 166 ทำให้แสดงผลการเชื่อมโยงได้มากกว่า 1 แฟ้ม  ด้วยการใช้ . ต่อ string ตามข้อเสนอของอ.เบญ และ อ.อดิศักดิ์
4. บรรทัดที่ 76 เพิ่มการเชื่อมเข้าระบบอินทราเน็ต และระบบประกันคุณภาพ อัตโนมัติแบบไม่ต้อง sign in ใหม่ และสร้างลิงค์ที่สัมพันธ์กันสำหรับการวนไปมาได้
5. บรรทัดที่ 147 แก้การแสดงวันที่ให้เข้าใจง่าย และใช้ปีพ.ศ. อาทิ 28 Aug 2552 12:08:27
6. บรรทัดที่ 191 เพื่อการแสดง source code และภาพแนวการออกแบบระบบเชื่อมโยง ในกรณีที่มีนักพัฒนาต้องการไปพัฒนาต่อ

ในทั้ง 6 ประเด็นมีการดำเนินการแก้ไขระบบ intranet และ sar เพิ่มเติม ให้สอดรับกับประเด็นที่ต้องแก้ไขใน e-doc แต่ไม่กล่าวถึงในที่นี้
http://www.thaiall.com/yonok/edoc_v7_540211.txt