ทำไมต้องคิดต่างจากคลิ๊ป ผมคล้อยตามคลิ๊ปเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาเลย

เห็นคลิ๊ปเรื่อง I just sued the school system.
ผมล่ะคล้อยตามเลย ว่าโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันทั้งประเทศ
ระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันหมดทั้งประเทศ

ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน

http://thainame.net/edu/?p=1114

เอ๊ะ มีข้อสงสัยนิดนึง
พอข้อมูลน่าสนใจเรื่อง “ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย
ที่นำเสนอในบทความของ ดร.ไกรยส ภัทราวาท เมื่อ 6 มิถุนยน 2557
พบว่า เด็กทั้งประเทศแยกตามจังหวัดแล้วไม่เหมือนกัน มีทั้งเก่งและอ่อน
มีทั้งปีนต้นไม้เก่งเป็นลิง และว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว
– เขียวเข้มมี 15 จังหวัด
– เขียวอ่อนมี 14 จังหวัด
– เหลืองมี 14 จังหวัด
– ส้มมี 16 จังหวัด
– แดงมี 17 จังหวัด
http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-06062557-043420-2Mw1R1.pdf

ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน
ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน

ระบบการศึกษาสมัยนี้เหมือนกัน แต่ก็เหมือนไม่หมดนะ .. ที่ต่างก็มี
เพราะเห็นเค้าปรับระบบโรงเรียนให้สอนต่างกันตามความสามารถ
ปรับการคัดเลือกจาก admission เป็น entrance
เดี๋ยวนี้
ปีนต้นไม้เก่ง ก็เป็นโรงเรียนสอนปีนต้นไม้
ว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว ก็เป็นโรงเรียนสอนว่ายน้ำ

เดี๋ยวนี้ถึงมี
– โรงเรียนพระ สำหรับผู้ทรงศีล
– โรงเรียนดนตรี สำหรับผู้ชอบร้องรำทำเพลง
– โรงเรียนกีฬา สำหรับผู้มีหัวใจเป็นนักกีฬา
– โรงเรียนชาวเขา สำหรับชาวเขา
– โรงเรียนประจำจังหวัด สำหรับคนที่จะไปปีนต้นไม้
– โรงเรียนเล็ก สำหรับน้อง ๆ ที่จบไปจะค้าขาย
– โรงเรียนกวดวิชา สำหรับเด็กที่อยากบินไปในนภา
– โรงเรียนนานาชาติ สำหรับเด็กที่อยากพูดหลายภาษา

http://www.thaiall.com/student/
https://www.facebook.com/PrinceEa/videos/vb.71760664768/10154982214184769/

เคล็ดลับการเรียนด้วยตัวเอง กับ speexx

speexx
speexx

พบว่าที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ใช้บริการของ Speexx.com
เตรียมความพร้อมนักศึกษาในการเข้าสู่ AEC
เปิดให้นักศึกษาเข้าไปรับบัญชีผู้ใช้ และเรียนรู้ได้ที่ห้องบริการ
http://www.dpu.ac.th/news/44/

ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก็เปิดให้นักศึกษาได้ใช้โปรแกรมสปีค (SPEEXX)
พบข่าวนี้ในสุนันทานิวส์
ที่ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เล่าเรื่องนี้ไว้
และ  ว่าที่ ร.ต. หนึ่งหฤทัย สนั่นรัมย์ ก็ให้ข้อมูลว่าจะเริ่มใช้กับนักศึกษารหัส 56
http://www.sunandhanews.com/2011-10-14-04-41-27/81-education/1921-2014-02-12-09-06-55.html

แล้วเคยอ่านเรื่องการให้บริการโปรแกรมเรียนภาษาของ Speexx.com ที่สามารถเรียนด้วยตนเอง
สำหรับนักศึกษา คนทำงาน และผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ
ออกแบบโดย Digital publishing ที่ http://www.speexx.com
เนื้อหาประกอบด้วยบทเรียนไวยกรณ์ คำศํพท์ การออกเสียง สำเนียง และการอ่านบทความ
บริการที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มีการพูดคุยเรื่องนี้ตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2012
http://www.library.rmutt.ac.th/?page_id=12049

ตั้งเป้าหมายในการเรียน [จาก rmutt]
– การเรียนภาษาแบบ E-learning นั้น ต้องอาศัยแรงจูงใจจากตัวผู้เรียนมากขึ้นกว่าการเรียนในรูปแบบเดิม
– พิจารณาดูว่าปัจจัยใดเป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุด และสำคัญที่สุดที่จะเรียนภาษา ให้ตั้งเป้าหมายที่สามารถปฏิบัติได้จริง
– ลำดับความสำคัญ
– เอาชนะการต่อต้านและความขี้เกียจของตนเอง โดยการยึดเหนี่ยวกับแผนการเรียน กำหนดเวลาของการกระทำการสิ่งหนึ่งๆ ให้สำเร็จ
– ให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่ตั้งไว้และกำหนดเวลาเรียนที่แน่นอน ดังเช่นในโลกธุรกิจ

จัดการกับเวลาเรียน
– บอกเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย ถึงงความจำเป็นและความตั้งใจที่จะเรียนรู้ รวมถึงเป้าหมายที่คุณต้องทำให้สำเร็จ
– บรรลุเป้าหมายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ดังนั้นเพื่อยึดอยู่กับแผน ควรกำหนดตารางเวลาเรียนในช่วงระหว่างสัปดาห์และเผื่อเวลาสำรองไว้ด้วย
– เริ่มเรียนจากระยะสั้นๆ ประมาณ 30 นาที
– เมื่อชั่วโมงการเรียนยาวนาน ควรหาเวลาพักบ้าง

ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับการเรียน
– ทบทวนเนื้อหาที่เป็นความรู้ใหม่ให้บ่อยครั้ง
– ไม่ลืมที่จะทบทวนสิ่งที่เคยคิดว่ายากในตอนแรก
– จัดตารางเพื่อทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาในแผนการเรียนด้วย
– เมื่อเรียนอย่างคร่ำเคร่ง อย่าลืมพักบ้าง
– ให้รางวัลตนเองเมื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

นำสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเองไปประยุกต์ใช้
– ใช้วิธีการสื่อสารต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ (อีเมล์ หรือ โทรศัพท์) เพื่อโต้ตอบกับผู้เรียนคนอื่นและติวเตอร์
– แบ่งปันเคล็ดลับการเรียนรู้และความก้าวหน้าของการเรียนกับเพื่อร่วมงาน

ลดสิ่งที่จะมารบกวนระหว่างการเรียน
– วิเคราะห์ปัจจัยที่อาจรบกวน (โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ลักษณะสถานที่เรียน เพื่อร่วมงานบริเวณนั้น)
– สร้างบรรยากาศการเรียนที่ปลอดปัจจัยรบกวนข้างต้น