ยกร่างรายงานผลการวิจัย sar52

17 ก.ย.53 วันนี้เปิดงานการเขียนรายงานการวิจัย(สถาบัน)แล้ว เริ่มเขียนส่วนที่ง่ายที่สุดคือ กิติกรรมประกาศ หาอีเมลของแต่ละคน และสรุปรายชื่อผู้ร่วมวิจัย ซึ่งงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง สำหรับปีการศึกษา 2552 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก” มีเพื่อนร่วมวิจัย 8 ท่านประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.ทันฉลอง  รุ่งวิทู อ.อดิศักดิ์  จำปาทอง อ.ศิรินธร อุทิศชลานนท์ อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ ซึ่งการดำเนินการที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ พัฒนาโปรแกรม อบรมระดับบุคคล และประเมินความพึงพอใจ สำหรับการหาอีเมลเนื่องจากโครงการนี้มีเป้าหมายจะเขียนบทความจากงานวิจัย
เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติกลางปีหน้า การส่งบทความ และรายชื่อเพื่อนทุกคนต้องใช้อีเมลในการอ้างอิง .. นั่นเป็นเรื่องอนาคตที่ผมยังทำไม่เสร็จ

กิติกรรมประกาศ เขียนไว้ 4 ย่อหน้า ดังนี้
+ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยการสนับสนุนทุนในการทำวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโยนก และความร่วมมือจากผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากคณะวิชา และหน่วยงาน
+ ขอขอบพระคุณ ทีมผู้ประเมินระดับคณะวิชา เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพทั้งในระดับคณะวิชา และหน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลจนกระทั่งดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพจนมีความพร้อมใช้งาน
+ ขอขอบพระคุณ นายอนุชิต ยอดใจยา นายอรรถชัย เตชะสาย และนายธรณินทร์  สุรินทร์ปันยศ ที่ร่วมเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง จัดตั้งและดูแลเครื่องบริการระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง อำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานเข้าใช้งานได้โดยสะดวก
+ สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านอธิการบดีที่มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และบุคลากร จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ใช้แนวการเขียนจาก http://www.scc.ac.th/research/method/method01.asp
ที่ผมใช้เป็นแนวการเขียนรายงานการวิจัยตั้งแต่ ก.ย. 2553

ทั้งหมดนี้ก็เพียงเล่าสู่กันฟัง

ค้นหาชื่ออาจารย์ creative ใน google.com ได้แล้ว

ข้อมูลบุคลากร กับหลักฐานประกันคุณภาพ

12 มิ.ย.53 ผลจากการอบรมให้บุคลากรนำหลักฐานเอกสาร ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2552 เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ผลการประกันคุณภาพ และมุ่งเป็นมหาวิทยาลัย creative ที่มีคุณภาพ โดยประเด็นเริ่มจากการปรับรายงานแสดงเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพให้จัดกลุ่มที่เชื่อมโยงกับชื่อบุคลากรเจ้าของหลักฐาน ให้ดูเข้าใจง่าย จนลามไปถึงการเชื่อมโยงชื่อบุคลากร กับฐานข้อมูลบุคลากร และพบว่า google.com เก็บข้อมูลเว็บเพจเก่า ที่เป็นฐานข้อมูลบุคลากรที่ทำไว้หลายปีก่อน จึงได้ ฤกษ์ ปรับให้โปรแกรมตัวเก่าดูดข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลใหม่ โดยลิงค์เดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ google.com ไม่เสีย วันนี้ค้นชื่อ คนึงสุข นันทชมภู หรือ คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ ก็จะพบลิงค์เดิมที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจใหม่เรียบร้อยแล้วครับ
     ณ วันนี้ข้อมูลมากมายของมหาวิทยาลัย ยังคงสืบค้นได้จาก google.com  โดยตรง ไม่จำเป็นต้องหาลิงค์จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพราะข้อมูลถูกดูดเข้าสู่ระบบ google.com มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูล .. เล่าสู่กันฟัง
+ http://www.yonok.ac.th/sar
+ http://www.yonok.ac.th/person

ปิดร่างรายงานการวิจัย sar51 แล้ว

หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551
หน้าจอโปรแกรม การประเมินตนเอง 2550 - 2551

16 ธ.ค.52 วันนี้ผมปิดร่างรายงานการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2551 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง” จากการส่งร่างให้ทีมวิจัยทั้ง 8 คนตรวจสอบก็ดำเนินการไปแล้ว ต่อจากนี้จะประสานส่งรายงานตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะมีกลไกดังนี้ 1) ส่งให้คณบดีพิจารณา 2) คณะกรรมการวิจัยในคณะ 3) สถาบันวิจัย 4) คณะกรรมการของสถาบันวิจัย 5) เวทีวิจัยของมหาวิทยาลัย 6) ท่านอธิการ ถ้าผ่านกลไกนี้ก็จะปิดงบถ่ายเอกสารของโครงการ แล้ววางแผนรวมทีมวิจัยโครงการต่อยอดกับข้อมูลปี 2552 เพื่อขยายให้ถึงระดับบุคคล ซึ่งมีความเป็นไปได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ ท่านอธิการสนับสนุน และบุคลากรมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากการอบรมในเดือนที่ผ่านมา โดยบทคัดย่อมีดังนี้
      งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมระบบฐานข้อมูลให้หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลการประเมินตนเอง และเพื่อให้ผู้ประเมินตรวจสอบหลักฐานเพื่อการประกันคุณภาพด้วยความพอใจ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 2 กลุ่ม รวม 13 คน คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา 7 คน ตัวแทนคณะวิชาและสาขาวิชา 6 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือเครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลไมโครซอฟท์แอคเซส ใช้แบบประเมินความพึอพอใจหลังการอบรมใช้งานโปรแกรม และหลังการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับสถาบันเสร็จสิ้น โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ งานที่พัฒนาขึ้นสามารถเลือกข้อมูลปีการศึกษา 2550 หรือ 2551 แบ่งเป็นระบบย่อยที่สำคัญ 6 ระบบ ประกอบด้วย 1) ระบบเข้าใช้งานของผู้ใช้  2) ระบบนำแฟ้มข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน  3) ระบบบันทึกรายละเอียดตามตัวบ่งชี้ 4) ระบบจัดการข้อมูลพื้นฐาน 5) ระบบปรับปรุง  และ 6) ระบบรายงานผลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของหน่วยงานโดยรวมอยู่ระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโปรแกรมของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24, S.D = 1.11) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นยังไม่ตอบสนองความพึงพอใจต่อผู้ใช้ทั้ง 2 กลุ่มในระดับมาก
     The objective of this operational research was to develop the self assessment system to serve the satisfaction of users and assessors. This system used the case study of YONOK University.  The data sampling is divided into 2 groups consisting of 7 assessors and 6 faculties. The system development tools were Internet Information Server, PHP Interpreter, AJAX and Microsoft Access Database. 5-scale rating questionnaire was collected to evaluate system performance after finishing training and evaluation of the system. This system could be surve to database of 2550 and 2551.  There are 6 sub-systems: user’s login, documents upload, indicator update management, and common data set management, data updating and reporting system. The evaluation result of user’s satisfaction was high (a mean of 3.71 and standard deviation of 1.16). The evaluation result of assessor’s satisfaction was also moderate (a mean of 3.24 and standard deviation of 1.11). It is concluded that the system performance was not satisfy to both group in high level.
+ http://www.thaiall.com/research/sar51/fullpaper_sar51_521216.zip  500 KB
ถ้าท่านใดอ่านแล้วมีข้อเสนอแนะ แจ้งได้ครับ เพราะยังไม่ปิดงบถ่ายเอกสาร เป็นเพียงร่างรายงาน

ผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนจากการประเมิน .. ออกแล้ว

วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก
วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนใน 3 ตารางแรก

13 ธ.ค.52 วันนี้ช่วงกลางวันมีภารกิจวิพากษ์แผนพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งวัน โดยมี อ.วิเชพ ใจบุญ เป็นผู้ดำเนินการ และมี อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ เมื่อกลับบ้านก็หายจากอาการทอนซิลอักเสบพอดี จึงนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ที่เกิดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคม 2552 ที่มาจากผู้ประเมินภายในของแต่ละคณะ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินตนเอง และผลการประเมินของผู้ประเมิน ระหว่างปีการศึกษา 2550 และ 2551 ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนสูงเกินกว่าที่คาดไว้มาก ทำใจเขียนส่วนอภิปรายผล หรือสรุปผลต่อไม่ได้ และคิดว่าคืนนี้ผมคงมีเรื่องอะไรให้นอนคิดมากมายกว่าทุกวัน
     ตารางที่ 1 จำแนกตามจำนวนคะแนนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนจากผลต่างการประเมินตนเองและของผู้ประเมินในปีการศึกษา 2551 พบว่า ผลรวมจำนวนตัวบ่งชี้จากทุกคณะ ที่ผลประเมินตนเองตรงกับผลของผู้ประเมินมีเพียง 58.55% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 1 คะแนนมี 22.22% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 2 คะแนนมี 14.96% และที่มีคลาดเคลื่อนระดับ 3 คะแนนมี 4.27% ซึ่งผลในตารางที่ 1 ไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนนัก นอกจากตกใจที่เห็นผลประเมินเกือบครึ่งหนึ่งมีความคลาดเคลื่อน และพบว่าคณะของผมมีจำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ 20 ตัวบ่งชี้ แต่คณะบริหารคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ 10 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 2 จำแนกตามจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า ไม่มีคณะใดเลยที่มีความคลาดเคลื่อนลดลงจากปี 2550 ทั้งที่ได้มีการนำเสนอรายงานความคลาดเคลื่อนไปใน การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 22 /2552 วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2552 วาระ 4.3 โดยมีตัวแทนนักวิจัยร่วมประชุมครั้งนี้ 4 ท่านได้แก่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.คนึงสุข นันทชมภู โดย อ.วันชาติ นภาศรี เป็นตัวแทนทีมวิจัยจัดทำข้อเสนอแนะไว้ในรายงานจำนวน 3 ข้อ คือ 1)เร่งพัฒนาศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการวิจัย 2)กำหนดนิยามปฏิบัติการในรายตัวบ่งชี้ที่ยังมีความสับสน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3)จัดทำคำอธิบายว่าตัวบ่งชี้ใดใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกคน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลับมาหาสิ่งที่พบในตารางที่ 2 คือ คณะของผมติดอันดับหนึ่งในการที่มีจำนวนตัวบ่งชี้ที่คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 15 ตัวบ่งชี้ ส่วนคณะที่จำนวนตัวบ่งชี้คลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดมีคณะบริหารกับคณะสังคม คือ 1 ตัวบ่งชี้
     ตารางที่ 3 จำแนกตามคะแนนที่คลาดเคลื่อนเปรียบเทียบปีการศึกษา 2550 และ 2551 พบว่า คณะของผมยังเป็นเบอร์ 1 คือ คะแนนคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นอีก 22 คะแนน โดยคณะสังคมคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ 3 คะแนน รองลงมาคือคณะบริหาร 5 คะแนน ทั้ง 3 ตารางนี้ได้เปรียบเทียบในระดับคณะ ยังไม่เปรียบเทียบในระดับตัวบ่งชี้ ว่าองค์ประกอบใด หรือตัวบ่งชี้ใด มีความผิดปกติบ้าง แต่เท่าที่คาดการณ์ก็เชื่อได้ว่าความคลาดเคลื่อนกระจายอยู่ในทุกตัวบ่งชี้อย่างแน่นอน แต่จะมีตัวใดสูงเป็นพิเศษคงต้องใช้เวลาทำ pivot table อีกครั้ง
     จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ผมมีแผนส่งข้อมูลดิบให้แต่ละคณะและทีมวิจัยได้ตรวจสอบ ก่อนดำเนินการเขียนรายงานสรุปผล และอภิปรายผลรายงานการวิจัยต่อไป ซึ่งส่วนของการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนเป็นเพียงผลการวิจัยที่เพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์หลัก แต่นี่คืองานวิจัยสถาบันที่พบว่าระหว่างการวิจัยได้พบประเด็นที่จะเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยได้ และสนับสนุนให้การดำเนินงานวิจัยบรรลุตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการค้นหาเป็นหลัก คือความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของความคลาดเคลื่อนและความพึงพอใจสอดคล้องกัน คือ ระดับความพึงพอใจเป็นไปในทางเดียวกับความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลย และจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปไม่ได้
+ http://www.yonok.ac.th/sar/nsar51.php

ยกร่าง การอภิปรายผล รายงานวิจัย sar51

sar518 ธ.ค.52 ยกร่าง การอภิปรายผล ซึ่งยังขาดผลประเมินคณะ ปีการศึกษา 2551 เพื่อใช้วิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเปรียบเทียบปี 50 และ 51 ในขั้นตอนที่เหลือ และยังไม่เสนอให้ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ อ.อาภาพร ยกโต อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.สุรพงษ์  วงค์เหลือง นางเจนจิรา เชิงดี และ นางสาวเพชรี  สุวรรณเลิศ
     จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปายผล ดังนี้ 1) ผลสำรวจความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงครั้งที่สี่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ลดเพียงเล็กน้อยสำหรับครั้งที่สี่ คือ 3.86, 3.93 4.18 และ 4.10 โดยทั้ง 4 ครั้งมีระดับความพึงพอใจเท่ากันคือระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นตัวแทนจากคณะวิชามีความพึงพอใจ ยอมรับ และเข้าใจการใช้งานระบบนี้ 2) หน่วยงานระดับคณะวิชายังใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพียง 80% และมีคณะที่ส่งมอบรหัสผ่านให้กับผู้ประเมินเพียง 60% แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทั้งระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง และกลไกที่สนับสนุนให้คณะวิชาใช้งานระบบยังต้องมีการปรับปรุง 3) ผู้ประเมินได้ใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองทุกคน แต่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24 , S.D = 1.11) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานระดับคณะวิชาส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ประเมินเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารผ่านระบบออนไลน์แล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว จึงทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ 1) ผู้บริหาร และสำนักประกันคุณภาพควรผลักดันให้หน่วยงานระดับคณะวิชาใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และมีกลไกในการกำกับดูแลการใช้งานระบบดังกล่าวที่ชัดเจน 2) การใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรเปิดให้อาจารย์ได้เข้าไปใช้งาน และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคณะวิชา แล้วรวมเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยในที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกลไกการประกันคุณภาพแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
     ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ 1) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยควรรองรับการใช้งานตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเชื่อมโยงแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ทั้งกับระบบฐานข้อมูลภายใน และภายนอก 2) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรมีฟังก์ชันเผยแพร่รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินแล้ว สู่สาธารณชนผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/sar

สรุปผลการวิจัย 1/9 ตอน ของ sar51

4 ธ.ค.52 โครงการวิจัยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองปีการศึกษา 2551
     สรุปผลการวิจัยตอนที่ 1 ใน 9 ตอน ส่วนของผลการวิเคราะห์สถานการณ์ระบบฯ  พบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัย ทำให้สอดรับกับตัวบ่งชี้คุณภาพอย่างน้อย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1)ตัวบ่งชี้ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 2)ตัวบ่งชี้ 7.5 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย 3)ตัวบ่งชี้ 9.1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา 4)ตัวบ่งชี้ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 4.1 คือ แสดงให้เห็นว่าคณะวิชามีบทบาท มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบ และกลไกที่ส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นทีมวิจัยโครงการวิจัยบูรณาการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัย แล้วนำระบบที่พัฒนาขึ้นกลับไปใช้ประโยชน์ในคณะวิชาอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 7.5 คือ คณะวิชามีส่วนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน แล้วใช้ประโยชน์จากรายงานที่ได้ อาทิ ตารางสรุปผลทั้ง 4 ประเภทไปช่วยในการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.1 คือ คณะวิชามีส่วนร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้ร่วมกันในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นปีที่สอง
     ผลต่อตัวบ่งชี้ 9.3 คือ คณะวิชาได้รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสู่สาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด ผ่านระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่คณะวิชามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อใช้งานในมหาวิทยาลัยเป็นปีที่สอง
     สำหรับการดำเนินการ นำเสนอผลการประกันคุณภาพสู่สาธารณชน อยู่ขั้นตอนการพัฒนารายละเอียด และขออนุมัติผู้บริหาร ซึ่งมีตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เผยแพร่สู่สาธารณะ ดังนี้
http://science.psru.ac.th/sar/ocomponent1_1.php
+ http://fis.swu.ac.th/QAsar/linkdetail.asp?fisyear=&fc=MDCH&parentid=20&num=4&nodenum=7.5
+ http://www.nsru.ac.th/aritc/sar51/7_5.htm
+ http://www.ams.cmu.ac.th/depts/qa/WSAR50/KPI50/7/aong7.5.htm
+ http://www.bcnnv.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=244
+ http://www.pnc.ac.th/manage/StandardDetail.php?code=47
+ http://sci.skru.ac.th/science/sciquanlity/sar51/sarpointer7_5.php
+ http://202.183.204.134/manage/StandardDetail.php?code=99
+ http://202.29.80.19/~sar/acomponent3_4.php
+ http://www.techno.msu.ac.th/SAR/007/p7_05.htm
+ http://www.ubu.ac.th/~softset/qaocn50/act50_751.php